ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบการวัด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 5:
== ประวัติ ==
ตั้งแต่เกิด[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]] การวัด[[ระบบเมตริก]]ก็เกิดขึ้น และได้เผยแพร่ไปทั่วโลกแทนที่ระบบการวัดตามประเพณีเป็นส่วนมาก ในระบบส่วนใหญ่ [[ความยาว]] (ระยะทาง) [[น้ำหนัก]] และ[[เวลา]] ถือเป็นปริมาณมูลฐาน หรือมิฉะนั้นปริมาณที่ดีกว่าก็จะเป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เช่นการใช้[[มวล]]แทนน้ำหนักซึ่งเป็น[[พารามิเตอร์]]ที่มูลฐานกว่าและดีกว่า การวัดบางระบบได้เปลี่ยนแปลงไปเพื่อยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างระบบที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการแก้ไขกฎหมายสำหรับการวัด[[ระบบอังกฤษ]]เมื่อ ค.ศ. 1824
 
การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา แสดงให้เห็นว่า[[ประจุไฟฟ้า]]หรือ[[กระแสไฟฟ้า]]ก็ควรเพิ่มลงในกลุ่มปริมาณมูลฐานด้วยเป็นอย่างน้อย โดยที่หน่วยวัดอื่น ๆ อาจต้องนิยามขึ้นมาใหม่ ส่วนปริมาณอย่างอื่นอาทิ [[กำลัง]] [[ความเร็ว]] ฯลฯ สืบทอดจากกลุ่มปริมาณมูลฐานเหล่านี้เช่น ความเร็วคือระยะทางต่อหนึ่งหน่วยเวลา เป็นต้น หน่วยวัดตามประเพณีต่าง ๆ มากมายในอดีตถูกใช้กับปริมาณอย่างเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ความยาวอาจสามารถวัดได้ในหน่วย [[นิ้ว]] [[ฟุต]] [[หลา]] [[ฟาทอม]] [[ไมล์]] [[ไมล์ทะเล]] [[คืบ]] [[ศอก]] [[วา]] [[เส้น]] [[โยชน์]] ฯลฯ โดยที่ตัวคูณของการแปลงหน่วยในระบบประเพณีอาจไม่ได้เป็นกำลังของสิบหรือเศษส่วนอย่างง่าย
 
การวัดในระบบเมตริกเริ่มกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2336 ในประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2416 ประเทศอังกฤษได้ประกาศใช้ระบบ เซนติเมตร กรัม และ วินาที ต่อมาในปี พ.ศ. 2419 ได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วย มาตรา ชั่ง ตวง วัด ที่กรุงปารีส เริ่มใช้ ระบบเมตร กิโลกรัม วินาที ในปี พ.ศ. 2443 และเพิ่มหน่วยวัด แอมแปร์ ในปี พ.ศ. 2493 เรียกย่อว่า MKSA System