ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
== ขั้นตอนในการวัดความสำเร็จของการดำเนินงาน ==
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานให้ชัดเจน ว่างานนี้กระทำเพื่ออะไร
 
2. กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน เป้าหมายควรระบุเป็นตัวเลข
 
3. กำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
 
เส้น 10 ⟶ 12:
 
1. ดัชนีชี้วัดสามารถให้สารสนเทศเกี่ยวกับสิ่ง หรือสภาพที่ศึกษาอย่างกว้างๆ ดัชนีชี้วัดที่นำมาใช้ในด้านสังคมศาสตร์ให้สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำ ไม่มากก็น้อยแต่ไม่จำเป็นต้องถูกต้องแม่นยำอย่างแน่นอน
 
2.ดัชนีชี้วัดมีลักษณะที่แตกต่างไปจากตัวแปร เนื่องจากดัชนีชี้วัดเกิดจากการรวมตัวแปรหลายๆ ตัวที่มีความสัมพันธ์กันเข้าด้วยกันเพื่อให้เห็นภาพรวม ของสิ่งหรือสภาพที่ต้องการศึกษา แต่ตัวแปรจะให้สารสนเทศของสิ่งหรือสภาพที่ต้องการศึกษาเพียงด้านเดียวเพราะว่ามีลักษณะที่เฉพาะเจาะจง เช่น อัตราส่วนของครู ต่อนักเรียน
 
3. ดัชนีชี้วัดจะต้องกำหนดเป็นปริมาณ ดัชนีชี้วัดต้องแสดงสภาพที่ศึกษาเป็นค่าตัวเลข หรือปริมาณเท่านั้น ในการแปลความหมายค่าของดัชนีชี้วัดจะต้อง นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นในการสร้างตัวบ่งชี้จะต้องมีการกำหนดความหมายและเกณฑ์ของดัชนีชี้วัดอย่างชัดเจน
 
4. ดัชนีชี้วัดจะเป็นค่าชั่วคราว จะมีค่า ณ จุดเวลา หรือช่วงเวลานั้นๆ เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ค่าดัชนีชี้วัดก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้
 
5. ดัชนีชี้วัดเป็นหน่วยพื้นฐานในการพัฒนาทฤษฎี
 
เส้น 18 ⟶ 24:
== ลักษณะของดัชนีชี้วัดที่ดี ==
 
1.มีความสัมพันธ์กับภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร
2.สอดคล้องกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ
3.สะท้อนผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน(แสดงให้เห็น output และ outcome)
4.สามารถควบคุมและเปรียบเทียบได้
5.สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ทันเวลาและประหยัด
6.เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
7.มีหน่วยวัดที่บิดเบือนยาก
8.มีคุณสมบัติเป็นทั้งเหตุและผล
 
'''หน่วยวัดดัชนีชี้วัด มีดังนี้'''
1.ร้อยละ อัตรา
2.สัดส่วน
3.จำนวน
4.ความถี่
5.ระยะเวลา เป็น วินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี เป็นต้น