ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zaboyza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Zaboyza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''วิทยาลัยศาสนศึกษา ( College of Religious Studies)''' เป็นหน่วยงานในสังกัด [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] ที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ปัจจุบัน ศาสตราจารย์[[สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์]] รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
==ประวัติ==
เป็นวิทยาลัยศาสนศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหน่วยงานสังกัดในมหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2542 ในสมัยที่ศาสตราจารย์ น.พ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอธิการบดีและวิวัฒนาการมาจากโครงการศูนย์ศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล และแพทย์หญิง คุณอรวรรณ คุณวิศาล ประธานมูลนิธิน้ำทอง คุณวิศาล ร่วมกันจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 25422540 ในสังกัดสำนักงานอธิการบดี
สถานที่ทำงานของวิทยาลัยอยู่ที่อาคารน้ำทอง คุณวิศาล ตรงข้ามกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ในวิทยาเขตศาลายา เป็นอาคาร ๕ ชั้น มีลักษณะโปร่งและโล่ง แต่ละชั้นของอาคารมีสถานที่สำหรับสนทนาพาทีเป็นระยะๆ ใกล้ลานดอกไม้ประดับ ตรงกลางบริเวณของตัวตึกเป็นสวนหย่อม พร้อมทั้งม้านั่งใต้ต้นไม้เขียวชอุ่มสำหรับพักกายและใจ บริเวณรอบอาคารมีไม้ยืนต้น สร้างความร่มรื่นและสงบให้แก่สถานที่นี้
 
ตั้งแต่ปีที่จัดตั้งเป็นต้นมา วิทยาลัยฯได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากองค์กรเอกชนและด้านการเรียนการสอน จาก คณาจารย์ภาควิชาต่างๆในมหาวิทยาลัยมหิดล และจาก มหาวิทยาลัย ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในปัจจุบันวิทยาลัยศาสนศึกษาเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มีเครือข่ายการศึกษาวิชาศาสนศึกษา และจริยศาสตร์กับสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีลักษณะและเป้าหมายคล้ายคลึงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเหล่านี้ ทั้งในด้านการผลิตบัณฑิต ที่ได้มาตรฐานและ ในด้านการวิจัยที่สร้าง ความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาการ และ เป็นประโยชน์แก่สังคม
 
==ลักษณะการจัดการเรียนการสอน==
การศึกษาศาสนาที่วิทยาลัยมีทั้งการศึกษาในชั้นเรียนกับอาจารย์ การอภิปรายกลุ่มย่อย และการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองในห้องสมุด และในชุมชนของศาสนิกชนศาสนาต่างๆ ทั้งด้วยตัวนักศึกษาแต่ละคนเองและด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม
วิทยาลัยเปิดสอนวิชาศาสนศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงปริญญาเอก การเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีมีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะให้นักศึกษามีความรู้ทางศาสนาเป็นพื้นฐานของชีวิตและการทำงาน ภาษาที่ใช้สอนในระดับปริญญาตรีมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาที่ใช้สอนในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกเป็นภาษาอังกฤษ
นอกจากวิชาศาสนศึกษาแล้ว นักศึกษาของวิทยาลัยยังมีโอกาสศึกษาวิชาต่างๆ ในหมวดการศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย และวิชาอื่นที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและในการมีชีวิตอยู่ในสังคม ศตวรรษที่ ๒๑ ควบคู่ไปด้วย เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน
 
== หลักสูตร ==
*1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาศาสนศึกษา)
2. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
3. หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
ปัจจุบันวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศาสนศึกษา) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ระดับนานาชาติในสาขาเดียวกัน หลักสูตรแรกมีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้รอบ สามารถประกอบอาชีพต่างๆ และนำความรู้ในศาสนธรรมไปเพิ่มคุณค่าให้แก่ชีวิตส่วนตัว และไปประยุกต์ใช้ทำให้ตัวเองเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิธีทำงานให้สำเร็จ และมีความสุข การพัฒนาและบริหารจัดการองค์กรให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ หรือในเรื่องการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง
วิชาศาสนาที่ศึกษาในหลักสูตรนี้มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน ประเภทแรกเป็นวิชาที่ศึกษาเฉพาะเรื่องในกรอบของศาสนาต่างๆ เช่น วิชาศาสนากับวิทยาศาสตร์ ชะตากรรมของมนุษย์ ศาสนาและความตายและสตรีในศาสนา ประเภทที่สองเป็นวิชาที่ศึกษาศาสนาต่างๆ ในแง่มุมของเหตุผลและศรัทธา เช่น วิชาจิตวิทยาแนวพุทธ และศิลปกรรมในพุทธศาสนา
ศาสนาที่ศึกษาในหลักสูตรนี้มีทั้งศาสนาที่ศาสนิกชนยึดถือสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี เช่น ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาชินโต ศาสนาขงจื๊อ ศาสนาเต๋า และศาสนาที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น ศาสนาบาไฮ และศาสนาใหม่ในประเทศญี่ปุ่น และในประเทศต่างๆ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมุ่งสร้างนักวิชาการระดับสูงสำหรับปฏิบัติงานตามหน่วยงานต่างๆ ในเรื่องการสอน การฝึกอบรมและการวิจัยเกี่ยวกับศาสนาและจริยธรรมทั้งที่เป็นทฤษฎีคำสอนและที่เป็นพฤติกรรมของศาสนิกชน เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่เป็นประโยชน์แก่องค์กร ชุมชน ประเทศชาติและโลก วิชาในหลักสูตรมีทั้งวิชาทั่วไปที่ไม่เจาะจงศาสนาหนึ่งศาสนาใด เช่น วิชาสถาบันศาสนา ศาสนากับปัจเจกชน และวิชาที่ศึกษาศาสนาเดียวโดยเฉพาะ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
หลักสูตรทั้งสองกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงให้ทันสมัยและสามารถตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของสังคมและตลาดแรงงาน ในยุคโลกาภิวัตน์ได้ การปรับปรุงจะทำให้หลักสูตรทั้งสองมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องเนื้อหาสาระของวิชาต่างๆ
 
== แหล่งข้อมูลอื่น==