ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพุทธเจดีย์ไพรบึง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KB (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
KB (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
;องค์พระเจดีย์
 
ส่วนเรือนธาตุหรือองค์พระเจดีย์ มีความสูงประมาณ 40 เมตร ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นทรงบัวเหลี่ยม ฐานป้านแล้วสอบขึ้นไปหาส่วนยอด อันเป็นรูปแบบคล้ายกับเจดีย์พุทธคยา ส่วนปลายใกล้กับฐานฉัตรคอนกรีต ประดับด้วยลายปูนปั้นรูปกลีบบัวคว่ำทรงเรียวยาวโดยรอบท้งสี่ด้าน กรอบกลีบบัวแต่ละกลีบตกแต่งด้วยลายกนก <ref name="วัดไพรบึงชื่อ"/>
 
;ยอดพระเจดีย์
 
ส่วนยอด เหนือปลายสุดของส่วนเรือนธาตุหรือองค์พระเจดีย์ ก่อสร้างเป็นฐานฉัตร 3 ชั้น ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ก่อด้วยคอนกรีต ทาสีเหลืองอมเขียว ถัดจากฐานฉัตรคอนกรีต เป็นกรวยแหลมที่มีแกนในเป็นเหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว หุ้มด้วยคอนกรีต ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปกลีบบัวคว่ำ-บัวหงาย ทรงเรียวยาว แกนในที่เป็นท่อเหล็กดังกล่าว คือส่วนรองรับก้าน(ขา) ของฉัตรทองคำ <ref name="วัดไพรบึงชื่อ"/>
 
;ฉัตรทองคำ
 
เป็นส่วนสูงสุด ทำจากโลหะลงรักปิดด้วยทองคำ มีรูปทรงเป็นฉัตรทรงกลม 4 ชั้น ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ฉัตรชั้นล่างสุดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 เซนติเมตร ส่วนปลายแหลมซึ่งเป็นส่วนสูงสุดของฉัตร ทาด้วยสีแดงเข้ม ตกแต่งด้วยลายกนก ลงรักปิดทองคำเปลวบริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักทั้งหมดประมาณ 20 กิโลกรัม ได้รับการอุทิศถวายโดยคุณหญิงฉอเลาะ ศิริสัมพันธ์ ทั้งนี้ ก่อนการยกยอดฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐาน ได้มีพิธีพุทธาภิเษกสมโภชน์ 1 คืน ในคืนวันที่ [[17 มีนาคม]] [[พ.ศ.2524]] และรุ่งเช้าวันที่ [[18 มีนาคม]] [[พ.ศ.2524]] จึงได้มีพิธียกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือส่วนบนสุดของพระพุทธเจดีย์ <ref name="วัดไพรบึงชื่อ"/>
 
== พระบรมสารีริกธาตุและองค์ประกอบสำคัญ ==
บรรทัด 52:
* ชั้นกลางหรือชั้นที่สอง เป็นตลับนาค ขนาดเล็กกว่าตลับเงินชั้นนอก ทรงกลม
 
* ชั้นในสุดหรือชั้นที่สาม เป็นตลับทองคำแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทรงกลม ขนาดเล็กกว่าตลับเงิน และตลับนาค ตามลำดับ ภายในตลับทองคำแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ช่อง เพื่อบรรจุชิ้นส่วนพระบรมสารีริกธาตุ ตามวาระต่างๆ ดังนี้ <ref name="วัดไพรบึงชื่อ"/>
** ช่องที่ 1 บรรจุวรรณะผลึก จำนวน 1,000 องค์
** ช่องที่ 2 บรรจุวรรณะเมล็ดผักกาด จำนวน 108 องค์ และวรรณะเมล็ดถั่วเขียว จำนวน 80 องค์
บรรทัด 59:
 
; ภูเขาจำลอง
เป็นภูเขาจำลองขนาดเล็ก ฐานทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ประดับด้วยอัญมณีสีต่างๆ รอบภูเขาจำลองมีการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุวรรณะเมล็ดผักกาด จำนวน 10,000 องค์ วางเรียงโดยรอบฐาน ทั้งนี้ ตามคติการสร้างภูเขาจำลองประดับด้วยพระบรมสารีริกธาตุ จะนำมาซึ่งกุศลบุญอันถือเป็นมหากุศลมากที่สุดเหลือคณานับ <ref name="วัดไพรบึงชื่อ"/>
 
; เจดีย์หินอ่อน
เป็นเจดีย์สำหรับบรรจุตลับเงิน-นาค-ทองคำ และภูเขาจำลอง องค์เจดีย์เป็นหินอ่อนแท้สีเขียวอมเทา ฐานทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 นิ้ว ฝาครอบด้านบนทำจากหินอ่อนชนิดและสีเดียวกัน ความสูงทั้งหมดตั้งแต่ฐานถึงยอดองค์เจดีย์จำลอง 13 นิ้ว มีสลักที่ฐานทั้ง 4 ด้าน เพื่อเชื่อมฝาครอบและฐานเจดีย์เข้าด้วยกัน <ref name="วัดไพรบึงชื่อ"/>
 
; บุษบก
เป็นแท่นสำหรับตั้งรองรับองค์เจดีย์จำลอง สร้างด้วยไม้สักแท้ ฐานมีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 39 เซนติเมตร สูง 119 เซนติเมตร พื้นทาสีแดง ตกแต่งด้วยลวดลายกนก ลงรักปิดทอง <ref name="วัดไพรบึงชื่อ"/>
 
== แผ่นศิลาจารึก ==
เป็นแผ่นศิลาหินอ่อน ขนาดกว้าง 69 เซนติเมตร ยาว 109 เซนติเมตร หนา 1 นิ้ว สำหรับจารึกรายการก่อสร้างโดยย่อ รายละเอียดระบุชื่อ '''[[พระพุทธเจดีย์ไพรบึง]]''' , วัน เวลา ที่ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์, วัน เวลา บรรจุและประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ, รายนามผู้ถวายและอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ, รายนามประธานในการประกอบพิธีขั้นตอนต่างๆ, รายนามผู้อำนวยการก่อสร้าง, รายนามผู้ออกแบบส่วนต่างๆ <ref name="วัดไพรบึงชื่อ"/>
 
== พิธีบรรจุและประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบนยอดพระพุทธเจดีย์ ==
บรรทัด 75:
จากนั้น เรือตรีดนัย เกตุสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ (ในขณะนั้น) กล่าวรายงานความเป็นมาในการก่อสร้างต่อประธานในพิธี ใจความโดยสรุปมีสาระสำคัญคือ "พระพุทธเจดีย์องค์นี้เป็นปูชนียสถาน การสร้างพระสถูปหรือพระเจดีย์ก็ดี ถือว่าเป็นการสะสมบุญไว้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า" ในตอนท้าย ประธานในพิธี ได้ย้ำว่า การสร้างพระพุทธเจดีย์ของพุทธศาสนิกชนนี้เกิดจากวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ '''อยากได้กระดูกของพระพุทธเจ้ามาไว้เพื่อสักการะบูชาเป็นประจำ เพื่อจะได้ชำระจิตใจให้สะอาด ปราศจากสิ่งเศร้าหมองแล้วทุกคนก็จะมีความสุข ''' ก่อนจบนายพิศาล มูลศาสตรสาทร ได้แปลเป็นภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้สื่อสารกันในท้องถิ่นอำเภอไพรบึง ทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความประทับใจและปลื้มปีติเป็นอย่างมาก
 
เมื่อได้เวลาตามฤกษ์ 10.49 น. ประธานได้ประกอบพิธียกบุษบกประดิษฐานเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและองค์ประกอบขึ้นสู่ยอดเจดีย์ โดยมีคณะช่างรอรับอยู่ด้านบน ขณะที่บุษบกกำลังเคลื่อนขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ พระสงฆ์สวดชยันโต เจ้าพนักงานลั่นฆ้อง ตีกลอง ทุกคนได้แสดงความรู้สึกปลาบปลื้มและอิ่มเอิบใจในพิธีมหากุศลที่ได้ร่วมกันสร้างขึ้น <ref name="วัดไพรบึงชื่อ"/>
== การเดินทาง ==