ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาหมอโครมายด์เขียว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
เป็นปลาพื้นเมืองที่พบได้ใน[[อินเดีย]]ตอนใต้จนถึง[[ศรีลังกา]] เช่น เมืองสุรัต ใน[[รัฐเกรละ]] หรือ[[ปุทุจเจรี]] โดยพบได้ในพื้นที่ที่เป็น[[น้ำกร่อย]]ที่ซึ่ง[[น้ำจืด]]บรรจบกับ[[น้ำเค็ม]]เป็น[[ปากแม่น้ำ]] เป็นต้น
 
มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 30 [[เซนติเมตร]] พบขนาดใหญ่สุดถึง 50 เซนติเมตร ปากมีขนาดเล็กแต่มี[[ฟัน]]แหลมคม กินอาหารหลักได้แก่ [[ตะไคร่น้ำ]] โดยมักจะเลาะเล็มกินตามโหดโขดหินหรือวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ และกิน[[แมลง]]หรือลูกปลาขนาดเล็กบ้างเป็นอาหารเสริม ปลาตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า[[เพศผู้|ตัวผู้]]กว่ามาก มีรูปร่างแบนข้างและกลม พื้นลำตัวเป็น[[สีน้ำตาล]]อ่อนอม[[เขียว]] มีลายเส้น[[สีดำ]]พาดตั้งแต่ท้องจนถึงกลางลำตัวประมาณ 5-6 เส้น ไปสิ้นสุดที่ข้อหาง บริเวณช่วงอกเป็นสีดำ บนลำตัวในบางตัวมีจุดสีขาวกระจาย สีบริเวณส่วนหัวเป็นสีเขียวอมเหลือง โดยเฉพาะในตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูงจะมีสีดังกล่าวนี้สวยสดกว่าตัวอื่น ๆ
 
วางไข่ได้มากถึงครั้งละ 1,000 ฟอง โดยในช่วงนี้ปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีให้สวยสดกว่าเดิม เช่นบริเวณส่วนหน้าและครีบต่าง ๆ จะชัดเจนที่สุด ปลาทั้งคู่จะช่วยกันดูแลไข่อย่างใกล้ชิด ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 36-48 [[ชั่วโมง]] โดยที่ปลาตัวอ่อนในช่วงแรกจะรับอาหารจากถุง[[ไข่แดง]]ที่มีติดตัวมา จนประมาณถึงวันที่ 7 เมื่อถุงดังกล่าวยุบลง และว่ายน้ำได้แข็งแรงแล้ว ลูกปลาจะกินเมือกที่เกาะตามตัวพ่อแม่เป็นอาหารแทน