ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุริยุปราคา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สมภพ เจ้าเก่า (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 91:
กรุงรัตนโกสินทร์
* ครั้งที่ 1 เกิด[[สุริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411]] ตรงตามเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณไว้ ที่ตำบล[[หว้ากอ]][[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย
* ครั้งที่ 2 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2418]] โดยเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่เห็นได้ใน[[กรุงเทพมหานคร]]นับตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา โดยกินหมดดวงเวลา 14:31:29 น. - 14:35:21 น. ตามเวลามาตรฐานประเทศไทยในปัจจุบัน แต่เส้นกึ่งกลางคราสไม่ผ่านกรุงเทพฯ<ref>[http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.php?Ecl=18750406 Total Solar Eclipse of 1875 April 06]</ref> โดย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงเสด็จไปทอดพระเนตร ณ แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี
* ครั้งที่ 3 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงวันที่ [[9 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2472]] เห็นได้ที่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส <ref>[http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEgoogle/SEgoogle1901/SE1929May09Tgoogle.html Total Solar Eclipse of 1929 May 09]</ref> โดย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงเสด็จไปทอดพระเนตรที่[[อำเภอโคกโพธิ์]] [[จังหวัดปัตตานี]] โดยมีคณะนักดาราศาสตร์จากต่างประเทศขนอุปกรณ์มาศึกษาสุริยุปราคาด้วย แต่หลังจากนั้นก็มีการประดิษฐ์เครื่องมือศึกษาดวงอาทิตย์ได้โดยไม่ต้องพึ่งสุริยุปราคาอีก
* ครั้งที่ 4 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในหลายจังหวัด เมื่อวันที่ [[20 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]] นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่สองที่เห็นได้ในกรุงเทพ
* ครั้งที่ 5 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในเขต 11 จังหวัด ได้แก่ [[จังหวัดตาก]] [[จังหวัดกำแพงเพชร]] [[จังหวัดอุทัยธานี]] [[จังหวัดนครสวรรค์]] [[จังหวัดลพบุรี]] [[จังหวัดเพชรบูรณ์]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] [[จังหวัดบุรีรัมย์]] [[จังหวัดสระแก้ว]] [[จังหวัดพิจิตร]] และ [[จังหวัดชัยภูมิ]] เมื่อวันที่ [[24 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2538]]<ref>[http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEgoogle/SEgoogle1951/SE1995Oct24Tgoogle.html Total Solar Eclipse of 1995 Oct 24]</ref>