ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิจิเร็นโชชู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 27:
นิชิเรนโชชูจะมีการรวมตัวกันเพื่อสวดมนต์ ศึกษาธรรมะอย่างน้อยเดือนละครั้งจนถึงสัปดาห์ละครั้ง ณ สมาคมผู้ปฏิบัติ และหรือเข้าฟังเทศนาธรรมะจากพระสงฆ์ในกรณีที่มีศูนย์กลางเผยแผ่ที่มีพระสงฆ์ประจำหรือวัดในพื้นที่นั้นๆ
 
พุทธมามกะนิชิเรนโชชูจะเรียกสังกัดตนเองว่า'''ฮกเคโขะ'''ตามที่ปรากฎปรากฏในไดโงะฮนซน
 
== ข้อคติที่แตกต่างจากนิกายอื่น ==
บรรทัด 90:
ขณะทำวาระนิชิเรนโชชูทั้งพระสงฆ์และฆราวาสจะใช้ลูกปะคำคล้องนิ้วกลางทั้งสองข้างที่พนมมืออยู่โดยบิดสายปะคำให้คล้ายเลข 8 ลูกปะคำใช้แทนความหมายถึงชีวิต นิชิเรนโชชูบางคนจะพกไว้ติดตัวเสมอแต่ไม่ถือเป็นเครื่องรางของขลังกันภัย
 
จุดมุ่งหมายของผู้ปฏิบัติคือการขัดเกลาอุปนิสัย บำเพ็ญตนให้ถูกต้องตามหลักธรรม แก้ไขชะตากรรม เป็นอิสระจาก 3 หนทางแห่งกิเลส กรรมและความทุกข์ ได้มีชีวิตดั่งวลีที่ปรากฎปรากฏในพระสูตรว่า'''"ชีวิตที่สุขสงบมั่นคงในชาตินี้และสิ่งแวดล้อมที่ดีในชาติหน้า"''' ท้ายที่สุดคือ'''''การบรรลุพุทธภาวะในรูปกายปัจจุบัน''''' (''โซะกุซิน โจ บุตสึ'') ซึ่งเป็นคำสอนในนิกายนี้ที่ลึกซึ้งที่สุด
 
== หลักคำสอนพื้นฐาน ==
หลักคำสอนมีความคล้ายคลึงกับ[[นิกายเทียนไท้]]หรือ[[นิกายเทนได]] ( [[นิกายสัทธรรมปุณฑริก]] ) ของท่าน'''มหาธรรมาจารย์จื้ออี้''' (ค.ศ 538-597)พระภิกษุชาวจีน ที่ยึดสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นพระสูตรหลักเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งคำสอนของพระศากยมุนีเป็น 5 ช่วง ลักษณะคำสอน 4 ประการ หรือคำสอนที่กล่าวถึง'''''เอกภวังคจิตธรรมธาตุ''''' (''อิชิเน็นซันเซ็น''-''หนึ่งขณะจิตสามพันสภาวะ'')ที่ปรากฎปรากฏในคัมภีร์'''"มหาสมถวิปัสนา"'''(มะคะชิคัน)ของท่าน แต่นิชิเรนโชชูถือว่าเทียนไท้เป็นเพียงคำสอนภาคทฤษฎี แม้กระนั้นนิชิเรนโชชูก็เคารพท่านจื้ออี้ในฐานะพระพุทธะเช่นกันเนื่องจากท่านได้สนับสนุนส่งเสริมสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นอย่างมาก ทั้งยังนิพนธ์คัมภีร์และปกรณ์ที่อธิบายความหมายคำสอนและความสูงส่งสำคัญของสัทธรรมปุณฑริกสูตรไว้ ได้แก่ '''คำและวลีของสัทธรรมปุณฑริกสูตร(ฮกเขะมนงุ)''' '''ความหมายลึกซึ้งของสัทธรรมปุณฑริกสูตร(ฮกเขะเก็นจิ)''' และ'''มหาสมถวิปัสนา(มะคะชิคัน)''' ทัศนคติที่ต่างกันอีกคือนิชิเรนโชชูจะแบ่งประเภทโดยมองว่าศาสนาพุทธของพระศากยมุนีเป็น'''''ศาสนาพุทธแห่งการสุกงอมและเก็บเกี่ยวผล''''' ในขณะที่ศาสนาพุทธของพระนิชิเรนคือ'''''ศาสนาพุทธแห่งการหว่าน''''' (เมล็ดพุทธะ) เนื่องจากปุถุชนในปัจจุบันไม่มีกรรมสัมพันธ์โดยตรงกับพระศากยมุนีมาก่อน
 
นิชิเรนโชชูแบ่งพระศาสนกาลออกเป็น 3 ช่วงโดยยึดตามพระสูตรมหายานคือ