ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระชลโธปมคุณมุนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
พระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณฺณกเถร) กำเนิดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๖๑ ([[ปีเถาะ]]) เป็นบุตรของนายจีน และนางปาน ทองคำ ครอบครัวตั้งบ้านเรือนอยู่ข้าง[[วัดขุนจันทร์]] คลองบางกอกใหญ่ [[ธนบุรี]]
==บรรพชาและอุปสมบท==
บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่[[วัดประยูรวงศ์]]อยู่ ๘ พรรษา เมื่ออายุ ๒๑ ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงเป็น[[พระอุปัชฌาย์]] ได้รับฉายา “ปุณฺณโก” พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ฟัก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (ภายหลังลาสิกขาออกมาเป็น[[พระยาศรีสุนทรโวหาร]]) ซึ่งต่อมาได้รับตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูสมุห์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อุปสมบทได้ ๘ พรรษา ได้ลาสิกขา ออกมารับราชการเป็นมหาดเล็กใน [[รัชกาลที่ ๓]] และ[[รัชกาลที่ ๔]] รวม ๒๐ ปี ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นขุนสาครวิสัย จุลศักราช ๑๒๒๙ ตรงกับรัตนโกสินทร์ศก ๘๖ ท่านได้บรรพชาอุปสมบทครั้งที่ ๒ เมื่ออายุได้ ๔๙ ปี ที่[[วัดบุปผาราม]] ธนบุรี มี พระอมรโมฬี (นบ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดธัมมรักขิโต (เรือง) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “ปุณฺณโก” เหมือนเมื่ออุปสมบทครั้งแรก เมื่ออุปสมบทแล้วได้เที่ยวแสวงหาปริเวกธรรมตามอัธยาศัยล่วงไป ๓ พรรษา
 
==ปูชนียาจารย์==
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) ซึ่งเป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุญนาค) ผู้สถาปนา[[วัดเขาบางทราย]] เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในความสามารถหลายด้านของพระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณฺณโก) จึงอาราธนาให้มาจำพรรษาเป็นเจ้าอธิการวัดเขาบางทราย ด้วยความสามารถทั้งการปกครองสงฆ์ และการอบรมสั่งสอนประชาชนจนปรากฏแก่บ้านเมือง โดยเหตุนี้[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ ๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งพระครูเจ้าคณะเมืองให้เป็น พระครูชลโธปมคุณมุนี จนอายุท่านล่วงมาถึง ๘๑ ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระราชายก ที่ พระชลโธปมคุณมุนี เจ้าคณะภาคตะวันออก บังคับบัญชาภิกษุสามเณรในวัด ๓ หัวเมือง คือเมือง[[ชลบุรี]] เมือง[[พนัสนิคม]] และเมือง[[บางละมุง]] เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เวลาสามยามกับเศษ ๑ นาฬิกา ๒๕ นาที รวมสิริอายุได้ ๘๙ ปี พรรษา ๓๙