เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suisse (คุย | ส่วนร่วม)
Suisse (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1:
== การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องดินแดน ==
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีเรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องสะสางจำนวนมาก รวมทั้งเรื่องเส้นแบ่งพรมแดนที่แน่นอนของประเทศต่าง ๆ ซึ่งถูกจัดสรรโดยประเทศผู้ชนะสงคราม ทำให้ในช่วงแรกนั้นสันนิบาตจึงไม่ได้มีบทบาทมากนัก
 
=== ทศวรรษที่ 1920 ===
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีเรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องสะสางจำนวนมาก รวมทั้งเรื่องเส้นแบ่งพรมแดนที่แน่นอนของประเทศต่าง ๆ ซึ่งถูกจัดสรรโดยประเทศผู้ชนะสงคราม ทำให้ในช่วงแรกนั้นสันนิบาตจึงไม่ได้มีบทบาทมากนัก ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1920 สันนิบาตขยายตัวใหญ่ขึ้นและกลายมาเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมนานาชาติ ดูได้จากการที่ประเทศผู้ไม่เป็นสมาชิกของสันนิบาต เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ให้ความร่วมมือกับทางสันนิบาตมากขึ้น ส่วนประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักรต่างก็ดำเนินกิจการการทูตผ่านทางสันนิบาต และใช้สันนิบาตเป็นเครื่องมือพัฒนาความสัมพันธ์ เหตุการณ์พิพาทที่สันนิบาตมีส่วนเกี่ยวข้องในทศวรรษนี้ ได้แก่
 
* กรณีพิพาท[[หมู่เกาะโอลันด์]] - หมู่เกาะนี้อยู่ตรงกลางระหว่างประเทศสวีแดนและฟินแลนด์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาสวีเดน แต่หมู่เกาะนี้ถูกจักรวรรดิรัสเซียยึดครองในปี ค.ศ. 1809 และรวมเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลฟินแลนด์ ต่อมาเมื่อจักรวรรดิรัสเซียล่มสลาย ฟินแลนด์จึงประกาศเอกราช และรวมหมู่เกาะนี้ไว้ในอาณาเขตของตน แต่ประชากรส่วนใหญ่อยากเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสวีเดน เมื่อปัญหาลุกลามในปี ค.ศ. 1921 สันนิบาตจึงเข้าไกล่เกลี่ยและตกลงว่ายอมให้หมู่เกาะโอลันด์เป็นอาณาเขตของฟินแลนด์ โดยมีข้อแม้ว่าชาวเกาะจะต้องได้รับการคุ้มครอง และบริเวณดังกล่าวจะต้องเป็นเขตปลอดทหาร กรณีพิพาทนี้ถือเป็นกรณีแรกที่สันนิบาตสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จ
เส้น 18 ⟶ 16:
* พรมแดนของ[[ประเทศแอลเบเนีย]] - เป็นสิ่งที่คั่งค้างตั้งแต่การประชุมสันติภาพที่ปารีสในปี 1919 ทำให้แอลเบเนียมีสภาพดังนี้คือ กองทัพกรีกปฏิบัติการทางทหารทางตอนใต้ของอัลเบเนีย ขณะที่กองกำลังของ[[ยูโกสลาเวีย]]เข้ามาสู้กับชาวเผ่าทางภาคเหนือ สันนิบาตจึงเข้ามาตัดสินให้พรมแดนของอัลเบเนียเป็นดังเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่เป็นประโยชน์ต่อยูโกสลาเวีย
 
* เหตุการณ์ที่[[เกาะคอร์ฟู]] - เกิดขึ้นในปี 1923 ในระหว่างที่สันนิบาตชาติตัดสินพรมแดนใหม่ระหว่างอัลเบเนียกับกรีซ พลทหารห้านายชาวอิตาลีได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูสถานการณ์ แต่โดนลอบสังหารเสียก่อน ส่งผลให้ผู้นำอิตาลี [[เบนิโต มุสโสลินี|มุสโสลินี]] โกรธมาก และเรียกร้องให้รัฐบาลกรีซจ่ายค่าชดใช้เสียหาย แต่รัฐบาลกรีกปฏิเสธและให้เหตุผลว่าจะต้องพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดว่าเป็นชาวกรีกให้ได้เสียก่อน มุสโสลินีจึงส่งทหารเข้ามายึดเกาะคอร์ฟูและสังหารพลเมืองสิบห้าคน รัฐบาลกรีซขอความช่วยเหลือจากสันนิบาตชาติ แต่เนื่องจากอิตาลีเป็นสมาชิกที่มีอิทธิพลของสันนิบาต จึงไม่สามารถทำอะไรได้ และในที่สุดสันนิบาตแนะนำให้กรีซจ่ายเงินชดใช้แก่อิตาลี แม้ว่าไม่สามารถพบตัวผู้กระทำผิด จากนั้นอิตาลีจึงถอนกำลังออกจากเกาะ เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าสันนิบาตชาติไม่มีอำนาจเพียงพอในการปกครองประเทศมหาอำนาจ
 
* [[จังหวัดโมซุล]] - เป็นข้อพิพาทระหว่างอิรักและตุรกีเหนือจังหวัดโมซุลในปี 1926 ซึ่งเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของ[[จักรวรรดิออตโตมัน]]มาก่อน ตุรกีอ้างสิทธิเหนือจังหวัดนี้ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ส่วนบริเตนก็สนับสนุนให้เป็นของอิรักเพราะตนเป็นผู้ได้รับมอบอาณัติเหนืออิรัก สันนิบาตส่งคณะกรรมการไปศึกษาพบว่าประชากรไม่มีความรู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของตุรกีหรืออิรัก แต่ถ้าให้เลือกจะเลือกเป็นส่วนหนึ่งของอิรัก ในปี 1925 คณะมนตรีสันนิบาตตัดสินให้จังหวัดโมซุลเป็นดินแดนของอิรัก แม้จะมีข้อขัดแย้งอยู่บ้าง แต่ในที่สุดแล้วทั้งบริเตน อิรัก และตุรกี ต่างก็เซ็นสนธิสัญญายอมรับผลการตัดสินของสันนิบาตชาติ
 
* [[ซาร์ (สันนิบาตชาติ)|ดินแดนซาร์]] - เป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างเยอรมนีและฝรั่งเศส ถูกยึดมาจากเยอรมนีหลังสงคราม โดยสนธิสัญญาแวร์ซายส์มอบอำนาจให้สันนิบาตดูแลเป็นเวลาสิบห้าปี หลังจากนั้นก็ให้มีประชามติว่าประชากรอยากเป็นฝรั่งเศสหรือเยอรมัน ซึ่งผลออกมาประชากร 90.3% ต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ[[นาซีเยอรมนี]]ในปี 1935 และได้รับการอนุมัติจากคณะมนตรีของสันนิบาตโดยทันที
 
* ความขัดแย้งบริเวณพรมแดนกรีซ-[[ประเทศบัลแกเรีย|บัลแกเรีย]]ในปี 1925 - เริ่มต้นจากการที่มีความขัดแย้งทางทหาร นำไปสู่การต่อสู้ระหว่างสองประเทศ สามวันหลังเกิดเหตุการณ์กองทัพกรีซบุกบัลแกเรีย แต่รัฐบาลบัลแกเรียสั่งให้พลทหารของตนขัดขืนอย่างพอเป็นพิธี และให้อพยพพลเมืองหนึ่งหมื่นห้าพันคนออกจากบริเวณพรมแดน เมื่อเรื่องไปถึงสันนิบาตชาติ ได้ตัดสินว่ากรีซมีความผิด และให้ถอยกองทัพออกจากบัลแกเรีย รวมทั้งจ่ายค่าเสียหายด้วย ส่วนกรีซก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นสองมาตรฐานของสันนิบาต ที่เมื่ออิตาลีเป็นผู้บุกรุกในเหตุการณ์เกาะคอร์ฟู สันนิบาตกลับไม่สามารถช่วยกรีซ ซึ่งเป็นประเทศที่โดนบุกรุกได้
 
=== ทศวรรษที่ 1930 ===
เป็นช่วงที่สันนิบาตประสบปัญหาประเทศมหาอำนาจกลายเป็นผู้รุกรานประเทศอื่นเสียเอง ทำให้สันนิบาตไม่มีอำนาจพอที่จะไกล่เกลี่ยปัญหา ส่งผลให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สองในเวลาต่อมา