เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suisse (คุย | ส่วนร่วม)
Suisse (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
* ปัญหาเรื่องดินแดน[[ไซลีเซียเหนือ]] - [[ประเทศโปแลนด์]]ถูกสร้างขึ้นมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพื่อให้ผู้มีเชื้อชาติโปลได้มีประเทศเป็นของตนเอง หลังจากถูกชาติอื่นปกครองมานาน ประเทศโปแลนด์มีพรมแดนติดกับเยอรมนี และมีภูมิภาคหนึ่งชื่อว่าไซลีเซียเหนือ ซึ่งมีประชากรเชื้อชาติเยอรมันกับโปลคละกัน เนื่องด้วยกลุ่มชาวโปลมีความกังวลว่าตนจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศโปแลนด์ใหม่ และจะต้องรวมเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีเหมือนเดิมแทน จึงเกิดจลาจลขึ้นสองครั้ง จึงมีการ[[การลงประชามติไซลีเซียเหนือ|จัดทำประชามติ]]ขึ้นในปี 1921 เพื่อตัดสิน ผลออกมาว่าประชากรราว 60% ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี แต่กลุ่มโปลไม่ยอมรับและก่อจลาจลครั้งที่สาม สันนิบาตชาติจึงเข้ามาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และตกลงกันว่าบริเวณที่ประชากรส่วนใหญ่ลงคะแนนต้องการเข้าเป็นเยอรมันในประชามติก็ให้เข้า ส่วนบริเวณที่ประชากรลงคะแนนให้โปแลนด์ก็ให้เป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์ แม้เยอรมันจะได้พื้นที่ในไซลีเซียเหนือมากกว่าโปแลนด์ แต่โปแลนด์กลับได้บริเวณที่มีทรัพยกรธรรมชาติและอุตสาหกรรมมากกว่า ข้อตกลงนี้ส่งผลให้เกิดสันติภาพในบริเวณจนกระทั่งเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง
 
* พรมแดนของ[[ประเทศแอลเบเนีย]] - เป็นสิ่งที่คั่งค้างตั้งแต่การประชุมสันติภาพที่ปารีสในปี 1919 จนกระทั่งปี 1921 ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขทำให้แอลเบเนียมีสภาพดังนี้คือ กองทัพกรีกปฏิบัติการทางทหารทางตอนใต้ของอัลเบเนีย ขณะที่กองกำลังของ[[ยูโกสลาเวีย]]เข้ามาสู้กับชาวเผ่าทางภาคเหนือ สันนิบาตจึงเข้ามาตัดสินให้พรมแดนของอัลเบเนียเป็นดังเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่เป็นประโยชน์ต่อยูโกสลาเวีย
 
* เหตุการณ์ที่[[เกาะคอร์ฟู]] - เกิดขึ้นในปี 1923 ในระหว่างที่สันนิบาตชาติตัดสินพรมแดนใหม่ระหว่างอัลเบเนียกับกรีซ พลทหารห้านายชาวอิตาลีได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูสถานการณ์ แต่โดนลอบสังหารเสียก่อน ส่งผลให้ผู้นำอิตาลี [[เบนิโต มุสโสลินี|มุสโสลินี]] โกรธมาก และเรียกร้องให้รัฐบาลกรีซจ่ายค่าชดใช้เสียหาย แต่รัฐบาลกรีกปฏิเสธและให้เหตุผลว่าจะต้องพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดว่าเป็นชาวกรีกให้ได้เสียก่อน มุสโสลินีจึงส่งทหารเข้ามายึดเกาะคอร์ฟูและสังหารพลเมืองสิบห้าคน รัฐบาลกรีซขอความช่วยเหลือจากสันนิบาตชาติ แต่เนื่องจากอิตาลีเป็นสมาชิกที่มีอิทธิพลของสันนิบาต จึงไม่สามารถทำอะไรได้ และในที่สุดสันนิบาตแนะนำให้กรีซจ่ายเงินชดใช้แก่อิตาลี แม้ว่าไม่สามารถพบตัวผู้กระทำผิด จากนั้นอิตาลีจึงถอนกำลังออกจากเกาะ
<!-- The borders of Albania again become the cause of international conflict when Italian General Enrico Tellini and four of his assistants were ambushed and killed on 24 August 1923 while marking out the newly decided border between Greece and Albania. Italian leader Benito Mussolini was incensed, and demanded that a commission investigate the incident within five days. Whatever the results of the investigation, Mussolini insisted that the Greek government pay Italy fifty million lire in reparations. The Greeks said they would not pay unless it was proved that the crime was committed by Greeks.[91]
Mussolini sent a warship to shell the Greek island of Corfu, and Italian forces occupied the island on 31 August 1923. This contravened the League's covenant, so Greece appealed to the League to deal with the situation. The Allies, however, agreed (at Mussolini's insistence) that the Conference of Ambassadors should be responsible for resolving the dispute because it was the conference that had appointed General Tellini. The League Council examined the dispute, but then passed on their findings to the Conference of Ambassadors to make the final decision. The conference accepted most of the League's recommendations, forcing Greece to pay fifty million lire to Italy, even though those who committed the crime were never discovered.[92] Italian forces then withdrew from Corfu.[93] -->
 
* [[จังหวัดโมซุล]] - เป็นข้อพิพาทระหว่างอิรักและตุรกีเหนือจังหวัดโมซุลในปี 1926 ซึ่งเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของ[[จักรวรรดิออตโตมัน]]มาก่อน ตุรกีอ้างสิทธิเหนือจังหวัดนี้ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ส่วนบริเตนก็สนับสนุนให้เป็นของอิรักเพราะตนเป็นผู้ได้รับมอบอาณัติเหนืออิรัก สันนิบาตส่งคณะกรรมการไปศึกษาพบว่าประชากรไม่มีความรู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของตุรกีหรืออิรัก แต่ถ้าให้เลือกจะเลือกเป็นส่วนหนึ่งของอิรัก ในปี 1925 คณะมนตรีสันนิบาตตัดสินให้จังหวัดโมซุลเป็นดินแดนของอิรัก แม้จะมีข้อขัดแย้งอยู่บ้าง แต่ในที่สุดแล้วทั้งบริเตน อิรัก และตุรกี ต่างก็เซ็นสนธิสัญญายอมรับให้จังหวัดโมซุลเป็นส่วนหนึ่งผลการตัดสินของอิรักสันนิบาตชาติ