ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวสักกะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 3577608 สร้างโดย 183.88.249.166 (พูดคุย)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
ในวัฒนธรรม[[เอเชียตะวันออก]] ท้าวสักกะเป็นที่รู้จักในนาม "ตี้ซื่อเทียน" (帝釋天) หรือ "ซื่อถีหฺวันอิน" <!--ห ว ควบกล้ำ--> (釋提桓因) ใน[[ภาษาจีน]] และ "ไทชะกุเท็น" (帝釈天) ใน[[ภาษาญี่ปุ่น]] สำหรับใน[[ประเทศจีน]]แล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบว่าท้าวสักกะคือ[[เง็กเซียนฮ่องเต้]] (玉皇大帝) หรือจักรพรรดิหยกใน[[ลัทธิเต๋า]] ด้วยถือว่าเทพทั้งสององค์นี้มีวันประสูติเป็นวันเดียวกัน คือ ในวันที่ 9 เดือนที่ 1 ตาม[[ปฏิทินจันทรคติจีน]] (โดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตาม[[ปฏิทินสุริยคติ]])
 
ใน[[ฤคเวท]] อันเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตใน[[ศาสนาฮินดู]] คำว่า "ศักระ" อันเป็นนามของท้าวสักกะในภาษาสันสกฤต ถูกใช้เป็นนามแทนตัวเทพอินทระหรือพระอินทร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ในศาสนาพุทธ ตำนานและบุคลิกลักษณะของท้าวสักกะแตกต่างไปจากพระอินทร์ในพระเวทอย่างสิ้นเชิง"<ref name=autogenerated1 />
 
สวรรค์ชั้น[[ดาวดึงส์]]ซึ่งเป็นที่สถิตของท้าวสักกะตั้งอยู่เหนือยอด[[เขาพระสุเมรุ]] ซึ่งตามคติเรื่อง[[ไตรภูมิ]] ถือว่าภูเขาแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของโลก อันมี[[พระอาทิตย์]]และ[[พระจันทร์]]เวียนโคจรโดยรอบ สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุดที่เชื่อมต่อกับมนุสสภูมิ (โลกมนุษย์) โดยตรง ท้าวสักกะมีชีวิตที่ยาวนานเช่นเดียวกับเทพทั้งหลาย หากแต่ก็มีวาระที่จะหมดอายุขัยตามแรง[[บุญ]]ของตนเองเช่นกัน ในยามที่ท้าวสักกะจะต้องจุติ (ตาย) เมื่อจิตดับไปแล้ว จะบังเกิดท้าวสักกะองค์ใหม่ (ซึ่งอาจเป็นเทพองค์อื่น) ขึ้นแทนที่ท้าวสักกะองค์เดิมทันที เรื่องราวของท้าวสักกะในทางพระพุทธศาสนาทั้งไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน (ในช่วงที่บันทึก[[พระไตรปิฎก]]) ปรากฏอยู่ใน[[ชาดก]]และ[[พระสูตร]]ต่างๆ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในหมวด[[สังยุตตนิกาย]]
 
ชื่อของท้าวสักกะถูกกล่าวถึงในพระสูตรหลายตอน และมักปรากฏบทบาทเป็นผู้กราบทูลของคำปรึกษาจาก[[พระโคดมพุทธเจ้า]]ในปัญหาธรรมต่างๆ ถือกันว่าพระองค์เป็น[[ธรรมบาล]] (ผู้คุ้มครองธรรม) ในพุทธศาสนาร่วมกับเหล่า[[พรหม]]ทั้งหลาย
 
== ดูเพิ่ม ==