ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ริชาร์ด ไฟน์แมน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Robosorne (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Robosorne (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39:
ผลงานของไฟน์แมนมีมากมาย เช่น การขยาย[[ทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม]]ให้กว้างใหญ่ขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่[[รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์]] เมื่อปี [[ค.ศ. 1965]] ซึ่งเขาได้ร่วมกับ[[จูเลียน ชวิงเกอร์]] และ[[โทะโมะนะกะ ชินอิจิโร]] ไฟน์แมนปฏิเสธตำแหน่งนักวิจัยที่[[มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน]] ที่ที่[[ไอน์สไตน์]]อยู่, เพียงเพราะเขาต้องการสอนหนังสือให้กับเด็ก ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "ผมอยากสอน เพราะในตอนที่ผมไม่มีไอเดียอะไรใหม่ ๆ ในงานวิจัย ผมก็ยังสามารถให้อะไรกับสังคมได้"
 
ไฟน์แมนตัดสินใจรับตำแหน่งที่[[สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย]] (แคลเทค) สร้างยุคทองของมหาวิทยาลัย ร่วมกับ[[เมอเรย์ เกลมานน์]] ผู้คิดค้นทฤษฎี[[ควาร์ก]], [[ไลนัส พอลลิง]] หนึ่งใน[[นักเคมี]]ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้คิดค้น[[ทฤษฎีควอนตัมเคมี]] และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำท่านอื่นๆ ในแง่ของการเป็นอาจารย์ เขาได้เขียน[[คำบรรยายฟิสิกส์ของไฟน์แมน]] (Feynman Lectures on Physics) อันโด่งดัง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้สอนวิชาฟิสิกส์เป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่เนื้อหาและการนำเสนอ เป็นการพลิกการเรียนการสอนฟิสิกส์แบบเก่า ๆ ให้เข้าใจง่าย
 
นอกจากนั้นเขายังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนา[[อาวุธนิวเคลียร์|ระเบิดนิวเคลียร์]]ลูกแรกของโลก ใน[[โครงการแมนฮัตตัน]] เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการระเบิดของ[[กระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์]] และเป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิดของ[[นาโนเทคโนโลยี]]
 
นอกจากนี้เขายังเป็นที่รู้จักในวงกว้างในสังคมอเมริกันอันเนืองมากจากบุคลิกภาพอันเต็มไปด้วยอารมณ์ขันแต่เปื่ยมไปด้วยแง่คิดและรูปแบบการสอนเนื้อหาทางฟิสิกส์ขั้นสูงที่ยากให้เข้าใจและเข้าถึงได้โดยง่าย ดังจากเห็นได้จากหนังสือชุด '''The Feynman Lectures on Physics'''
 
== ผลงานเกี่ยวกับไฟน์แมน ==