ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nini (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 48:
[[ไฟล์:JP Morgan.jpg|left|thumb|[[เจ.พี. มอร์แกน]] นายธนาคารผู้มีอำนาจในนิวยอร์ก ผู้เคยช่วยเหลือกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาในช่วงวิกฤต ค.ศ. 1893]]
มอร์แกนและพรรคพวกตรวจสอบบัญชีของบริษัทนิกเกอร์บอกเกอร์ทรัสต์ แต่ตัดสินใจว่าบริษัทไม่สามารถชดใช้หนี้ได้ จึงไม่ได้แทรกแซงเพื่อหยุดการแห่ถอนเงิน แต่อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวของนิกเกอร์บอกเกอร์ทรัสต์ทำให้ผู้คนพากันแห่ถอนเงินจากบริษัททรัสต์ที่ยังมีความมั่นคง มอร์แกนจึงต้องเริ่มปฏิบัติการช่วยเหลือ ตอนบ่ายวันอังคารที่ 22 ตุลาคม ประธานบริษัททรัสต์แห่งอเมริกาขอความช่วยเหลือจากมอร์แกน ในเย็นวันนั้น มอร์แกนประชุมกับ [[จอร์จ เอฟ. เบเคอร์]] ประธานของธนาคารแห่งชาติที่หนึ่ง, [[เจมส์ สติลแมน]] ประธานของธนาคารซิตี้แห่งชาตินิวยอร์ก (ซึ่งภายหลังกลายเป็น[[ซิตี้แบงก์]]) และ[[จอร์จ บี. คอร์เทลยู]] รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา คอร์เทลยูกล่าวว่าเขาพร้อมที่จะย้ายเงินรัฐบาลไปยังธนาคารเพื่อช่วยเหลือเรื่องเงินฝาก หลังจากการตรวจสอบข้ามคืนพบว่าบริษัททรัสต์แห่งอเมริกามีความมั่นคง ในบ่ายวันพุธ มอร์แกนประกาศว่า "นี่จะเป็นที่ที่หยุดปัญหา"<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|pp=87–88}}</ref>
 
เมื่อคนเริ่มแห่ถอนเงินจากบริษัททรัสต์แห่งอเมริกา มอร์แกนก็ร่วมมือกับสติลแมนและเบเคอร์เพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัทเพื่อให้มีเงินจ่ายผู้ฝากเงิน บริษัทรอดพ้นจากการปิดกิจการ แต่มอร์แกนรู้ว่าต้องเตรียมเงินอีกเพื่อให้ธนาคารสามารถอยู่รอดในวันต่อ ๆ ไป ในคืนนั้น เขารวบรวมประธานของบริษัททรัสต์อื่น ๆ และยื้อตัวพวกเขาไว้ในการประชุมถึงเที่ยงคืนจนกระทั่งพวกเขายินยอมให้ยืมเงิน 8.25 ล้านดอลล่าร์ให้บริษัททรัสต์แห่งอเมริกาสามารถเปิดได้อีกวัน<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|p=93}}</ref>
 
== อ้างอิง ==