ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปีเตอร์ ดรักเกอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: eu:Peter Drucker
Panyatham (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
บรรทัด 18:
| เชื้อชาติ = [[ออสเตรีย]]
| คู่สมรส = ดอร์ริส สชมิทซ์
| บุตร =
| ศาสนา = [[ศาสนาคริสต์|คริสต์]]
| การศึกษา = สาขากฎหมายระหว่างประเทศ [[มหาวิทยาลัยแฟรงเฟิร์ต]]
| การงาน =
| สังกัด =
| รางวัล =
| ผลงาน =
| วุฒิสูงสุด =
| เกียรติประวัติ =
| กิตติศัพท์ =
| คำยกย่อง =
| อิทธิพล =
| เว็บไซต์ =
}}
 
'''ปีเตอร์ เฟอร์ดินานด์ ดรักเกอร์''' ({{lang-en|Peter Ferdinand Drucker}}) เป็นทั้งนักเขียน ที่ปรึกษาด้านการจัดการ และเป็นผู้บรรยายด้าน "นักนิเวศน์สังคม"<ref>Drucker, Peter F., “Reflections of a Social Ecologist,” ''Society'', May/June 1992</ref> หนังสือของเขาเป็นแนวทางและแหล่งค้นคว้าด้านมนุษย์ที่จัดตั้งธุรกิจ, องค์กร, รัฐบาล และหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อสังคม<ref>[http://www.druckerinstitute.com/about-peter-drucker.html Drucker Institute - ''About Peter Drucker'']</ref> งานเขียนของเขาได้ทำนายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ รวมทั้งความเป็นเอกชน และการกระจายอำนาจ, ความรุ่งโรจน์ของญี่ปุ่นที่จะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในยุคนั้น, ความเห็นทางการตลาดที่สำคัญ ความเร่งด่วนของสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต<ref name="bw2005">{{cite web|url=http://www.businessweek.com/magazine/content/05_48/b3961001.htm|title=The Man Who Invented Management|work=BusinessWeek|accessdate=2005-11-28}}</ref> ใน ค.ศ. 1959 ดรักเกอร์ได้ให้ความสำคัญต่อ "การเรียนรู้ของคนงาน" และช่วงปลายชีวิต เขาได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึง "ความรู้ด้านการผลิตผลงาน" อันเป็นขอบเขตของความรู้ด้านการจัดการด้วยเช่นกัน โดยแนวคิดต่างๆของเขายังไม่ล้าสมัยและเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจมายาวนานหลายทศวรรษ<ref>Drucker, Peter F., ''Concept of the Corporation'', Preface to the 1983 edition, p. xvii, (1983) </ref>
 
== ชีวประวัติและปรัชญา ==
'''ปีเตอร์ ดรักเกอร์''' เป็นบุตรของทนายความซึ่งมีชื่อว่า ''อดอล์ฟ'' และมารดาชื่อ ''แคโรรีน'' ดรักเกอร์เกิดที่ [[กรุงเวียนนา]] [[ประเทศออสเตรีย]] ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909 ดรักเกอร์ย้ายไปหางานทำที่ฮัมบูร์กแล้วเริ่มฝึกทำงานที่บริษัทค้าฝ้าย แล้วเป็นนักเขียนข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ ''Der Österreichische Volkswirt (ออสเตรีย อิโคโนมิสต์) '' สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน[[กฎหมาย]]จากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ต ผลงานของเขาสร้างความประทับใจต่อโจเซฟซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อเขาเอง เกี่ยวกับเรื่องแนวคิดของผู้ประกอบการ<ref>Beatty, Jack, ''The World According to Peter Drucker'', p. 163, (1998) </ref> ดรักเกอร์ยังมีอิทธิพลต่อแนวคิดที่มีความแตกต่างไปจาก [[จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์]] ผู้ซึ่งได้บรรยายที่[[เคมบริดจ์]] เมื่อ ค.ศ. 1934 ว่า "ผมเพิ่งเข้าใจว่านักเรียนเศรษฐศาสตร์ของเคนส์ล้วนปราดเปรื่องในห้องเรียนซึ่งสนใจเกี่ยวกับความนิยมด้านสินค้า" ในขณะที่ดรักเกอร์เขียนเอาไว้ว่า "ผมสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คน"<ref>Drucker, Peter F., ''The Ecological Vision'', p. 75-76, (1993) abcdefghijklmnopqr</ref>
 
ถัดจากนั้นอีก 70 ปี งานเขียนของดรักเกอร์ได้กลายเป็นเครื่องหมายโดยมุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดที่มีอยู่ทั่วไป หนังสือของเขาได้สอดแทรกบทเรียนที่เกี่ยวกับเรื่องของการทำอย่างไรองค์กรถึงจะสามารถสร้างคนที่ดีที่สุดขึ้นมาได้ และคนงานจะสามารถตระหนักถึงสภาพชุมชนได้อย่างไร รวมทั้งจะเป็นที่ยอมรับในการจัดตั้งสังคมสมัยใหม่โดยรอบได้อย่างไร<ref>[http://www.druckerinstitute.com/drucker-legacy.html Drucker Institute - The Drucker Legacy<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
ขณะที่เขายังหนุ่ม ก็ได้เขียนผลงานขึ้นมาสองชิ้น — โดยเล่มหนึ่งกล่าวถึงนักปรัชญาชาวเยอรมันซึ่งมีชื่อว่า ''เฟดเดอริช จูเลียส สตาห์ล'' กับเรื่อง ''"คำถามของชาวยิวในเยอรมัน" (The Jewish Question in Germany) '' — ซึ่งได้ถูกสั่งเผาและระงับการจัดพิมพ์โดยฝ่ายนาซี<ref name="bw2005"/> ปี ค.ศ. 1993 ได้เดินทางออกจากเยอรมันไปยังอังกฤษ ใน[[กรุงลอนดอน]] เขาได้ทำงานในบริษัทประกัน หลังจากนั้นเขาได้เป็นผู้นำนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญในธนาคารอย่างเป็นการส่วนตัว เขายังได้ติดต่อกับ ''ดอริส ชมิตซ์'' ผู้ซึ่งเป็นคนรู้จักจากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ตอีกครั้ง ทั้งคู่ได้แต่งงานกันใน ค.ศ. 1934 (ทั้งนี้ รายชื่อในใบรับรองระบุชื่อของเขาว่า ''ปีเตอร์ จอร์จ ดรักเกอร์'' <ref>The Drucker Institute Archives, Claremont, California. Box 39, Folder 11</ref>) และสองสามีภรรยาก็ได้ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยเขาได้มาเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ (ดรักเกอร์ไม่ยอมรับกับคำว่า "กูรู" ซึ่งคนทั่วไปยอมรับในตัวเขา โดยเขายังกล่าวย้ำอีกด้วยว่า "ผมพูดมาหลายปีแล้ว เราจะใช้คำว่า "กูรู" ก็คงเสมือนกับว่าเราเป็น "นักต้มตุ๋น" จนอาจต้องถูกพาดหัวข่าวที่ยาวมาก") <ref>“Peter Drucker, the man who changed the world,” ''Business Review Weekly'', 15 September 1997, p. 49</ref>
 
ในปี ค.ศ. 1943 ดรักเกอร์โอนสัญชาติเป็นพลเมืองของ[[อเมริกา]] เป็นผู้สอนที่[[วิทยาลัยเบนนิงตัน]] ช่วงปี ค.ศ. 1942 ถึง 1949 หลังจากนั้น เขาได้เป็นศาสตราจารย์ที่[[มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก]] ช่วงปี ค.ศ. 1950 ถึง 1971 ดรักเกอร์เดินทางสู่แคลิฟอร์เนียในปี ค.ศ. 1971 ซึ่งได้พัฒนา[[หลักสูตรเอ็มบีเอ]]ด้านการบริหาร สำหรับฝึกอาชีพที่ [[มหาวิทยาลัยแคลมอนต์ เกรดูเอท]] (หลังจากนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ โรงเรียนแคลมอนต์ เกรดูเอท) ช่วงปี ค.ศ. 1971 จนถึงช่วงที่เขาเสียชีวิต เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษด้าน[[สังคมศาสตร์]] กับ [[การจัดการ]] ที่[[มหาวิทยาลัยแคลมอนต์ เกรดูเอท]] และได้ตั้งชื่อมหาวิทยาลัยขึ้นมาว่า ''"ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ เกรดูเอทสคูล ออฟ เมเนจเมนท์"'' (หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นชื่อในที่รู้จักกันว่า ''"[[ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ แอนด์ มาซาโตชิ อิโต้ เกรดูเอทสคูล ออฟ เมเนจเมนท์]]"'') เพื่อเป็นการให้เกียรติ เมื่อปี ค.ศ. 1987 เขาสอนในชั้นเรียนครั้งสุดท้ายเมื่อปีค.ศ. 2002 ในขณะที่มีอายุได้ 92 ปี
 
== การทำงาน ==
อาชีพของเขาในฐานะนักคิดทางธุรกิจได้หยุดพักลงในค.ศ. 1942 เมื่อช่วงที่เขาได้เริ่มงานเขียนด้านสังคมและการเมืองซึ่งทำให้เขามีส่วนร่วมในการทำงานภายใน ''เจนเนอรัล มอเตอร์ (GM) '' ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้น จากประสบการณ์ในยุโรปได้สร้างความตะลึงใจต่อผู้บริหาร เขาได้แบ่งความประทับใจนี้ต่อโดนัลด์สัน บราวด์ ซึ่งอยู่เบื้องหลังการบริหารควบคุมของจีเอ็ม ในค.ศ. 1943 เขาได้รับการเชื้อเชิญจากบราวน์ให้เขาร่วมปฏิบัติการที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น "การตรวจสอบทางการเมือง": การวิเคราะห์ทางสังคมศาสตร์สองปีของบริษัท ดรักเกอร์ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกระประชุมทุกครั้ง, สัมภาษณ์ลูกจ้าง และวิเคราะห์ถึงการผลิตตลอดจนมีส่วนในการสินใจผลิตเชิงปฏิบัติ
 
หนังสือเกี่ยวกับผลลัพธ์ ''[[คอนเซ็ปท์ ออฟ เดอะ คอร์ปอเรชั่น]]'' ก็ยังเป็นที่นิยมในองค์กรจีเอ็มนี้ด้วย ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างหลายส่วนและนำมาซึ่งหลายหัวข้อ, การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำงาน และหนังสือเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามทางจีเอ็มรู้สึกตื่นเต้นอย่างมากกับสินค้าตัวสุดท้าย ดรักเกอร์ให้นึกถึงยักษ์ผู้มีอำนาจที่ต้องการนโยบายบนตำแหน่งสร้างความสัมพันธ์ต่อลูกค้า, ความสัมพันธ์ของผู้กระจายหน้าที่, ความสัมพันธ์ต่อลูกจ้าง และอื่นๆ ภายในบริษัท ดรักเกอร์ได้เสนอแนะถึงสิ่งที่มากกว่าการพิจารณา ประธานจีเอ็มคนสำคัญ อัลเฟรด สโลน รู้สึกสับสนกับหนังสือ "จะเป็นการปฏิบัติอย่างง่ายๆถ้ามันไม่มีอยู่" โดยดรักเกอร์ได้เรียกในภายหลังว่า "ไม่เคยกล่าวถึงมันและไม่เคยมีการรับรองการได้กล่าวถึงในทัศนะของเขา"<ref>Drucker, Peter F., ''Adventures of a Bystander'', p. 288, (1979) </ref>
 
ดรักเกอร์ได้สอนคณะผู้บริหารว่าเป็น "ศิลปะแห่งเสรีนิยม" และเขาได้ทำให้รู้สึกว่าข้อมูลการจัดการของเขาเกิดจากการบูรณาการบทเรียนจากประวัติศาสตร์, สังคมวิทยา, จิตวิทยา, ปรัชญา, ศาสนาและวัฒนธรรม เข้าไว้ด้วยกัน<ref>[http://www.druckerinstitute.com/additional-pieces.html Drucker Institute - About Peter Drucker - Additional Sources - Other Pieces About Drucker]</ref> เขายังเชื่ออีกด้วยว่าความแข็งแกร่งนั้นมาจากทุกส่วนของสถาบัน อันประกอบด้วย ภาคเอกชน, มีความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งหมด "ความจริงคือ," ดรักเกอร์ได้เขียนไว้ในปี ค.ศ. 1973 ''การจัดการ: ถือเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก, มีความรับผิดชอบ, และต้องฝึกฝน'', "ซึ่งในสังคมสมัยใหม่นั้นจะไม่มีกลุ่มผู้นำอื่นเว้นแต่ผู้จัดการ ถ้าผู้จัดการสถาบันหลักและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจ ไม่สามารถทำหน้าที่โดยรวมให้ดีได้ ก็จะไม่มีใครสามารถที่จะทำให้ดีได้อีกเลย"<ref>Drucker, Peter F., ''Management: Tasks, Responsibilities, Practices'', p. 325, (1973) </ref>
 
ดรักเกอร์สนใจในผลของการเติบโตของผู้คนซึ่งทำงานด้วยใจมากกว่าการทำงานด้วยมือ เขาได้ก่อให้เกิดความสนใจโดยชี้ประเด็นถึงลูกจ้างบางคนผู้ซึ่งรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ที่แน่นอนมากกว่าเจ้านายของพวกเขาหรือผู้ร่วมงาน และยังได้ร่วมมือกับองค์กรขนาดใหญ่อื่นๆด้วย ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจอย่างง่ายๆก็คือเป็นการยกย่องถึงความก้าวหน้าของมนุษย์เรานั่นเอง ดรักเกอร์ได้วิเคราะห์และอธิบายถึงการทำอย่างไรจึงจะเกิดการเปลี่ยนความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการขับเคลื่อนองค์กรได้
บรรทัด 57:
กระทั่งเขาได้เป็นผู้ให้คำปรึกษา ดรักเกอร์ได้ทำงานกับหลายๆบริษัท ซึ่งได้แก่ เจนเนอรอล อิเล็คทริก, โคคา-โคล่า, ซิตี้คอร์ป, ไอบีเอ็ม และอินเทล เขาได้ให้คำปรึกษาแก่ผู้นำธุรกิจที่เรารู้จักกันดี ตั้งแต่ แจ็ค เวลช์ จากจีอี, เอ.จี.แลฟลี่ย์ จาก พรอกเตอร์แอนด์แกมเบิล, แอนดี้ กรูฟ จากอินเทล, จอห์น เบกแมน จากเอ็ดเวิร์ด โจนส์, โชอิจิโร่ โทโยดะ ประธานผู้ทรงเกียรติแห่งโตโยต้า มอเตอร์ กับมาซาโตชิ อิโต้ ประธานผู้ทรงเกียรติแห่ง อิโต้-โยคาโด้ กรุ๊ป ซึ่งเป็นองค์กรขายตรงที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก<ref>[http://www.druckerinstitute.com/ Drucker Institute]</ref> แม้ว่าเขาจะได้ช่วยสร้างคความสำเร็จให้กับผู้บริหารองค์กร เขาได้ทำให้เกิดความกลัวเมื่อ อันดับฟอร์จูน 500 ซีอีโอ ได้ทำให้ค่าเฉลี่ยคนงานเกิดภาวะลอยตัวซึ่งมีอัตราเกินกว่า 100 ช่วงเวลา เขาได้ให้เหตุผลในปี 1984 โดยพยายามระบุว่าการชดเชยควรจะลดอัตราลงให้เหลือไม่เกิน 20 ช่วงเวลา โดยการจัดลำดับและการทำแฟ้มบันทึก — โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ลูกจ้างได้ถูกเลิกจ้างงานนับพันคน "มันคือสิ่งที่ไม่อาจยกโทษให้ทั้งทางศีลธรรมและทางสังคม," ดรักเกอร์ได้เขียนเอาไว้ "และเราจะชดใช้อย่างหนักสำหรับมัน"<ref name="bw2005"/>
 
ดรักเกอร์ได้ให้คำปรึกษาสำหรับตัวแทนรัฐบาลหลายแห่งทั้งจากสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และญี่ปุ่น เขาได้ทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและได้ช่วยให้องค์กรเหล่านั้นประสพผลสำเร็จ บ่อยครั้งที่ให้คำปรึกษาระดับอาชีพ ท่ามกลางหน่วยกลุ่มสังคม เขายังได้พิจารณาถึงองค์กรที่มีชื่อว่า ''Salvation Army'', ''the Girl Scouts of the USA'', ''C.A.R.E.'', ''กาชาดอเมริกัน'', และ ''Navajo Nation (ซึ่งเป็นคณะกรรมการของชนเผ่าอินเดียนแดง) '' ด้วยเช่นกัน<ref>Drucker, Peter F., ''Managing the Nonprofit Organization'' (1994) </ref>
 
โดยแท้จริงแล้ว ดรักเกอร์ ได้คาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเติบโตของหน่วยสังคมในอเมริกา ซึ่งดำเนินต่อไป ด้วยการอาสาโดยไม่หวังผลกำไร ประชาชนต่างค้นหาถึงการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเขาเป็นต้นตำรับในการคิดโดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีการวางตำแหน่งในงานของพวกเขา แต่นั่นก็เป็นการยากที่จะหาแหล่งทดสอบจากสนามแข่งจริง "ความเป็นพลเมือง และการคิดว่าหน่วยสังคมจะไม่สามารถรักษาความผิดปกติที่มีอยู่ได้ทุกอาการ ทั้งงที่มีอยู่ในเบื้องหลังของนายทุน กับเบื้องหลังของการปกครอง แต่บางทีสิ่งที่ต้องมาก่อนการแก้ปัญหากลับผิดปกติไปด้วย" ดรักเกอร์เขียนเอาไว้ "มันได้ช่วยฟื้นฟูหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ในตัวเมือง ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพลเมือง กับความภาคภูมิใจที่เป็นเครื่องหมายแห่งสังคม"<ref>Drucker, Peter F., ''Post-Capitalist Society'', p. 177, (1993) </ref>
 
== งานเขียน ==
บรรทัด 65:
 
== แนวคิดพื้นฐาน ==
แนวคิดในการบริหารจัดการหลายประการมาจากงานเขียนของดรักเกอร์แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น: การกระจายอำนาจและการทำให้เข้าใจง่าย ดรักเกอร์ได้ลดคำสั่งกับรูปแบบการควบคุม และกล่าวว่าบริษัทที่มีการทำงานที่ดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการกระจายอำนาจ ตามแนวคิดของดรัีกเกอร์คือรักเกอร์คือ บริษัทมักจะมีแนวโน้มที่จะผลิตสินค้ามากเกินไป รวมทั้งมีการจ้างพนักงานที่ไม่จำเป็น และมักขยายสู่ภาคเศรษฐกิจที่ควรหลีกเลี่ยง<ref>[http://www.gurteen.com/gurteen/gurteen.nsf/id/X005BADE2/ On replacing command and control by Peter F. Drucker]</ref>, ความสงสัยลึกซึ้งของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค ดรักเกอร์ได้โต้แย้งว่าเศรษฐศาสตร์ที่จัดสอนภายในโรงเรียนทั้งหมดไม่สามารถอธิบายถึงลักษณะสำคัญของเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้แต่อย่างใด<ref>[http://www.webanswers.com/business/what-was-peter-drucker-theory-1a0646 What was peter drucker theory? - WebAnswers.com]</ref>, จากการแสดงความเคารพต่อคนงาน ดรักเกอร์เชื่อว่า่ดรักเกอร์เชื่อว่าพนักงานทั้งหลายต่างเป็นทรัพย์สิน และไม่ได้เป็นหนี้สิน เขาสอนให้รู้ว่าความรู้ของคนงานเป็นส่วนประกอบสำคัญของเศรษฐกิจสมัยใหม่ ใจความสำคัญของแนวปรัชญานี้เป็นมุมมองว่าผู้คนต่างเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร และหน้าที่ของผู้จัดการก็คือการเตรียมการและให้ความเป็นเสรีต่อบุคลากรในการดำเนินการ<ref>[http://www.communicoltd.com/pages/400_your_workplace_is_a_human_community.cfm Your Workplace is a Human Community]</ref>
 
ความเชื่อในสิ่งที่เขาเรียกว่า "อาการป่วยของรัฐบาล" ดรักเกอร์ไม่ได้มีความลำเอียงต่อรัฐบาล โดยอ้างว่ารัฐบาลอาจไม่สามารถหรือไม่เต็มใจให้บริการใหม่ต่อสิ่งที่ผู้คนมีความจำเป็นหรือต้องการได้ แต่เขาก็เชื่อว่าอาการนี้มิใช่ของรัฐบาลโดยเนื้อแท้ ซึ่งมีอยู่ในบทความ The Sickness of Government (อาการป่วยของรัฐบาล) ในหนังสือ The Age of Discontinuity โดยมีพื้นฐานมาจาก New Public Management ซึ่งเป็นทฤษฎีในการรัฐประศาสน์ที่เป็นระเบียบวินัยครอบคลุมในช่วงยุค 1980 กับ 1990 <ref>[http://www.spaef.com/file.php?id=192 Educational Governance and the New Public Management]</ref>, แนวคิดเกี่ยวกับการละทิ้งต่อแผนการ โดยทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาลมักมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับความสำเร็จในวันวาน มากกว่าที่จะเห็นถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว<ref>[http://www.marketingcrossing.com/article/220112/Peter-F-Drucker-Business-Sage/ Peter F. Drucker: Business Sage]</ref>, ความเชื่อของดรักเกอร์ ว่าการดำเนินการโดยปราศจากความคิด ย่อมเป็นสาเหตุของความล้มเหลวทุกประการ<ref>[http://www.wwcc.wy.edu/facres/tfs/focalites/LessonPlan_Focalite.pdf ''Planning a successful lesson'']</ref>
บรรทัด 71:
สิ่งจำเป็นสำหรับชุมชน สำหรับในช่วงแรกเริ่มอาชีพของดรักเกอร์ เขาได้ทำนายถึง "จุดจบของมนุษย์เศรษฐกิจ" และสนับสนุนการสร้าง "ชุมชนโรงงาน" เมื่อบุคคลของสังคมมีความจำเป็นและต้องการที่จะพบเห็น ซึ่งต่อมาภายหลังเขาก็ได้รู้ว่าลักษณะชุมชนโรงงานมิได้มีลักษณะเป็นตัวตน และในช่วงยุค 1980 เขาได้ชี้ให้เห็นว่าในภาคของอาสาสมัครไม่แสวงหาผลกำไรเป็นกุญแจในการช่วยเหลือด้านสุขภาพสังคม ที่ผู้พบเห็นจะบังเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน<ref>[http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2005/11/11/AR2005111101938.html Management Visionary Peter Drucker Dies]</ref>
 
เขายังให้แนวคิดด้านความจำเป็นในการบริหารธุรกิจ โดยให้ความสำคัญต่อหลายความต้องการและเป้าหมาย มากกว่าการอยู่ใต้คำบังคับบัญชาเพียงอย่างเดียว<ref>[http://www.stensgaard.me.uk/peter-drucker-father-of-management/ Peter Drucker – Father of management]</ref> แนวคิดนี้เป็นการบริหารจัดการที่มีรูปแบบวัตถุประสงค์จากประเด็นสำคัญของเขาในปี ค.ศ. 1954 ซึ่งปรากฏในหนังสือ The Practice of Management (การปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร) <ref>[http://www.valuebasedmanagement.net/methods_smart_management_by_objectives.html Management by Objectives - SMART]</ref>, ในด้านความรับผิดชอบหลักของบริษัท คือการให้บริการต่อลูกค้า โดยที่กำไรไม่ใช่เป้าหมายหลัก หากแต่เป็นเงื่อนไขสำหรับการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องของบริษัท<ref>[http://mysimpleprocesses.com/2009/11/07/drucker-centennial/ Peter Drucker Centennial – his wisdom and perspectives]</ref>, องค์กรควรมีวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินการธุรกิจทุกกระบวนการ<ref>[http://www.spacecoastbusiness.com/applying-peter-druckers-management-principles/ Applying Peter Drucker’s Management Principles]</ref> และมีความเชื่อในแนวคิดที่ว่าบริษัทยอดเยี่ยมควรจะมีอยู่ในการสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดของมนุษย์<ref name="บุช">[http://www.cgu.edu/pages/292.asp About Peter F. Drucker]</ref>
 
== รางวัลเกียรติคุณ ==
บรรทัด 143:
</div>
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{wikiquote}}
<div style="overflow:scroll;height:300px;">
บรรทัด 172:
** [http://www.leadertoleader.org/knowledgecenter/L2L/winter98/drucker.html Civilizing the City by Peter F. Drucker]
** [http://www.leadertoleader.org/knowledgecenter/L2L/summer96/drucker.html The Shape of Things to Come: An Interview with Peter F. Drucker by Peter F. Drucker]
** Drucker, P. F. 2006. "What Executives Should Remember". Harvard Business Review, 84 (2) : 144 ? 152.
* [http://ccdl.libraries.claremont.edu/col/dac/ Drucker Archives] in the [[Claremont Colleges Digital Library]]
* [http://www.druckersociety.at/ Drucker Society] - First Global Peter Drucker Forum (Vienna) - November 19-20th 2009