ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยานมาศสามลำคาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ภาพจากคอมมอนส์
บรรทัด 1:
{{ต้องการเพิ่มอ้างอิง}}
[[ไฟล์:An old Phra Yanna Mas Sam Lam Khan, National Museum, Bangkok.jpg|thumb|250px|พระยานมาศสามลำคาน (ชำรุด) ศิลปสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เก็บรักษาไว้ที่[[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร]] (พระยานมาศองค์นี้จัดแสดงอยู่ภายนอกพิพิธภัณฑ์ ส่วนองค์ที่มีการบูรณะเพื่อใช้งานในพระราชพิธีพระศพในชั้นหลัง เก็บรักษาไว้ภายในโรงราชรถ)]]
[[ไฟล์:Phra yannamas sam lam khan with Princess Galyani Vadhana's royal urn - 2009-11-15.jpg|thumb|250px|ริ้วกระบวนอัญเชิญ[[พระโกศ]]พระศพ[[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] ทรงพระยานมาศสามลำคาน เคลื่อนกระบวนเลียบ[[พระบรมมหาราชวัง]]ไปยัง[[พระมหาพิชัยราชรถ]] ซึ่งจอดรอที่พลับพลาหน้า[[วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม]]]]
'''พระยานมาศสามลำคาน''' เป็น[[คานหาม]]ขนาดใหญ่ กลางตั้งแท่นทำด้วยไม้สลักปิดทองประดับกระจกสี มีพนักโดยรอบ 3 ด้าน และมีคานหาม 3 คาน จึงเรียกว่า พระยานมาศสามลำคาน ลักษณะเป็นแท่นซ้อนลด 4 ชั้น ย่อมุมไม้สิบสอง ชั้นบนสุดทำเป็นแผงราชวัตรจำหลักลายประดับกระจกกั้น เว้นช่องที่ส่วนหน้าและส่วนหลัง และมีมุขยื่นออกมา ฐานชั้นที่ 3 ประดับรูปครุฑแกะสลักโดยรอบ 38 ตัว ชั้นที่ 4 ประดับเทพนม 26 องค์ ตัวแท่นยานมาศตั้งยึดติดกับลำคานทั้ง 3 บนยานมีแผ่นไม้ขนาดใหญ่รูปแปดเหลี่ยมพร้อมขอเกี่ยว 4 ตัว ติดไว้ พื้นไม้ด้านบนทาสีแดง รอบข้างสลักลายปิดทอง เป็นที่สำหรับตั้งพระโกศให้มั่นคง คานทั้ง 3 เป็นไม้กลึงกลมทาสีแดง สร้างจากไม้เนื้อแข็งจำนวนสามลำ ปลายสลักเป็นหัวเม็ดปิดทองประดับกระจกสี ใช้พนักงานหาม 60 คน เวลาหามจริงใช้คน 2 ผลัด พระยานมาศสามลำคานองค์แรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อใช้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นครั้งแรก