ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การระงับข้อพิพาท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26:
 
นอกจากนี้ ลองพิจารณาเจรจาให้ได้ซึ่งข้อยุติ ไม่ว่าจะเป็นการประนีประนอมหรือการระงับข้อพิพาทชั่วคราว การกระทำดังกล่าวนี้ยังเป็นสิ่งสำคัญหากคุณต้องการเชิญชวนความเห็นจากผู้อื่น เพราะจะทำให้ผู้อื่นพิจารณาประเด็นปัญหาได้อย่างยุติธรรม โดยปราศจากความสับสนของการแก้ไขที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
 
== ระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้ ==
หากข้อพิพาทนั้นถูกระบุว่าเป็นข้อพิพาทอันเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้ใช้ อาจลองระงับด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งตามด้านล่างนี้ ข้อพิพาทนั้นมักเกี่ยวข้องกับการร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำของผู้ใช้ (เช่น วิธีการแก้ไขของผู้ใช้คนนั้น หรือความคิดเห็นที่ผู้ใช้คนนั้นใช้ระหว่างการอภิปรายในหน้าอภิปราย)
 
=== ถึงที่สุด: การอนุญาโตตุลาการ ===
{{ดูเพิ่มที่|วิกิพีเดีย:คณะอนุญาโตตุลาการ|วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/นโยบาย}}
หากคุณได้ดำเนินหนทางอื่นทั้งหมดในการระงับข้อพิพาทแล้ว และข้อพิพาทนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทความ คุณอาจร้องขอการอนุญาโตตุลาการได้ เตรียมพร้อมที่จะแสดงว่าคุณได้พยายามระงับข้อพิพาทโดยวิธีอื่นแล้ว การอนุญาโตตุลาการแตกต่างจากการไกล่เกลี่ยตรงที่คณะอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาคดีและมีคำตัดสิน แทนที่จะเป็นเพียงการช่วยเหลือให้คู่กรณีบรรลุความตกลงได้ หากมีคำตัดสินออกมาจากอนุญาโตตุลาการ คุณจะถูกคาดหวังว่าจะยอมปฏิบัติตามผลคำตัดสินนั้น หากคดีนั้นเกี่ยวข้องกับความประพฤติมิชอลร้ายแรงของผู้ใช้ การอนุญาโตตุลาการอาจนำมาซึ่งผลหนักหลายอย่าง ตั้งแต่การห้ามคนหนึ่งมิให้แก้ไขอย่างสมบูรณ์ ดังที่ระบุไว้ในนโยบายการอนุญาโตตุลาการ หมายเหตุว่าการอนุญาโตตุลาการนั้นปกติใช้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้ ขณะที่การไกล่เกลี่ยนั้นปกติใช้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเนื้อหาบทความ
 
==กรณีเร่งด่วน==