ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรละโว้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
คำว่าละโว้นี้น่าสัณนิษฐานได้ว่ามาจากคำว่า ลวะ นั่นเอง (ซึ่ง ลวบุรี กลายมาเป็น ลพบุรี ในทุกวันนี้) ซึ่งคำว่า ลวะ ในสันสกฤตแปลว่า น้ำ (ซึ่งอาจหมายความถึงว่าเมืองนี้มีน้ำมาก) เมื่อนำเอามาสมาสกับคำว่า อุทัย (ลว + อุทัย) ก็กลายเป็นลโวทัย (ดังเช่น สุข + อุทัย กลายเป็น สุโขทัย) ซึ่งคำจารึก "ลโวทัยปุระ" ยังพบปรากฏบนเหรียญเงินโบราณที่ขุดค้นได้ที่บริเวณจังหวัดลพบุรีอีกด้วย แต่บ้างก็ว่าคำว่า ละโว มาจากภาษามอญซึ่งแปลว่าภูเขา คงเนื่องเพราะเมืองนี้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา
 
เมืองละโว้ได้รับคติทาง[[ศาสนาพราหมณ์]]จากราช[[อาณาจักรขอม]]กัมพูชา <ref>[https://www.mfa.go.th/web/479.php?id=51 ราชอาณาจักรขอมกัมพูชา] จากเว็บไซต์ [[กระทรวงการต่างประเทศ]]</ref> และพุทธศาสนาแบบมหายานที่ขึ้นมาจากทางทิศใต้ ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 คติความเชื่อทั้งสองนั้นเข้ากันได้และส่งเสริมการปกครองบ้านเมืองที่รวมกันเป็นราชอาณาจักรใหญ่ ดังนั้น เมืองละโว้จึงเป็นเมืองที่มีเครือข่ายความสัมพันธ์ไปถึงบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งลุ่ม[[แม่น้ำมูล]] คือเมือง[[พิมาย]] ใน[[จังหวัดนครราชสีมา]] เมือง[[ปราส|พนมรุ้ง]] ในเขต[[จังหวัดบุรีรัมย์]] ไปจนถึงเมือง[[นครธม|พระนครหลวง]] ใน[[กัมพูชา]] ซึ่งทั้งเมืองพิมายและเมืองพนมรุ้งต่างก็มีศิลาจารึกที่แสดงอำนาจความเป็นอิสระของการเป็นเมืองหลวงปกครองดินแดนในละแวกใกล้เคียงในระดับหนึ่งด้วย ส่วนเมืองละโว้นั้น ในช่วงเวลานี้มีเอกสารประเภทตำนานที่แสดงถึงการแตกแยก ที่ทำให้เมืองหริภุญไชยซึ่งมีเมืองในอาณัติ คือ นครเขลางค์ แยกออกไปปกครองตนเองโดยอิสระ เป็นอีกแว่นแคว้นหนึ่งที่ต้น[[แม่น้ำปิง]]
 
ในระยะเวลาต่อมา เมืองละโว้มีบทบาทก่อให้เกิดเมืองหลวงขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยอีกเมืองหนึ่ง คือ เมือง[[สุโขทัย]] ที่ขึ้นไปจัดตั้งไว้ที่ตอนบนของที่ราบฝั่ง[[แม่น้ำยม]] เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 18 แต่หลังจากนั้นไม่นาน สุโขทัยก็แยกตัวออกเป็นอิสระอีกแว่นแคว้นหนึ่งเช่นเดียวกับเมืองหริภุญไชย เรื่องราวใน[[ศิลาจารึก]]สุโขทัย หลักที่ 2 [[วัดศรีชุม]] เรื่อง[[พ่อขุนผาเมือง]] และ[[พ่อขุนบางกลางหาว]]รบกับ[[ขอมสบาดโขลญลำพง]] อาจเป็นเรื่องราวตอนที่สุโขทัยแยกตัวออกจากเมืองละโว้ก็ได้ ส่วนเมืองละโว้นั้น ก็ได้มีการขยับขยายราชธานีลงทางใต้ ตั้งบ้านเมืองในบริเวณที่แม่น้ำ 3 สายคือ [[แม่น้ำป่าสัก]] [[แม่น้ำลพบุรี]] และ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ไหลมาบรรจบกัน และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเมืองสุพรรณภูมิ ต่อมาก็ได้จัดตั้ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ขึ้นเป็นเมืองหลวงในที่สุด