ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขมรอิสระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ความหมายอื่น|ขบวนการในช่วง พ.ศ. 2483-2493|ขบวนการฝ่ายซ้ายหลัง พ.ศ. 2493|...
 
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|ขบวนการในช่วง พ.ศ. 2483-2493|ขบวนการฝ่ายซ้ายหลัง พ.ศ. 2493|สมาคมเขมรอิสระ}}
[[File:Flag of the People's Republic of Kampuchea.svg|thumb|280px|ธงของเขมรอิสระฝ่ายซ้ายที่นิยมเวียดมิญจะมีปราสาทนครวัดห้ายอด ธงนี้ต่อมาใช้เป็นธงของแนวร่วมประชาชาติกู้ชาติกัมพูชาที่ร่วมมือกับเวียดนามต่อต้านเขมรแดง และใช้เป็นธงชาติของ[[สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา]]<ref>Margaret Slocomb, ''The People's Republic of Kampuchea, 1979-1989: The revolution after Pol Pot'' ISBN 9789749575345</ref>]]
'''เขมรอิสระ''' (Khmer Issarak; [[ภาษาเขมร]]: ខ្មែរឥស្សរៈ) เป็นกลุ่มต่อต้าน[[ฝรั่งเศส]]และกลุ่มชาตินิยมเขมร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2488 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย จุดประสงค์เพื่อต่อต้านการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและจัดตั้งรัฐเขมรที่เป็นเอกราช อย่างไรก็ตาม ภายในกลุ่มมีความแตกแยกทางความคิดมาก สุดท้ายทำให้มาชิกสมาชิกแยกตัวออกไป สมาชิกของกลุ่มนี้หลายคนมีบทบาทสำคัญใน[[สงครามกลางเมืองกัมพูชา]]
== การก่อตั้ง ==
เขมรอิสระเริ่มจัดตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2483 โดย [[ปก พอลกุณ]]ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่[[เซิง งอกทัญ]]เข้าไปขอความช่วยเหลือจาก[[ญี่ปุ่น]]ในการต่อต้านฝรั่งเศส ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ไทยได้เข้ายึดครอง[[พระตะบอง]] และ[[เสียมราฐ]]จากฝรั่งเศสใน[[กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส]] และญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยในต้น พ.ศ. 2484 และต่อมา ปก พอลกุณได้เป็น ส.ส. ในจังหวัดพระตะบองของไทยด้วย
== เขมรอิสระฝ่ายซ้าย ==
เขมรอิสระกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งจัดตั้งโดยอดีตพระภิกษุ 2 รูปคือพระอาจารย์สก (ต่อมาคืดคือ [[ตู สามุต]]) และพระอาจารย์เมียน (ต่อมาคือ [[เซิง งอกมิญ]]) หลังจากการเรียกร้องเอกราชใน[[พนมเปญ]]เมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 อาจารย์เมียนเดินทางไปยัง[[กำปงชนัง]] และจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธเพื่อต่อสู้ อาจารย์สกซึ่งเป็นครูสอน[[ภาษาบาลี]]ในพนมเปญได้เข้าร่วมใน พ.ศ. 2485 หลังจากที่มีการโจมตีใน พ.ศ. 2488 และมีการทิ้งระเบิดโดยกองทัพอากาศสหรัฐ กลุ่มของเซิง งอกมิญได้เข้าร่วมกับ[[เวียดมิญ]]และจัดตั้ง[[พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา]]เมื่อ พ.ศ. 2488 ทั้งเซิง งอกมิญและตู สามุต ทำงานร่วมกันใน[[พรรคคอมมิวนิสต์ชาวอินโดจีน]]ใน[[เวียดนาม]] ซึ่งเวียดมิญเข้ามาเป็นผู้นำในการปฏวิติปฏิวัติเดือนสิงหาคมหลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม และรับกลุ่มของ[[ชาวขแมร์กรอม]]ใน[[เวียดนามใต้]]เข้าร่วมด้วย
== หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ==
กลุ่มของปก พอลกุณที่ไทยสนับสนุนอ่อนกำลังลงใน พ.ศ. 2489 และไทยก็ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรบังคับให้คืนดินแดนที่ได้มาหลังกรณีพิพาทอินโดจีนให้แก่ฝรั่งเศส ไทยหันไปสนับสนุนกลุ่มของ[[ดาบ ฌวน]]และ[[พระนโรดม จันทรังสี]]ในการต่อต้านฝรั่งเศส แต่การรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2490 ทำให้การสนับสนุนของไทยอ่อนแอลง ในขณะที่เวียดมิญได้แทกรแซงมาจากทางเหนือและตะวันออกของกัมพูชาเพื่อต่อต้านฝรั่งเศส
บรรทัด 14:
ในช่วงนี้ เวียดมิญเข้ามามีบทบาทเหนือขบวนการเขมรอิสระมากขึ้น ทำให้คอมมิวนิสต์แบบเวียดนามแพร่หลายทางตะวันออกของประเทศ มีการฝึกการสู้รบแบบกองโจรจากเวียดนาม และชาวกัมพูชาจำนวนมากถูกส่งเข้าอบรมทางการเมือง เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับลัทธิมาร์ก-เลนิน และความร่วมมือกับเวียดนาม ในอีกด้านหนึ่งของประเทศ เซิง งอกมิญได้เดินทางกลับจากประเทศไทยพร้อมนำอาวุธเข้ามาในกัมพูชา ใน พ.ศ. 2490 เขาได้ตั้งคณะกรรมการปลดปล่อยกัมพูชาตะวันตกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ในสงครามกลางเมืองกัมพูชา พ.ศ. 2513 – 2518 บริเวณดังกล่าวนี้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา และเป็นฐานที่สำคัญของ[[พล พต]]ด้วย ทั้งนี้ ใน พ.ศ. 2491กัมพูชาตะวันตกเฉียงใต้เป็นเขตอิทธิพลของเขมรอิสระ
 
ใน พ.ศ. 2492 มีผู้นำของเขมรอิสระบางคนยอมรับข้อเสนอของฝรั่งเศสและยอมวางอาวุธ จึงแยกตัวออกไป ส่วนที่เหลือได้จัดตั้งขบวนการที่เน้นความรุนแรง กลุ่มของดาบ ฌวนได้ขับไล่กลุ่มของเซียว เฮง และกลุ่มฝ่ายซ้ายออกไป ปรับองค์กรเป็น[[คณะกรรมการปลดปล่อยแห่งชาติเขมร]]ที่มีพระนโรดม จันทรังสีเป็นผู้นำกองทัพ ตู สามุตและฝ่ายซ้ายอืนๆอื่นๆแยกไปจัดตั้ง[[สมาคมเขมรอิสระ]] ที่มีความเกี่ยวข้องกับเวียดมิญมาก ต่อมา ดาบ ฌวนมอบตัวต่อฝ่ายฝรั่งเศส ส่วนพระนโรดม จันทรังสีแยกตัวไปเข้าร่วมกับฝ่ายขวาที่ต่อต้านราชวงศ์ของเซิง งอกทัญ คือกลุ่ม[[เขมรเสรี]]
== การต่อสู้ของเขมรอิสระ ==
การต่อสู้ในฐานะองค์กรหนึ่งเดียวของเขมรอิสระมีความสำคัญในฐานะขบวนการชาตินิยมและขบวนการคอมมิวนิสต์ นอกจากจะเป็นเพราะสมาชิกในขบวนการนี้ ต่อมาได้เข้าร่วมกับระบอบสังคมของพระ[[นโรดม สีหนุ]] และพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาในยุคต่อมาแล้ว ยังเป็นกลุ่มที่เน้นการสู้รบแบบกองโจร
 
ผู้นำเขมรอิสระที่นิยมฝ่ายขวาส่วนใหญ่จะเข้าร่วมกับกลุ่มของพระนโรดม สีหนุหลังจากได้รับเอกราช ดาบ ฌวนที่เคยมีอิทธิพลในเสียมราฐ ได้เข้าร่วมกับพระนโรดม สีหนุ และต่อมาถูกประหารชีวิตใน พ.ศ. 2502 หลังจากถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการวางแผนก่อรัฐประหาร<ref name=time>[http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,936994,00.html Sour Note], TIME Magazine, 16-03-59</ref> กลุ่มฝ่ายขวาที่ไม่เข้าร่วมกับพระนโรดม สีหนุคือกลุ่มเขมรเสรีของเซิง งอกทัญที่ต่อต้านราชวงศ์ ผู้นำฝ่ายทหารส่วนใหญ่ของเขมรอิสระเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาระหว่างสงครามกลางเมืองกัมพูชา และรวมเข้ากับ[[กัมพูชาประชาธิปไตย]]ของ[[เขมรแดง]]ใน พ.ศ. 2519
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}