ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองทัพชาติปลดปล่อยประชาพลรัฐเขมร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีการตอบรับ
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Cambodia anti-PRK border camps.png|thumb|240px|ค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนของ[[สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา]]; พ.ศ. 2522 - 2527 ค่ายของแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรแสดงด้วยสีดำ]]
'''กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร''' ([[ภาษาอังกฤษ]]:{{lang-en|Khmer People's National Liberation Armed Forces }}; KPNLAF) เป็นกองกำลังทางทหารของ[[แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร]] ซึ่งเป็นขบวนการทางการเมืองที่จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อต่อต้านรัฐบาลของ[[สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา]]ที่มี[[เวียดนาม]]หนุนหลัง<ref>[http://books.google.com/books?id=QKgraWbb7yoC&pg=PA726&lpg=PA726&dq=Khmer+People%27s+National+Liberation+Armed+Forces&source=web&ots=3VqXIh8bTV&sig=pIBmHLg-raV0pTJ7NqY1Dn_uZ6s&hl=en&sa=X&oi=book_result&resnum=8&ct=result Keat Gin Ooi, ''Southeast Asia: A Historical Encyclopedia,'' ABC-CLIO, 2004, ISBN 1576077705]</ref> หัวหน้ากลุ่มคือ [[ซอน ซาน]] ที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยระบอบสังคมของสีหนุ
 
==การจัดตั้ง==
กองทัพนี้ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 จากกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์หลายกลุ่มที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และเป็นกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มีเวียดนามหนุนหลัง ผู้นำของกองทัพคือ[[เดียน เดล]] ซึ่งเคยเป็นทหารสมัย[[สาธารณรัฐเขมร]] ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2522 มีทหารประมาณ 1,600 คน<ref>Corfield, p. 10.</ref>
 
การประกาศจัดตั้งมีขึ้นเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ที่ค่ายสุขสันต์ ในเขตภูเขากระวานของกัมพูชา โดยอ้างว่ามีทหารราว 2,000 คน<ref>Bekaert, J., "Kampuchea: The Year of the Nationalists?" ''Southeast Asian Affairs,'' Institute of Southeast Asian Studies, Singapore (1983), pp. 169.</ref> ซึ่งรวมมาจากกลุ่มต่างๆ 13 กลุ่ม บางส่วนเคยอยู่ฝ่ายสาธารณรัฐเขมรมาก่อน ผู้ควบคุมกองทัพคือ [[สัก สุตสคัน]] ซึ่งอยู่ฝ่ายสาธารณรัฐเขมรมาก่อน
 
เส้น 13 ⟶ 15:
 
==การโจมตีของเวียดนาม==
การสู้รบกับเวียดนามเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงฤดูแล้งระหว่าง พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 – มีนาคม พ.ศ. 2525 ซึ่งทำให้กองทัพอ่อนแอลงและทำให้ถอยร่นเข้าหาแนวชายแดนไทยมากขึ้น [[กองทัพแห่งชาติสีหนุ]]และกองทัพเขมรแดงได้รับผลกระทบจากการโจมตีของเวียดนามด้วย และทำให้จำนวนค่ายผู้อพยพลดลง รัฐบาลไทยและหน่วยงานระดับนานาชาติอื่นๆได้เพิ่มความเข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยค่ายผู้อพยพ และให้แยกค่ายผู้อพยพที่เป็นพลเรือนออกจากกำลังทหาร
 
หลังจากนั้นได้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้นำของแนวร่วมคือซอน ซาน และเดียน เดล แต่ได้ไกล่เกลี่ยให้ยุติลงได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2529
 
==การสลายตัว==
กองทัพสลายตัวไปในราวกลางปี พ.ศ. 2532 หลังจากเวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชาหมดเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2532<ref>Gottesman E. ''Cambodia after the Khmer Rouge: Inside the Politics of Nation Building.'' New Haven: Yale University Press, 2003, pp. 308-09.</ref> นายพลเดียน เดลประกาศสลายกองทัพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535<ref>"Cambodians Hand Over Weapons to the UN", ''New Straits Times'', Feb 23, 1992.</ref>
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ขบวนการทางการเมืองในประเทศกัมพูชา]]
[[หมวดหมู่:ขบวนการต่อต้านคอมมิวนิสต์]]
 
[[en:Khmer People's National Liberation Armed Forces]]