ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
บทความในวารสารวิทยาศาสตร์สามารถใช้ในงานวิจัยและระดับอุดมศึกษาได้ บางชั้นเรียนบางส่วนเน้นการตีความบทความคลาสสิก และชั้นเรียนสัมมนาอาจมีการนำเสนองานคลาสสิกหรือปัจจุบันของนักเรียนแต่ละคน ในกลุ่มวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือฝ่ายวิชาการ เป็นธรรมดาที่เนื้อหาของวารสารวิทยาศาสตร์ปัจจุบันจะนำไปอภิปรายในชมรมวารสาร
 
มาตรฐานซึ่งวารสารใช้พิจารณาการพิมพ์นั้นอาจแตกต่างกันได้อย่างกว้างขวาง บางวารสาร เช่น เนเจอร์ ไซแอนซ์ มีชื่อเสียงเรื่องการตีพิมพ์บทความซึ่งเป็นการค้นพบอันยิ่งใหญ่ที่เป็นส่วนสำคัญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ในหลายสาขา มีลำดับขั้นของวารสารวิทยาศาสตร์อย่างไม่เป็นทางการอยู่ด้วย วารสารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสาขาใดสาขาหนึ่งมีแนวโน้มเลือกเฟ้นที่สุดในแง่ของบทความที่จะเลือกมาตีพิมพ์ และจะมีตัววัดความถี่ที่ถูกนำไปอ้างอิง (impact factor) สูงที่สุดด้วย เป็นธรรมดาสำหรับวารสารที่จะมุ่งให้ความสนใจกับส่วนใดส่วนหนึ่งของโลก โดยเน้นเป็นพิเศษงานตีพิมพ์จากประเทศใดประเทศหนึ่งหรือภูมิภาคทางภูมิศาสตร์แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น ''African Invertebrates''
 
บทความมักเป็นเชิงเทคนิคอย่างสูง โดยแสดงงานวิจัยตามทฤษฎีและผลการทดลองล่าสุดในวิทยาศาสตร์สาขาที่วารสารนั้นรายงานอยู่ บทความนี้ผู้อ่านมักไม่เข้าใจยกเว้นนักวิจัยในสาขาและนักศึกษาขั้นสูงเท่านั้น ในบางวิชา ความซับซ้อนนี้เป็นธรรมชาติของเนื้อหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปกติ กฎอันเข้มงวดในการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์บังคับโดยบรรณาธิการ อย่างไรก็ดี กฎเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละวารสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างวารสารจากสำนักพิมพ์คนละสำนักกัน
 
[[หมวดหมู่:การสื่อสารเชิงเทคนิค]]