ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ '''วารสารวิทยาศาสตร์''' เป็นสิ่งพ...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ '''วารสารวิทยาศาสตร์''' เป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ตามกำหนดเวลา ซึ่งตั้งใจเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทาง[[วิทยาศาสตร์]] ซึ่งมักเป็นการรายงานการวิจัยใหม่ ปัจจุบันมีวารสารวิทยาศาสตร์หลายพันฉบับกำลังตีพิมพ์อยู่ และมีอีกมากที่เคยตีพิมพ์มาก่อนช่วงใดช่วงหนึ่งในอดีต วารสารส่วนใหญ่ศึกษาเฉพาะเรื่องอย่างสูง แม้วารสารเก่าแก่ที่สุดบางฉบับ เช่น [[เนเจอร์]] จะตีพิมพ์บทความและเอกสารวิทยาศาสตร์ในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ก็ตาม วารสารวิทยาศาสตร์มีบทความซึ่งผ่านการกลั่นกรอง ในความพยายามที่จะประกันว่าบทความเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวารสาร และความถูกต้องตามวิทยาศาสตร์ แม้วารสารวิทยาศาสตร์มองเผิน ๆ แล้วจะคล้ายกับนิตยสารมืออาชีพ แต่แท้จริงแล้วทั้งสองค่อนข้างแตกต่างกันทีเดียว วารสารวิทยาศาสตร์ฉบับต่าง ๆ จะมีอ่านโดยบังเอิญน้อยครั้งนัก เพราะคนนิยมนิตยสารมากกว่า การพิมพ์ผลงานวิจัยเป็นส่วนสำคัญของ[[ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์]] หากงานวิจัยกำลังอธิบายถึงการทดลองหรือการคำนวณ งานเหล่านี้จะต้องให้รายละเอียดเพียงพอที่นักวิจัยอิสระจะทำการทดลองหรือการคำนวณซ้ำเพื่อพิสูจน์ผล บทความวารสารแต่ละบทนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างถาวร
 
ประวัติศาสตร์วารสารวิทยาศาสตร์เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1665 เมื่อวารสารจูร์นาล เดส์ สกาวองส์ (Journal des sçavans) ของฝรั่งเศส และฟิโลโซฟิคอลทรานสแอกชันออฟเดอะรอยัลโซไซตี (Philosophical Transactions of the Royal Society) ของอังกฤษ เริ่มตีพิมพ์ผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ วารสารอีกมากกว่าพัน ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุสั้น ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น
 
บทความในวารสารวิทยาศาสตร์สามารถใช้ในงานวิจัยและระดับอุดมศึกษาได้ บางชั้นเรียนบางส่วนเน้นการตีความบทความคลาสสิก และชั้นเรียนสัมมนาอาจมีการนำเสนองานคลาสสิกหรือปัจจุบันของนักเรียนแต่ละคน ในกลุ่มวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือฝ่ายวิชาการ เป็นธรรมดาที่เนื้อหาของวารสารวิทยาศาสตร์ปัจจุบันจะนำไปอภิปรายในชมรมวารสาร
 
[[หมวดหมู่:การสื่อสารเชิงเทคนิค]]