ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฮอรอโดทัส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
HiW-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: mr:हिरोडोटस
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
[[ไฟล์:AGMA Hérodote.jpg|thumb|right|200px|รูปแกะสลักเฮอรอดอเทิสรอโดทัส]]
 
'''เฮอรอดอเทิสรอโดทัส''' (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นัก[[ประวัติศาสตร์]]ชาว[[กรีก]]ผู้บันทึกสงคราม[[เปอร์เซีย]] ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัซ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ[[เอเชียไมเนอร์]]ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮอรอดอเทิสรอโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และ[[ตะวันออกกลาง]] และยังได้เดินทางลงใต้ไป[[อียิปต์]]ถึงเมืองเอเลแฟนทีน ([[อัสวาน]]ในปัจจุบัน)
 
[[ไฟล์:Herodotus_world_map-en.svg|thumb|300px|แผนที่โบราณแสดงส่วนของโลกที่มีมนุษย์อยู่อาศัย ([[:en:Oikumene|Oikumene]]) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮอรอดอเทิสรอโดทัส]]
'''เฮอรอดอเทิสรอโดทัส''' เคยอาศัยอยู่ที่[[เอเธนส์|กรุงเอเธนส์]] หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับ[[โสโฟเคิลส์]] (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับ[[อาณานิคม]]กรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี พ.ศ. 100 และจากเมืองอาณานิคมธูรินี้เฮอรอดอเทิสรอโดทัสก็ได้เดินทางไป[[ซิชิลี]]และ[[อิตาลี]]ตอนล่าง จากนั้นไปถึง[[ลิเบีย]] [[ซีเรีย]] [[บาบิโลเนีย]] เมืองซูซาในอีแลม [[ลีเดีย]] ไพรเจียจนถึง[[ไบเซนทิอุม]] (Byzantium) และ[[มาซิโดเนีย]] โดยเดินทางทั้งทางบกและทางเรือ ทางภาคเหนือเฮอรอดอเทิสรอโดทัสได้ไปถึง[[ดานุบ]]และไซเธียไปจนถึง[[ทะเลดำ]] ซึ่งคงใช้เวลาเดินนานหลายปี ในระหว่างการเดินทางเขาได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ได้พบเห็นไว้เป็นจำนวนมากและได้นำมาใช้ในการพรรณาทางประวัติศาสตร์ที่ถือว่ายิ่งใหญ่ โดยได้บันทึกสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย และยังเป็นผู้จัดลำดับ[[เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก]]ขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งยังเป็นที่อ้างอิงกล่าวขานมาจนถึงปัจจุบัน [[ซิเซโร]]ขนานนามเฮโดโรตุสว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์”
 
== โครงสร้างและขอบเขตประวัติศาสตร์นิพนธ์ของเฮอรอดอเทิสรอโดทัส ==
เนื้อหาการบันทึกประวัติศาสตร์ของเฮอรอดอเทิสรอโดทัส เน้นเรื่องสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซียโดยแบ่งออกเป็น 9 เล่ม เล่ม 1-5 กล่าวถึงเบื้องหลังของสงคราม เล่ม 6-9 กล่าวถึงการทำสงครามโดยเฉพาะจุดตื่นเต้นที่กษัตริย์[[เซอร์เซส]] (Xerxes) รุกรานกรีก และชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของกรีกที่มีต่อกองทัพเปอร์เซียที่ใหญ่กว่าหลายเท่า เฮอรอดอเทิสรอโดทัสกล่าวด้วยความฉงนว่าเหตุใดเซอร์เซสจึงสามารถระดมชนเผ่าต่างๆ เข้ามาอยู่ในกองทัพ รวมทั้งการใช้ชาว[[อียิปต์]]และชาว[[โฟนีเซีย]]รวมทั้งชาวกรีกบางคนเข้ามาร่วมอยู่ในกองเรือรบได้ สิ่งที่ประทับใจเฮอรอดอเทิสรอโดทัสมากที่สุดคือการจัดทัพที่มีขนาดใหญ่มากได้อย่างมีเอกภาพของเซอร์เซส ผิดกับการจัดทัพของกรีกซึ่งรวมตัวจากหลายฝ่ายทางการเมืองและมีสายการบังคับบัญชาที่ขัดแย้งกันบ่อย แต่ในที่สุดกรีกสามารถเอาชนะเปอร์เซียได้
 
มีการถกเถียงกันมากในภายหลังถึงวิธีการวางโครงบันทึกประวัติศาสตร์สงครามของเฮอรอดอเทิสรอโดทัส รวมทั้งความคลาดเคลื่อนเรื่องเวลาและระยะทางการเดินทัพ การพรรณาที่มีการเสริมแต่งเกินจริงและการบันทึกรายละเอียดที่เขาพบเห็นสิ่งแปลกใหม่บ้าง เช่น ความเป็นอยู่ที่แปลกประหลาดที่เห็นผู้หญิงทำงานนอกบ้าน ผู้ชายทำงานบ้านเย็บปักถักร้อย การอ่านหนังสือที่อ่านจากขวาไปซ้าย วัวเดินถอยหลังขณะก้มกินหญ้าเพื่อไม่ให้เขาของมันปักลงในดิน รวมทั้งการพรรณาถึงป่า[[แอฟริกา]]ตอนใต้ที่ได้พบเห็นสัตว์นานาชนิด ทั้ง[[สิงโต]]และ[[ช้าง]] ในระหว่างการเดินทางเฮอรอดอเทิสรอโดทัสได้จดบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาพบเห็นไว้อย่างละเอียด จึงนับเป็นรายงานการสำรวจดินแดนชิ้นแรกของโลกได้ด้วย
 
อย่างไรก็ดี เฮอรอดอเทิสรอโดทัสได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลแรกของ[[ยุโรป]]ที่บันทึก[[ประวัติศาสตร์]]เป็น[[ร้อยแก้ว]] ในขณะที่คนอื่นในยุคนั้น เช่น [[โฮเมอร์]]บันทึกเรื่องราวเป็น[[กาพย์กลอน]] งานของเฮอรอดอเทิสรอโดทัสนอกจากเป็นการบันทึกอย่างมีศิลปะชั้นเยี่ยมแล้ว ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกบันทึกประวัติศาสตร์ ไม่เฉพาะแต่ประวัติศาสตร์ของกรีกแต่รวมถึงประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันตกและอียิปต์อีกด้วย