ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ทดลองเขียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pattaramart (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
M-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: กำลังจะเก็บกวาดหน้านี้โดยอัตโนมัติ
บรรทัด 1:
{{ทดลองเขียน}}<!-- กรุณาอย่าแก้ไขบรรทัดนี้ ขอบคุณครับ/ค่ะ -- Please leave this line as they are. Thank you! -->
 
ผึ้งบำบัด...ทางเลือกใหม่ของการรักษาอาการเจ็บป่วย
 
ผึ้งบำบัด (Apitherapy) หมายถึง การบำบัด บรรเทา รักษาโรค และอาการต่างๆ โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง อันได้แก่ น้ำผึ้ง เกสรผึ้ง นมผึ้ง พรอพอริส ไขผึ้ง และพิษผึ้ง การรักษาโดยวิธีการผึ้งบำบัด มีมายาวนานกว่า 3,000 ปี และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งในประเทศแถบยุโรป อเมริกา และเอเชีย โดยมีการจัดตั้งโรงพยาบาลและคลินิกเฉพาะทาง (ผึ้งบำบัด) ขึ้นในหลายประเทศ เช่น ประเทศโรมาเนีย
ประเทศจีน เป็นต้น นอกจากนี้ ในหลายประเทศยังได้ดำเนินการผึ้งบำบัดอย่างเป็นรูปธรรม โดยการจัดตั้งสมาคมผึ้งบำบัดนานาชาติ อย่างเป็นทางการ เช่น
- ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้งสมาคม The American Apitherapy Society ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐ New Jersey ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วม 1,600 ราย และมีประเทศที่เข้าร่วมกว่า 40 ประเทศ
- ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการจัดตั้งสมาคมด้านผึ้งบำบัดหลายแห่ง ได้แก่ Nippon Apitherapy Society , The Institute of Honeybee Science และ Japanese Bee Acupucture Association
- ประเทศจีน Prof. Fang Zhu ได้ก่อตั้ง Kunming Westhill Life-cultivation Apitherapy Health – care Institute และก่อตั้งโรงพยาบาล Apitherapy ที่เมืองเจียงซู ในปัจจุบันมีคลินิกเอกชนหลายแห่งได้เปิดทำการผึ้งบำบัดอย่างแพร่หลายในประเทศจีน นอกจากนี้ยังเปิดอบรมการรักษาโดยใช้ผึ้งบำบัดให้แก่ แพทย์ และผู้สนใจทั่วไป
- สหภาพยุโรปได้ก่อตั้งสมาคม European Association for Apitherapy ซึ่งมีประเทศสมาชิกจำนวน 45 ประเทศ
สำหรับสถานการณ์ผึ้งบำบัดในประเทศไทยนั้น มีการนำผลิตภัณฑ์จากผึ้งมาใช้มาบริโภคเป็นอาหาร หรือ บริโภคร่วมกับสมุนไพรตามภูมิปัญญาชาวบ้านมาเป็นเวลานาน แต่สำหรับการใช้พิษผึ้งในประเทศไทยนั้น พบว่ายังไม่แพร่หลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเกิดความเข้าใจผิดว่าพิษผึ้งสามารถทำอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต อย่างไรก็ตามกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ที่มีบทบาทภารกิจในด้านการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี 2523 โดยมีกลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (ผึ้ง) จำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่(ผึ้ง) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดพิษณุโลก(ผึ้ง) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดขอนแก่น(ผึ้ง) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ผึ้ง) และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดชุมพร(ผึ้ง) ทำหน้าที่ในการศึกษา วิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ และส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ
จากการสะสมองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้ง และความเชื่อมั่นในการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์จากผึ้งโดยเฉพาะพิษผึ้งว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหากใช้อย่างถูกวิธี ทำให้มีบุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตรหลายท่านได้ใช้พิษผึ้งในการบำบัดโรคต่างๆ ให้แก่ตนเอง ครอบครัวและบุคคลทั่วไปมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี และเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าว และเป็นการให้บริการแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป จึงได้เปิดให้บริการผึ้งบำบัดอย่างเป็นทางการ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดชุมพร (ผึ้ง) โดยมีนายประเสริฐ นพคุณขจร ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบำบัดโดยใช้ผึ้ง และผู้เชี่ยวชาญเรื่องผึ้งผู้ทำการรักษาผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ด้วยการฝังเหล็กในผึ้ง เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจากสมาคมผึ้งบำบัดนานาชาติ (IAHPS& IABPS, in Kunming) ณ ประเทศจีน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) ได้เปิดให้บริการประชาชน เพื่อทำการรักษาผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ด้วยการฝังเหล็กในผึ้งช่วยบำบัดโรค ทำให้ขณะนี้มีผู้ป่วยเดินทางมาที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร(ผึ้ง) เป็นจำนวนมากเพื่อทำการรักษา เริ่มต้นก่อนทำการรักษาจะทำการวินิจฉัยโรคและซักถามประวัติบันทึกลงในสมุดประวัติผู้ป่วยทุกครั้ง มีคนไข้มารักษาเฉลี่ยวันละ 4-5 ราย ส่วนค่ารักษาไม่ได้ทำการเก็บแต่อย่างไร
- สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีกลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ ได้เปิดให้บริการผึ้งบำบัดโรคและอาการต่างๆ โดยคัดกรองเฉพาะอาการที่มักจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ปวดบ่า ปวดหัวไหล่ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว และไมเกรน ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคที่สามารถเห็นผลในการรักษาที่ชัดเจน ผู้เข้ารับบริการจะมีอาการดีขึ้นเกือบทันทีหลังจากการต่อย สามารถลดการรับประทานยาแก้ปวดได้ พิษผึ้ง จึงเปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้าน โดยเปิดให้บริการทุกวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 13.00 น. และบริการฟรีแก่บุคคลทั่วไป นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้สนับสนุนให้บริการสาธิตการใช้ผึ้งบำบัดในงานนิทรรศการต่างๆ ปัจจุบันมีผู้เข้ารับบริการผึ้งบำบัดทั้งสิ้นจำนวน 1,265 ราย และมีอาการดีขึ้นร้อยละ 84 และขณะนี้กำลังจะจัดทำบันทึกความเข้าใจ MOU ทางวิชาการด้านผึ้งบำบัด ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อร่วมกันพัฒนางานด้านผึ้งบำบัดของประเทศไทยให้แพร่หลาย อันจะเป็นทางเลือกใหม่ของการบำบัดรักษาให้กับคนไทยต่อไป