ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โซเดียมคาร์บอเนต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 203.114.118.60 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Thijs!bot
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 97:
'''โซเดียมคาร์บอเนต''' หรือ '''โซดา แอช''' สูตรเคมี คือ [[โซเดียม|Na]]<sub>2</sub>[[คาร์บอร์เนต|CO<sub>3</sub>]] เป็นสารประกอบเกลือของ[[กรดคาร์บอนิก]] มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของ[[พืช]]หลายชนิดและ[[สาหร่ายทะเล]] (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น [[แก้ว]] [[เซรามิคส์]] [[กระดาษ]] [[ผงซักฟอก]] [[สบู่]] [[ผงฟูทำขนมปัง]] การแก้ไขน้ำกระด้าง
 
โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการขุดแร่ที่เรียกว่า '''เน ทรอนเนทรอน''' (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต (หรือ โซดา แอช) และ[[โซเดียมไบคาร์บอเนต]] (เบกกิ้ง โซดา) และมี[[โซเดียมคลอไรด์]] (เกลือแกง) และ[[โซเดียมซัลเฟต]] ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้น[[ทะเลสาบ]]ที่แห้ง ใกล้[[แม่น้ำไนล์]] และนำมาใช้ในการทำ[[มัมมี่]] ใน ปี [[พ.ศ. 2481]] (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์ [[มลรัฐไวโอมิง]] [[สหรัฐอเมริกา]] ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี
 
ในประเทศอื่น ๆ การผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกรรมวิธีทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ (Solvay process) ซึ่งค้นพบโดย เออร์เนส โซลเวย์ นักอุตสาหกรรมเคมีชาวเบลเยี่ยม ในปี [[พ.ศ. 2404]] (ค.ศ. 1861) โดยเปลี่ยน โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) เป็น โซเดียมคาร์บอเนต โดยใช้ [[แอมโมเนีย]] และ [[แคลเซียมคาร์บอเนต]] (หินปูน) และสารที่เหลือจากกระบวนการมีเพียง แคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งไม่เป็นพิษแม้ว่าอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ และ แอมโมเนียนั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ทำให้กระบวนการโซลเวย์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ากรรมวิธีแบบเดิมมาก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตอย่างแพร่หลาย ในคริสต์ศตวรรษ 1900 โซเดียมคาร์บอเนต 90% ที่ผลิต ใช้วิธีการนี้ และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน
 
เดิมนั้นการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกระบวนเคมีที่เรียกว่า กระบวนการเลอบลังก์ (Leblanc process) ซึ่งค้นพบโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ [[นิโคลาส เลอบลังก์]] ในปี [[พ.ศ. 2334]] (ค.ศ. 1791) โดยใช้ โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กรดซัลฟูริคซัลฟูริก (กรดกำมะถัน) แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และถ่าน แต่กรดไฮโดรคลอริค ([[กรดเกลือ]]) ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และแคลเซียมซัลไฟด์ ที่เหลือจากกระบวนการทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากโซเดียมคาร์บอเนตเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรมหลายชนิด ทำให้มีการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตโดยกรรมวิธีนี้ และเป็นกรรมวิธีหลักมาจนถึงช่วงปี [[พ.ศ. 2423]] - [[พ.ศ. 2433|2433]] (ช่วง ค.ศ. 1880 - 1890) หลังการค้นพบกระบวนการโซลเวย์ กว่า 20 ปี โรงงานผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้กระบวนการ เลอบรังค์แห่งสุดท้ายปิดลงในช่วงปี [[พ.ศ. 2463]] (ค.ศ. 1920)
 
== ข้อระวัง ==
*การกลืนหรือกิน อาจทำให้เกิดความระคายคอมพิวเตอร์คอ
*การหายใจ สูดดม ก่อให้เกิดอันตราย ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับเป็นเวลานาน
*การสัมผัสทางผิวหนัง ก่อให้เกิดความระคายเคือง อาจเกิดอาการแสบไหม้