ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเด่น (พันธุศาสตร์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[File:Autosomal Dominant Pedigree Chart2.svg|thumb|แผนภาพพงสาวลีแสดงการถ่ายทอดลักษณะซึ่งเป็นลักษณะเด่น]]
'''ความเด่น''' ({{lang-en|dominance}}) เป็นความสัมพันธ์ทาง[[พันธุศาสตร์]]ระหว่างรูปแบบสองรูปแบบ ([[อัลลีล]]) สองรูปแบบของ[[ยีน]]หนึ่งๆ ซึ่งอัลลีลแบบหนึ่งจะบดบังการแสดงออกของอีกอัลลีลหนึ่ง ส่งผลต่อการแสดงเป็นลักษณะปรากฏ ในกรณีที่ไม่ซับซ้อนซึ่งยีนที่สนใจมีอัลลีลที่เป็นไปได้เพียง 2 แบบ คือ ''A'' กับ ''B'' จะสามารถเกิดการผสมกันของอัลลีลเป็นลักษณะทางพันธุกรรมหรือจีโนไทป์ได้ 3 แบบ คือ ''AA'', ''BB'' และ ''AB'' ซึ่งหากพบว่าคนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเป็น ''AB'' ([[เฮเทอโรไซกัส]]) มีลักษณะปรากฎหรือฟีโนไทป์เหมือนกันกับคนที่เป็น ''AA'' ([[โฮโมไซกัส]]) และคนที่เป็น ''BB'' มีลักษณะปรากฏที่แตกต่างออกไป จะถือว่า อัลลีล ''A'' มีลักษณะเด่น (''dominate'' หรือ ''be dominant to'') ต่ออัลลีล ''B'' และอัลลีล ''B'' ถือว่ามีลักษณะด้อย (''be recessive to'') ต่ออัลลีล ''A''
 
หลักการเบื้องต้นกำหนดให้อัลลีลที่เป็นลักษณะเด่นเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ และอัลลีลที่เป็นลักษณะด้อยเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก ดังนั้นในกรณีนี้ก็จะต้องใช้ ''a'' แทน ''B'' ทำให้ ''A'' มีลักษณะเด่นต่อ ''a'' (และ ''a'' มีลักษณะด้อยต่อ ''A'') และลักษณะพันธุกรรมที่เป็น ''AA'' กับ ''Aa'' จะทำให้มีลักษณะปรากฏที่เหมือนกัน ส่วน ''aa'' จะทำให้มีลักษณะปรากฏที่แตกต่างออกไป