ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อีสุกอีใส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 16:
 
== การรักษา==
 
เนื่องจากเป็นโรคที่หายเองได้ โดยอาจจะมีไข้อยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดและค่อยๆหายใน 1-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจึงควรพักผ่อน และดื่มน้ำมากๆ ถ้ามีไข้สูงใช้ยา [[พาราเซตามอล]] เพื่อลดไข้ได้ ไม่ควรใช้ [[แอสไพริน]] เพราะอาจทำให้เกิดอาการทาง[[สมอง]]และ[[ตับ]] ทำให้ถึงตายได้ ควรอาบน้ำและใช้สบู่ฟอกผิวหนังให้สะอาด ควรตัดเล็บให้สั้นและหลีกเลี่ยงการแกะเกา เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้ ในรายที่คันมากๆ อาจให้[[ยาแก้คัน]] เช่น [[คลอเฟนิรามีน]] ช่วยลดอาการคันได้ ในปัจจุบัน มียาที่ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัส แต่ต้องใช้ในขนาดสูงและราคาแพงมาก นอกจากนี้จะต้องเริ่มใช้ภายในวันแรก มิฉะนั้นอาจไม่ได้ผล หรือไม่ได้ผลดี
 
===การดูแลรักษา โรคอีสุกอีใส===
 
#การดูแลทั่วไป โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรง โดยปกติแล้วจะเป็น เองหายเอง อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างโดยเฉพาะในผู้ใหญ่ ซึ่งอาจจะมีอาการรุนแรงกว่า เช่น เป็นไข้หรือมีอาการ ทางผิวหนัง เช่น แผลมีการติดเชื้อหรือมีอาการคันรุนแรง หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น อาการปอดบวมจาก เชื้อไวรัส ในกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงนี้ การให้ยาบางชนิด เช่น ยาบรรเทาอาการคัน การใช้น้ำสะอาดหรือ น้ำเกลือประคบ จะช่วยทำให้รู้สึกสบายตัวขึ้น ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้จำพวกแอสไพริน เพราะอาจ จะทำให้มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมาได้
#การรักษาแบบเจาะจง คือการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใส ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการที่สามารถให้ยาได้ทันและมีปริมาณพอเพียง ในช่วงนี้สามารถทำให้การตก สะเก็ดของแผล ระยะเวลาของโรคสั้นลง ซึ่งถ้ามองในแง่ของการป้องกันการเกิดแผลเป็นในผู้ใหญ่ ก็น่าจะเป็น ไปได้เพราะในเมื่อ แผลตกสะเก็ดเร็วขึ้น หายเร็วขึ้นโอกาสการเกิดแผลติดเชื้อหรือแผลที่ลึกมากก็น้อยลง ดังนั้น แผลเป็นแบบหลุมก็ควรน้อยลงด้วย อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มนี้ก็มีราคาแพงมาก การพิจารณาเลือกใช้ยากลุ่มนี้จึง ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์และของผู้ป่วยร่วมกัน ตัวผู้ป่วยเองก็ควรได้รับข้อมูลที่ตรงไปตรงมาว่า ในสมัยก่อนที่ไม่ มียาตัวนี้ ก็ใช่ว่าคนที่เป็นโรคอีสุกอีใสแล้วจะต้องเหลือรอยแผลเป็นทิ้งไว้ทุกราย และในทางตรงกันข้ามคนที่กินยา ตัวนี้แล้วใช่ว่าจะไม่มีร่องรอยของแผลเป็นเหลือไว้เลยทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงขึ้นกับสิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นคือ การดูและผิวในระยะ ที่มีผื่นอย่างถูกต้อง เช่น ทำความสะอาดแผลให้ปราศจากสิ่งสกปรกหรือป้องกันการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียมา ถึงจุดนี้เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะพอมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอีสุกอีใสได้มากยิ่งขึ้น
 
===วัคซีน===
เส้น 27 ⟶ 33:
วัคซีน VARILRIX ใช้ฉีดครั้งละ 0.5 ml. เข้าใต้ผิวหนัง [SUBCUTANEOUS] เท่านั้น ผู้รับ การฉีดวัคซีน จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการสร้างภูมิต้านทานต่อโรค ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน พบว่าอาจมีไข้หรืออาการร้อนแดงตรงตำแหน่งที่ฉีดยา (5 %) อาจมีผื่นคล้ายผื่นอีสุกอีใสเกิดขึ้น แต่ไม่รุนแรง (3-4 %) แต่ส่วนใหญ่ของผู้รับวัคซีนไม่พบความผิดปกติใดๆ วัคซีนอีสุกอีใสนี้ห้ามฉีดในหญิงมีครรภ์ สำหรับสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ฉีดวัคซีนนี้ ควรหลีกเลี่ยงการ ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือน หลังจากฉีดยา
 
เนื่องจากวัคซีนอีสุกอีใสในปัจจุบันยังมีราคาค่อนข้างแพง สำหรับครอบครัวที่เศรษฐกิจดีอาจ ให้บุตรหลานรับการฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 12 เดือน แต่ครอบครัวที่ยังไม่พร้อมนัก หวังว่าข้อมูลข้างต้น คงพอจะช่วยในการตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่ เมื่อไร อย่างไรไม่มากก็น้อย
 
== เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอีสุกอีใส==