ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
หลอดไฟฟ้าแบบอื่นค่อย ๆ แทนที่การใช้งานของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาหลายด้าน อาทิ หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ), หลอดฟลูออเรสเซนต์แคโทดเย็น, หลอดอัดก๊าซความดันสูง และ[[ไดโอดเปล่งแสง]] เทคโนโลยีที่ใหม่กว่าเหล่านี้พัฒนาอัตราส่วนแสงที่มองเห็นได้ต่อการผลิตความร้อน เขตอำนาจบางแห่ง เช่น [[สหภาพยุโรป]] อยู่ในระหว่างกระบวนการเลิกใช้หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและหันไปใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากกว่า
 
== ประวัติศาสตร์ ==
ในการตอบคำถามว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา นักประวัติศาสตร์โรเบิร์ต ฟรีเดล และพอล อิสราเอล ทำรายการนักประดิษฐ์หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา 22 คน ก่อนโจเซฟ สวอน และ[[โทมัส เอดิสัน]]<ref>Friedel, Robert, and Paul Israel. 1986. ''Edison's electric light: biography of an invention''. New Brunswick, New Jersey: Rutgers University Press. pages 115–117</ref> พวกเขาสรุปว่ารุ่นของเอดิสันนั้นล้ำหน้าของคนอื่น เพราะการประกอบกันของสามปัจจัย ได้แก่ (1) วัสดุเปล่งแสงที่มีประสิทธิภาพ, (2) สุญญากาศที่สูงกว่าที่คนอื่น ๆ สามารถทำสำเร็จ และ (3) [[ความต้านทานไฟฟ้า]]ที่สูงซึ่งทำให้การแจกจ่ายพลังงานจากแหล่งกลางทำงานได้อย่างประหยัด
 
ค.ศ. 1802 ฮัมฟรี เดวี ได้ประดิษฐ์สิ่งที่ในขณะนั้นเป็นแบตเตอรีไฟฟ้าที่ทรงพลังที่สุดในโลกที่[[ราชสมาคม]]แห่งบริเตนใหญ่ ซึ่งเขาสร้างหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาโดยส่งกระแสไฟฟ้าผ่าน[[แพลตินัม]]แถบบาง ซึ่งโลหะชนิดนี้ถูกเลือกเพราะมีจุดหลอมเหลวสูงอย่างยิ่ง แต่หลอดไส้นี้ไม่สว่างพอหรือทำงานได้นานพอที่จะนำไปใช้ได้จริง แต่ก็มีมาก่อนเบื้องหลังความพยายามการทดลองนับครั้งไม่ถ้วนอีก 75 ปีต่อมา<ref name=Davis>Davis, L.J. "Fleet Fire." Arcade Publishing, New York, 2003. ISBN 1-55970-655-4</ref>
 
== อ้างอิง ==