ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Taxobox | name = | image = Crotalus cerastes mesquite springs CA.JPG | image_caption = [[งูไซด์วินเดอร์|งูหางกระดิ่...
 
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 54:
มีลักษณะโดยรวม คือ มีแอ่งรับรู้คลื่นอินฟาเรดระหว่างช่องเปิดจมูกกับตา กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกโคเอนัลชิ้นเล็ก กระดูกพรีฟรอนทัลไม่มีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30 [[เซนติเมตร]]จนถึงร่วม 3.7 [[เมตร]] กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ของโลก ตั้งแต่[[ยุโรป]]จนถึง[[ทวีปเอเชีย]] และ[[ทวีปอเมริกาเหนือ]]จนถึง[[อเมริกากลาง]]และ[[อเมริกาใต้]] ในหลากหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่[[ทะเลทราย]]ที่ร้อนและแห้งแล้ง ไปจนถึงที่ราบสูงหรือที่ราบต่ำใน[[ป่าดิบ]]หรือบน[[ภูเขา]]สูงที่[[ชุ่มชื้น]] โดยมากจะอาศัยและหากินบนพื้นดิน แต่บางชนิดก็ดำรงชีวิตอยู่บน[[ต้นไม้]]หรือใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ
 
หากินในเวลา[[กลางคืน]] โดยใช้แอ่งรับรู้คลื่นอินฟาเรดตรงระหว่างตากับจมูกจับ[[ความร้อน]]ที่ออกจากร่างกายของเหยื่อ ซึ่งได้แก่ [[นก]]หรือ[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]ขนาดเล็ก เช่น [[สัตว์ฟันแทะ]]ชนิดต่าง ๆ ในชนิดที่ดำรงชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำก็จับ[[ปลา]]หรือ[[กบ]]กินเป็นอาหาร แพร่พันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว ยกเว้นสกุล ''[[Calloselasma|งูกะปะ|Calloselasma]]'' หรือ งูกะปะ, ''[[Lachesis]]'' และบางชนิดของสกุล ''[[Trimeresurus]]'' ที่วางไข่
 
มีทั้งหมด 18 [[genus|สกุล]] ประมาณ 155 ชนิด โดยสกุลที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ งูหางกระดิ่งที่อยู่ในสกุล ''[[Crotalus]]'' และ''[[Sistrurus]]'' ที่มีจุดเด่น คือ ปลายหางเป็นปล้องของสารประกอบเคอราติน เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนของผิวหนังลำตัวที่ยังหลงเหลืออยู่จากการลอกคราบแต่ละครั้ง เมื่อสั่นหางส่วนนี้แล้วจะทำให้เกิดเสียงจากการปล้องแต่ละปล้องนั้นเสียดสีกระทบกัน เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนและข่มขู่สัตว์ที่ใหญ่กว่าที่คุกคาม