ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PandaReactor (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนไปรุ่นเดิม เนื้อหาใหม่เป็นการเผยแพร่แนวคิดใหม่ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลค้นคว้าต้นฉบับ
บรรทัด 1:
'''รัฐประหาร''' ({{lang-fr|coup d'état}} ''กูป์เดตา'') ในสังคมไทยมักใช้ปะปน และสับสนกับคำว่า ''' ยึดอำนาจ''' หรือ '''[[การปฏิวัติ]]''' หรือ '''[[ปฏิวัติรัฐประหาร]]'''<ref>http://www.democrazy.in.th/forum/index.php?topic=654.0 ตัวอย่างของความสับสนของคำว่ารัฐประหาร ปฏิวัติ และปฏิวัติรัฐประหาร</ref> ในวิชา[[การพัฒนาการเมือง]]ซึ่งเป็นสาขาวิชาทาง[[รัฐศาสตร์]] จะถือว่าการรัฐประหารไม่ใช่วิธีทางของ[[วัฒนธรรมทางการเมือง]]แบบ[[ประชาธิปไตย]] และถือเป็นความผุพังทางการเมือง (political decay) แบบหนึ่ง
 
รัฐประหารหมายถึงการล้มล้าง[[รัฐบาล]]ที่บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือรัฐทั้งรัฐ และมิจำเป็นต้องมีการใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่งและประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที เยี่ยงนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการก่อรัฐประหาร
 
ความพยายามพยามในการก่อรัฐประหารที่ไม่ประสบความสำเร็จมักถูกดำเนินคดีในข้อหา[[กบฎ]]
 
== นิยาม ==
บรรทัด 14:
== รัฐประหารในประเทศไทย ==
{{มุมมองสากล}}
คณะรัฐประหารในประเทศไทยที่ก่อการสำเร็จมักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า "คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวก อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่าการ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" ([[ภาษาฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]: revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยเพียงครั้งเดียวคือเมื่อ [[การปฏิวัติสยาม|24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]]
 
แต่ความเห็นอีกด้านหนึ่งเสนอว่า การอ้างว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ว่าเป็นการปฎิวัติ หรือ อภิวัฒน์ นั้น เป็นการเลือกใช้คำโดยบิดเบือน เพื่ออ้างความชอบธรรม และลบภาพไม่ดีของ การใช้กำลังของคณะราษฎร์ในการยึดอำนาจรัฐ ซึ่งน่าสังเกตุว่าเป็นวิธีการกล่าวอ้างของกลุ่มที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์
 
จากข้อเท็จจริง เนื่อง การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น เป็นการล้มล้างรัฐบาลใน [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[รัชกาลที่ ๗]] ซึ่งเป็นรัฐบาลที่บริหารปกครองรัฐ[[สยาม]]ในสมัยนั้น ตรงตามนิยามของคำว่า '''[[รัฐประหาร]]''' จึงเป็นการรัฐประหาร และขณะเดียวกันก็เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครอง ตามนิยามของคำว่า '''[[ปฏิวัติ]]''' ในคราวเีดียวกัน จึงสมควรเรียกว่า '''[[ปฏิวัติรัฐประหาร]]'''
 
 
ผู้ที่ก่อการรัฐประหารได้สำเร็จในประเทศไทยมาจากฝ่าย[[ทหารบก]]ทั้งสิ้น ส่วน[[ทหารเรือ]]ได้มีความพยายามในการก่อรัฐประหารแล้วแต่ไม่สำเร็จเป็นกรณี[[กบฏวังหลวง]] ใน พ.ศ. 2492 และ [[กบฎแมนฮัตตัน]]ใน พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นทหารเรือก็เสียอำนาจในแวดวงการเมืองไทยไป