ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอกอัครราชทูต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับ ออท.
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม''' ({{lang-en|ambassador extraordinary and plenipotentiary}}) หรือมักเรียกกันโดยทั่วไปว่า '''เอกอัครราชทูต''' ({{lang-en|ambassador}}) เป็นตำแหน่ง[[นักการทูต]]ในระดับสูงสุดที่ทำหน้าเป็นตัวแทนของประเทศของตน โดยประจำการอยู่ในสถานเอกอัครราชทูต ณ [[เมืองหลวง]]ของ[[ประเทศ]]ที่ประเทศของตนมีความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย ในทางประวัติศาสตร์การทูตสากลในสมัยก่อนหน้านี้ ตำแหน่ง "เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม" มักมีนัยมุ่งหมายถึงว่า บุคคลผู้นั้นเป็นตัวแทนองค์อธิปัตย์หรือประมุขของรัฐ (ในสมัยก่อนก็คือ พระมหากษัตริย์ของตน) ไปประจำอยู่ในราชสำนักของประมุขรัฐ (คือกษัตริย์) ต่างประเทศ แม้จนกระทั่งในสมัยปัจจุบันนี้ การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของประเทศหนึ่งไปประจำในอีกประเทศหนึ่ง ก็ยังกระทำโดยการที่ประมุขของรัฐนั้น (ซึ่งอาจเป็นประธานาธิบดีหรือกษัตริย์ก็แล้วแต่ระบอบการปกครองของรัฐนั้นๆ) มีสาส์นตราตั้ง หรือพระราชสาส์นตราตั้ง (Credentials) ไปยังประมุขของรัฐผู้รับ แต่งตั้งให้บุคคลดังกล่าวเป็นเอกอัคคราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน โดยการถวายคำแนะนำของรัฐบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลเป็นเอกอัครราชทูต และจะทรงลงพระปรมาภิไทยปรมาภิไธยในพระราชสาส์นตราตั้งที่จะมีไปถึงประมุขของรัฐต่างประเทศที่ทูตผู้นั้นจะไปประจำการ
 
นักการทูตระดับเอกอัครราชทูต ที่มิใช่ "เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม" ก็มีได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น เช่น เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง ในกระทรวงการต่างประเทศของไทย เทียบได้กับ Ambassador-at-large ในภาษาอังกฤษ ในระบบของไทยเป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ ๑๐ (ในสมัยก่อน) หรือนักบริหารการทูตชำนาญการพิเศษ (ในสมัยนี้) เทียบเท่ากับอธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ทำหน้าที่เฉพาะด้านตามที่ได้รับมอบหมายแต่มิได้ประจำทำหน้าที่ตัวแทนประเทศไทยหรือตัวแทนองค์พระประมุขของไทยในต่างประเทศ จึงมิได้เป็น "เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม"