ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาฉลามพยาบาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
| image_caption = ขณะที่ว่ายขึ้นมาบนผิวน้ำ
| image2 =Nebrius ferrugineus sentosa2.jpg
| image2_caption = ในเวลา[[กลางวัน]]จะนอนอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำ
| regnum = [[Animal]]ia
| phylum = [[Chordate|Chordata]]
บรรทัด 20:
| range_map = Nebrius ferrugineus distmap.png
| range_map_width = 240px
| range_map_caption = [[แผนที่]]แสดงการกระจายพันธุ์
| binomial = '''''Nebrius ferrugineus'''''
| binomial_authority = ([[Rene Primevere Lesson|Lesson]], [[ค.ศ. 1831|1831]])
บรรทัด 32:
*''Scymnus porosus'' <small>Ehrenberg, 1871</small>
}}
{{commonscommonscat|Category:Nebrius ferrugineus}}
{{ความหมายอื่น||อีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้|Ginglymostoma cirratum}}
'''ปลาฉลามพยาบาล''' หรือ '''ปลาฉลามขี้เซา''' ({{lang-en|Tawny nurse shark, Nurse shark, Sleepy shark, Giant sleepy shark}}) เป็น[[ปลาฉลาม]][[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่ง มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Nebrius ferrugineus'' อยู่ในวงศ์ [[Ginglymostomatidae]] เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ใน[[genus|สกุล]] ''Nebrius''<ref>[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=159979 จาก ITIS.gov {{en}}]</ref>
 
จัดเป็นปลาฉลามในอันดับ [[Orectolobiformes]] หรือปลาฉลามหน้าดินขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีหัวแบน [[ตา]]มีขนาดเล็ก ครีบหลังทั้งสองอยู่ใกล้กัน ผิวลำตัวมี[[สีน้ำตาล]]ปน[[เทา]] หรืออาจมีสีที่เข้มกว่านี้ และอาจมี[[จุด]]กระ[[สีดำ]]เล็ก ๆ กระจายไปทั่ว ซึ่งในครั้งหนึ่งเคยสร้างความสับสนให้แก่แวดวง[[วิชาการ]]ว่ามี 2 ชนิดหรือไม่
 
มี[[ขากรรไกร]]ที่แข็งแรง ในปากมี[[ฟัน]]ที่แบนและงุ้มเข้าภายใน ใช้สำหรับงับ[[อาหาร]]ซึ่งได้แก่ [[ปลา]]ขนาดเล็กกว่าตามหน้าดินและ[[กุ้ง-กั้ง-ปู|สัตว์มีกระดอง]]และ[[มอลลัสคา]]ต่าง ๆ รวมถึง[[หอยเม่น]]ให้อยู่และกัดให้แตก โดยใช้อวัยวะที่คล้ายหนวดเป็นเครื่องนำทางและเป็น[[ประสาทสัมผัส]] จะใช้วิธีการกินด้วยการดูดเข้าปาก
 
เป็นปลาที่อาศัยและหากินตามพื้นน้ำในความลึกไม่เกิน 70 [[เมตร]] ใช้เวลาหากินในเวลา[[กลางคืน]] และนอนหลับตามโพรงถ้ำหรือกอง[[หิน]]ในเวลา[[กลางวัน]] เป็นปลาที่มักจะอยู่นิ่ง ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งบางครั้งอาจพบรวมตัวกันได้นับสิบตัว<ref>[http://past.talaythai.com/issue/shark/shark02.html ฉลามขี้เซา....นักล่าแห่งรัตติกาล]</ref>
 
จัดเป็นปลาหน้าดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้แถบ[[อินโด-แปซิฟิก]] เนื่องจากมีความยาวได้ถึงเกือบ 4 [[เมตร]] เป็นปลาที่ไม่ทำอันตราย[[มนุษย์]] จึงเป็นที่ชื่นชอบของนักดำน้ำที่จะ[[การถ่ายรูป|ถ่ายรูป]]เช่นเดียวกับ [[ปลาฉลามเสือดาว]] (''Stegostoma fasciatum'') ใน[[น่านน้ำไทย]]จะพบได้มากที่ฝั่ง[[ทะเลอันดามัน]]<ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000020452 ดำน้ำกับฝูงกระเบนปีศาจ / วินิจ รังผึ้ง จาก[[ผู้จัดการออนไลน์]]]</ref>
 
เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยออกเป็น[[ไข่]] ซึ่งตัวอ่อนจะพัฒนาอยู่ในไข่ ออกลูกครั้งละประมาณ 2 ตัว ไม่เกิน 4 ตัว เนื่องจากมี 2 [[มดลูก]] โดยตัวอ่อนจะไม่ได้รับอาหารผ่านทาง[[รก]] แต่จะได้รับอาหารจาก[[ถุงไข่แดง]]แทน ระยะเวลาในการเจริญเติบโตจนฟักเป็นประมาณ 6 เดือน ซึ่งเมื่อคลอดออกมาแล้ว ปลาฉลามพยาบาลจะกัดกินกันเองจนเหลืออยู่เพียงตัวเดียวในมดลูกของแม่ เมื่อแรกเกิดมีความยาวประมาณ 30 [[เซนติเมตร]] และมีจุดกระดำกระจายไปทั่ว
 
ใน[[พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ]]ในประเทศไทยและนับเป็นครั้งแรกของโลกด้วยเมื่อกลางปี เมื่อพ.ศ. 2553 มีปลาฉลามพยาบาลตกลูกในที่เลี้ยง (ไม่ใช่แหล่งน้ำธรรมชาติ) ที่[[สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ สงขลา]] [[จังหวัดสงขลา]] เมื่อกลางปี [[พ.ศ. 2553]]ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและโลก<ref>[http://www.thaipost.net/x-cite/160810/26212 ‘ฉลามขี้เซา’ตกลูกในอะควาเรียม จาก[[ไทยโพสต์]]]</ref> และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งอื่น ๆ ที่มีปลาฉลามพยาบาลเลี้ยงนั้น ได้แก่ [[สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] และภายใน[[สวนสัตว์ดุสิต]] หรือ เขาดินวนา ใน[[กรุงเทพมหานคร]]
 
==อ้างอิง==