ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มีนวิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''มีนวิทยา''' ({{lang-en|Ichthyology}}) การศึกษาเป็น[[วิทยาศาสตร์|ศาสตร์]]ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ[[ปลา]] ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึง[[อนุกรมวิธาน]]ของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วย[[ปลากระดูกแข็ง]] [[ปลากระดูกอ่อน]] ได้แก่ [[ฉลาม]]และ[[กระเบน]] และ[[ปลาไม่มีขากรรไกร]] โดยไม่ครอบคลุมไปถึง[[สัตว์น้ำ]]จำพวกอื่น เช่น [[หมึก (สัตว์)|หมึก]], [[กบ]], [[กุ้ง]], [[ปู]], [[วาฬ]] หรือ[[โลมา]] ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา
{{ต้องการอ้างอิง}}
 
'''มีนวิทยา''' ({{lang-en|Ichthyology}}) การศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ[[ปลา]] ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึง[[อนุกรมวิธาน]]ของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วย[[ปลากระดูกแข็ง]] [[ปลากระดูกอ่อน]] ได้แก่ [[ฉลาม]]และ[[กระเบน]] และปลาไม่มีขากรรไกร
 
การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชา[[ชีววิทยาทางทะเล]] [[ชลธีวิทยา]] และ[[สมุทรศาสตร์]] และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา"
 
{{โครงชีววิทยา}}
มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของ[[สัตววิทยา]] โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจาก[[ภาษากรีก]]คำว่า "Ichthys" แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจาก[[ภาษาบาลี]]สันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจาก[[ภาษาสันสกฤต]] แปลว่า ความรู้
 
โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ [[อริสโตเติล]] [[นักปรัชญา|นักปราชญ์]]ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่ม[[อนุกรมวิธาน|จำแนก]][[สิ่งมีชีวิต]] บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริง[[มนุษย์]]รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่[[มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์]]ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูป[[ปลาบึก]]ที่[[อุทยานแห่งชาติผาแต้ม]] เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งใน[[คริสต์ศตวรรษที่ 18|ศตวรรษที่ 18]] การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจาก[[ซากดึกดำบรรพ์]]
 
มี[[นักวิทยาศาสตร์]]ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ [[Albert Günther|อัลเบิร์ต กึนเธอร์]], [[Georges Cuvier|จอร์จส์ คูเวียร์]], [[Alexander Emanuel Agassiz|อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี]], [[Louis Agassiz|หลุยส์ อกาซซี]] (บุตรของอกาซซี) รวมถึง [[ลินเนียส|คาโรลัส ลินเนียส]] ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย
 
สำหรับใน[[ประเทศไทย]] ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร.[[ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ]] นักมีนวิทยาและนักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงชาว[[อเมริกัน]] ได้เดินทางสู่ประเทศไทย ในช่วงปลาย[[รัชกาลที่ 6]] จนถึงต้น[[รัชกาลที่ 7]] เพื่อสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาคแถบนี้ และได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ เมื่อปี [[ค.ศ. 1926]] ซึ่งได้พัฒนาจนกลายมาเป็น[[กรมประมง]]ในปัจจุบัน มีนักศึกษา[[ชาวไทย]]หลายคนที่ได้ร่ำเรียนกับ ดร.สมิธ อาทิ [[โชติ สุวัตถิ]], [[จินดา เทียมเมศ]], [[บุญ อินทรัมพรรย์]] จนได้ก่อตั้งขึ้นเป็น[[คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] ขึ้นเมื่อปี [[ค.ศ. 1943]] อันเป็นสถาบันหลักในทางการศึกษาทางด้านมีนวิทยาจนถึงปัจจุบันนี้<ref>[http://courseware.rmutl.ac.th/courses/107/unit101.html เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับมีนวิทยา]</ref><ref>[http://www.fisheries.go.th/dof/index.php?option=com_content&view=article&id=12&Itemid=44 ประวัติกรมประมง]</ref>
 
ในปัจจุบัน มีนวิทยาจะถือว่าเป็นศาสตร์ที่ศึกษาพร้อมกับวิชาการทางด้านประมงและสัตววิทยา หรือชีววิทยาทางทะเล มีสถาบันอุดมศึกษาที่ทำการสอนหลายแห่งในประเทศไทย นอกจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ยังมี [[คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง]], [[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา]], [[คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]], [[คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]], [[คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร]] เป็นต้น
 
และมีนักมีนวิทยาชาวไทยที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ [[ชวลิต วิทยานนท์]], [[ทศพร วงศ์รัตน์]], [[สืบสิน สนธิรัตน]], [[สุภาพ มงคลประสิทธิ์]], [[สุรินทร์ มัจฉาชีพ]] เป็นต้น
 
==ดูเพิ่ม==
*[[กรมประมง]]
*[[คณะประมงในประเทศไทย]]
 
==อ้างอิง==
{{ต้องการรายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:มีนวิทยา| ]]