ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิไตรราษฎร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cartoonemon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Cartoonemon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''หลัก 3 ประการแห่งประชาชน''' ([[จีนตัวเต็ม]]:三民主義,[[จีนตัวย่อ]]:三民主义,[[อังกฤษ]]:Three Principles of the People) หรือที่เรียกกันว่า '''ลัทธิไตรราษฎร์''' (ซันหมินจู่อี้) มีหลักสำคัญดังนี้
# หลักประชาชาติ ([[จีนตัวเต็ม]]:民族主義,[[จีนตัวย่อ]]:民族主义,[[อังกฤษ]]:Nationalism) : คือการให้ความ[[เสมอภาค]]แก่ชนทุก[[เชื้อชาติ]] และยกเลิกการแบ่งแยกกีดกันทาง[[เชื้อชาติ]] ซึ่งเดิม[[ราชวงศ์ชิง]]ให้อภิสิทธิแก่คน[[แมนจู]]อย่างมาก ในขณะที่กดสิทธิของ[[ชาวฮั่น]]ไว้ต่ำที่สุด โดยวางชนชาติอื่นไว้ระหว่างกลางลดหลั่นกันไปตามระดับความสัมพันธ์กับราชสำนัก ทั้งนี้ทั้งนั้น หลักการข้อนี้ไม่ได้มุ่งจะแก้แค้นกดขี่ชาว[[แมนจู]]แต่อย่างใด แต่เป็นการทำให้เท่าเทียมกันทั้งหมด โดยถือว่าไม่ว่าจะเป็นชน[[เชื้อชาติ]]ใด ก็ล้วนเป็นประชาชนของ[[สาธารณรัฐจีน]]เสมอเหมือนกัน
# หลักประชาสิทธิ ([[จีนตัวเต็ม]]:民權主義,[[จีนตัวย่อ]]:民權主义,[[อังกฤษ]]:Democracy) : คือการทำตามหลัก[[การปกครอง]]โดยประชาชน โดยผ่านกลไกทาง[[รัฐธรรมนูญ]]แบบ[[ตะวันตก]] ที่กำหนดให้เสียงข้างมากของตัวแทนประชาชนในสภาเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเป็น[[สมัชชาแห่งชาติ]]ไปก่อน และจะต้องประกัน[[สิทธิพลเมือง]]ให้แก่ประชาชนด้วย ประชาชนจักต้องมี[[สิทธิ]]ใน[[การเลือกตั้ง]]และ[[สิทธิ]]อื่นๆ เช่น [[สิทธิ]]ใน[[การลงประชามติ]] [[สิทธิ]]ในการเสนอ[[กฎหมาย]] [[สิทธิ]]ในการยับยั้ง[[กฎหมาย]] เป็นต้น
# หลักประชาชีพ ([[จีนตัวเต็ม]]:民生主義,[[จีนตัวย่อ]]:民生主义,[[อังกฤษ]]:People's livelihood) : คือการที่มุ่งให้ประชาชนได้กินดีอยู่ดีมีสวัสดิการ มีความมั่นคงในชีวิต และประชาชนจะต้องมี[[ปัจจัย]]ในการดำรงชีวิตอย่างไม่บกพร่อง ซึ่งมีสี่ประการ ได้แก่ [[อาหาร]] [[เครื่องนุ่งห่ม]] [[ที่อยู่อาศัย]] และการคมนาคม หลักการข้อนี้ยังไม่สมบูรณ์เท่าข้ออื่น เนื่องจาก[[ซุนยัตเซ็น]]ได้เสียชีวิตลงก่อนที่จะถ่ายทอดแนวคิดข้อนี้ได้เสร็จสิ้น