ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เปี๊ยก โปสเตอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 54:
ในปี พ.ศ. 2511 เปี๊ยก โปสเตอร์ได้ร่วมกับเพื่อนทำหนังสือเกี่ยวกับภาพยนตร์ไทยชื่อ ''ดาราภาพ'' โดยเปี๊ยกซึ่งคลุกคลีอยู่กับผู้สร้างดาราในกองถ่ายทำมาก่อน เพราะต้องไปถ่ายรูปดารา หาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเอามาเขียนคัดเอาท์และใบปิดหนัง รับหน้าที่ข้อมูลในกองถ่ายทำและรูปดาราเพื่อทำหนังสือ และเปี๊ยกยังเขียนคอลัมน์ชื่อ ''เงาจิตรกร'' สอนวาดภาพแก่คนทั่วไปด้วย ทำให้ เปี๊ยก โปสเตอร์ เดินทางเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในฐานะผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ โดยความร่วมมือจากทีมงานหนังสือดาราภาพที่ถูกแฟนภาพยนตร์คะยั้นคะยอให้สร้างภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง ซึ่งเปี๊ยกก็ไม่ขัดข้อง แต่ต้องไม่ใช่ภาพยนตร์ 16 มม. อย่างที่ทำอยู่ในขณะนั้น เปี๊ยกและทีมงานต้องการพัฒนาการสร้างภาพยนตร์ให้เป็นระบบ 35 ม.ม. เสียงในฟิล์ม จึงให้เปี๊ยกเดินทางไปอบรมดูงานที่โรงถ่ายไดเอะประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 4 เดือน แล้วก็กลับมาเปิดกล้องกำกับภาพยนตร์ เรื่องแรกในชีวิตเมื่อวันที่ 9 กันยายน ด้วยภาพยนตร์เรื่อง [[โทน (ภาพยนตร์)|โทน]] (2513) ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 โทน ออกฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย ก็ประสบความสำเร็จเกินคาด เพราะรูปแบบการสร้าง เนื้อเรื่องที่แตกต่างและงานสร้างที่มีความสมจิรงกว่าระบบ 16 ม.ม แม้ว่าตอนแรก โทน จะขายสายภาพยนตร์ต่างจังหวัดไม่ได้ มีการวิพากย์วิจารณ์บทที่ให้นางเอกถูกข่มขืน แต่โทนก็ทำรายได้เพียงโรงเพียงถึงหกล้านบาท ส่งผลให้ [[ไชยา สุริยัน]] กลับมาแจ้งเกิดในวงการภาพยนตร์อีกครั้ง ส่วน [[อรัญญา นามวงศ์]] ก็ได้รับงานแสดงมากขึ้น ชื่อเสียงของเปี๊ยก โปสเตอร์ ผู้กำกับหน้าใหม่ก็ติดอยู่ในวงการภาพยนตร์ตั้งแต่นั้นมา เช่นเดียวกันจนเปี๊ยกต้องตัดสินใจทิ้งพู่กันหันมาเอาดีทางกำกับภาพยนตร์ และมีผลงานติดต่อกันมาทุกปี
 
เปี๊ยก โปสเตอร์ ได้ชื่อว่า เป็นนักสร้างและส่งดาราให้กับวงการภาพยนตร์มาแล้วหลายต่อหลายคน เช่น [[ไพโรจน์ ใจสิงห์]] จากเรื่อง ดวง (2514), [[วันดี ศรีตรัง]] จากเรื่อง ชู้ (2515), [[อุเทน บุญยงค์]] จากเรื่อง เขาสมิง (2516), [[ช่อเพชร ชัยเนตร]] จากเรื่อง [[ข้าวนอกนา]] (2518), [[ไพโรจน์ สังวริบุตร]] และ [[ลลนา สุลาวัลย์]] จากเรื่อง [[วัยอลวน]] (2519), [[ทูน หิรัญทรัพย์]] และ [[ลินดา ค้าธรรมเจริญ]] จากเรื่อง แก้ว (2523), [[อำพล ลำพูน]] และ [[วรรษมน วัฒโรดม]] จากเรื่อง [[วัยระเริง]] (2527),[[นาถยา แดงบุหงา]] จากเรื่อง [[ข้างหลังภาพ]] (2528), [[รอน บรรจงสร้าง]] จากเรื่อง [[สะพานรักสารสิน]] (2530) และกลุ่มซูโม่กับกลุ่มกลิ่นสีจากภาพยนตร์เรื่อง [[กลิ่นสีและกาวแป้ง]]
 
เปี๊ยกใช้ชีวิตในการกำกับภาพยนตร์มาจน 26 ปี ถึงเรื่องสุดท้าย ออกฉายในปี พ.ศ. 2538 คือ [[บินแหลก]] จากนั้นเปี๊ยกก็กลับไปใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติที่บ้านกลางขุนเขาปากช่อง [[จังหวัดนครราชสีมา]] จนถึงทุกวันนี้ ชีวิตส่วนตัว มีอยู่บุตร 4 คน