ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 3322674 สร้างโดย 27.130.78.220 (พูดคุย)
บรรทัด 7:
ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกาย[[มหายาน]] จากการขุดตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ [[พ.ศ. 2478]] แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ [[พ.ศ. 2517]] แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ [[พ.ศ. 2530]] จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้ ปราสาทเมืองสิงห์นี้กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัย[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] (พ.ศ. 1720 - 1780) กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือพระพุทธรูปนาคปรก '''[[พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร]]''' และ '''[[นางปรัชญาปารมิตา]]''' และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบใน[[ประเทศกัมพูชา]] ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่[[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร]] แล้ว คงเหลือแต่องค์จำลองไว้
 
จากศิลาจารึก[[ปราสาทพระขรรค์]] [[เมืองพระนคร]] ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย '''พระวีรกุมาร''' พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} จารึกชื่อเมือง 23 เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ '''ศรีชัยสิงห์บุรี''' ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง '''ปราสาทเมืองสิงห์''' นี่เอง{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} และยังมีชื่อของเมือง '''ละโวธยปุระ''' หรือ [[ละโว้]] หรือ[[ลพบุรี]] ที่มี[[พระปรางค์สามยอด]] เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัย
 
แต่ในเรื่องดังกล่าว[[ศรีศักร วัลลิโภดม|รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม]] เห็นว่าการที่นำเอาชื่อเมืองที่คล้ายคลึงกันในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปเปรียบเทียบกับบรรดาเมืองในเส้นทางคมนาคมในจารึกปราสาทพระขรรค์อย่างง่ายๆ โดยไม่คำนึงถึงหลักภูมิศาสตร์ เท่ากับเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างมักง่าย<ref name="sri">ศรีศักร วัลลิโภคม รองศาสตราจารย์. '''พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย'''. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ, 2554. หน้า76</ref> เพราะบรรดาปราสาทขอมที่เรียกว่า[[อโรคยาศาล]]นั้นมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มีพบบ้างในบางส่วนของ[[จังหวัดปราจีนบุรี]]<ref name="sri"/> ซึ่งปัจจุบันได้แยกเป็น[[จังหวัดสระแก้ว]]) และมีรูปแบบแตกต่างจากปราสาทขอมที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างสิ้นเชิง<ref name="sri"/> ตรงข้ามกับบรรดาปราสาทของที่พบบนเส้นทางคมนาคมจากละโว้ถึง[[เพชรบุรี]]และปราสาทเมืองสิงห์ แต่ละแห่งก็มีรูปแบบที่แตกต่างออกไป จะมีความคล้ายคลึงกันแต่รูปเคารพ[[พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร]] และ[[นางปรัชญาปารมิตา]]ที่บ่งชี้ว่าน่าจะแพร่หลายมาจากเมืองละโว้ และพระโพธิสัตว์บางองค์นำมาจากเมืองพระนครก็มี<ref name="sri"/> แต่หลักฐานทั้งหมดก็มิได้ปฏิเสธความสัมพันธ์ทั้งสังคมและวัฒนธรรมระหว่างละโว้กับเมืองพระนครในกัมพูชา<ref name="sri"/>
ในสมัย[[รัชกาลที่ 1]] เมืองสิงห์เป็นเมืองหน้าด่าน [[รัชกาลที่ 4]] โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ แต่สมัย[[รัชกาลที่ 5]] เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น[[มณฑลเทศาภิบาล]] จึงยุบเมืองสิงห์เหลือแค่ตำบล
 
== โบราณสถาน ==
ปราสาทเมืองสิงห์ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควน้อย พื้นที่โดยรอบโอบรอบด้วยภูเขาขนาดไม่สูงมากนัก บริเวณโบราณสถานจะมีกำแพงและคูคันดินเป็นชั้นๆ แนวกำแพงดังกล่าวมีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม คือแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านด้านทิศใต้ ด้งนั้นพื้นที่ด้านนี้จึงขยายออกไปตามแนวแม่น้ำ สำหรับด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ แนวกำแพงต่อกันเป็นรูปสีเหลี่ยม รอบนอกกำแพงจะเป็นคูคันดินล้อมรอบอยู่ โดยเฉพาะด้านตะวันตกปรากฏซากคันดินอยู่ถึง 7 ชั้น กำแพงและคูดินนี้จะล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถานหมายเลข 1 - 4 กำแพงและประตู คูคันดิน สระน้ำ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ