ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วุ้นเส้น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Aanon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
ในอดีตมีการปลูกถั่วเขียวกันเพื่อการเกษตร ในประเทศไทยนิยมปลูกแถบจังหวัดฉะเชิงเทรา{{อ้างอิง}} ต่อมาถั่วเขียวมีปริมาณผลผลิตมากขึ้น จึงได้นำมาแปรรูป และมีผู้คิดค้นการทำวุ้นเส้นจากถั่วเขียวขึ้น และได้ปรับปรุงแก้ไขวุ้นเส้นให้เป็นในรูปแบบต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน
 
== การผลิต ==
{{ย้าย|วิกิตำรา}}
=== กรรมวิธีในการผลิตแป้ง ===
* นำเมล็ดถั่วเขียวที่ทำความสะอาดแล้วมากะเทาะให้แตกเป็น 2 ซีก โดยใช้เครื่องโม่/บดและกรองแยกกากปรับแต่งชุดลูกหินกะเทาะให้ห่างพอเหมาะที่จะกะเทาะถั่วให้แตกเป็นสองซีก หลังจากนั้นนำถั่วซีกมาฝัดเอาเปลือกป่น จมูกถั่ว และสิ่งเจือปนขนาดเล็กออกเพราะสิ่งเจือปนเหล่านี้ถ้าบดไปพร้อมกันกับเมล็ดถั่วเขียวแล้วจะแยกออกจากกันได้ยาก บางส่วนจะตกตะกอนรวมกับแป้งและเห็นได้ชัดเมื่อผลิตออกมาเป็นวุ้นเส้นแล้ว
เส้น 19 ⟶ 21:
* การตกตะกอนแป้ง โดยการตั้งน้ำแห้งที่กรองแยกกากออกหมดแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เทน้ำสีเขียวส่วนบนออก ซึ่งน้ำสีเขียวนี้เป็นน้ำที่มีโปรตีนละลายอยู่สามารถนำไปตกตะกอนโปรตีนใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ หรือใช้ผลิตซีอิ๊วได้ การตกตะกอนแป้งจะต้องไม่นานเกินไปเพราะจะทำให้โปรตีนตกตะกอนด้วย หลังจากนั้นล้างแป้งด้วยน้ำสะอาดโดยกวนแป้งในนาน้ำแล้วทิ้งให้แป้งตกตะกอน ประมาณ 3 ครั้ง หรือจนกระทั่งแป้งมีสีขาว น้ำที่ใช้ตกตะกอนใสเทน้ำทิ้งไปจะได้แป้งชื้น
* นำแป้งชื้นไปตากแดดให้แห้งความชื้นประมาณ 8-10 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน
 
=== กรรมวิธีการผลิตวุ้นเส้น ===
* นำแป้งแห้งมาบดให้ละเอียดแล้วร่อนผ่านตะแกรงตาถี่ (ขนาด 60 เมช) แบ่งแป้งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของแป้งดิบและส่วนที่นำไปทดแป้งกาว โดยอัตราส่วนที่ทำวุ้นเส้นได้ดีที่สุด คือ แป้งดิบ 95.5% และแป้งกาว 4.5% ตัวอย่างเช่น แป้งดิบ 1 กิโลกรัม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 955 กรัม พักไว้ อีกส่วน 45 กรัม ใช้ทำแป้งกาวโดยผสมน้ำ 10 เท่า หรือให้ได้น้ำหนัก 450 กรัม ตั้งบนเตาไฟอ่อน ๆ กวนให้น้ำแป้งใสและเหนียว