ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีรถไฟจิตรลดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พุทธพร ส่องศรี (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
 
== วโรกาสที่ใช้ ==
ถึงแม้ว่าปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสร็จพระราชดำเนินโดยทางคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ทางถนน หรือ ทางอากาศ เป็นหลัก ไม่มีการเสด็จโดยขบวนรถไฟมากเหมือนอย่างในอดีต แต่สถานีนี้ยังคงมีโอกาสใช้งานสนองพระราชกรณียกิจหลายครั้ง เช่น การเสด็จพระดำเนินของ[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]ไปทรงเปิด[[อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์]] จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530 และไปทรงเปิด[[ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี]] ที่หลัง[[สถานีรถไฟท่าเรือ]] [[อำเภอท่าเรือ]] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2535 การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] และ พระบรมวงศานุวงศ์ ไปทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระมหากษัตริย์ในอดีต ในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2531<ref>[http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOKK/chapter7/tk7-2-8.htm พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก] จาก ''พระราชพิธีในรัชกาลปัจจุบัน'' [[สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก|หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับกาญจนาภิเษก]]</ref> เป็นต้น
 
สำหรับพระราชอาคันตุกะที่ได้รับการต้อนรับที่สถานีรถไฟจิตรลดา เช่น [[พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ พระมหาวีรกษัตริย์|สมเด็จพระนโรดม สีหนุ]]แห่ง[[ราชอาณาจักรกัมพูชา]] [[สมเด็จพระเจ้าเฟรดดริคที่ 9]] แห่ง[[ราชอาณาจักรเดนมาร์ก]] และ [[ซูการ์โน]] ประธานาธิบดีประเทศ[[อินโดนีเซีย]] เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2487, 12 มกราคม พ.ศ. 2502 และ 16 เมษายน พ.ศ. 2504 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสามครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินต้อนรับพระราชอาคันตุกะด้วยพระองค์เอง