ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
 
 
==บรรพชา-และอุปสมบท-การศึกษา==
หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านหนองขุ่นขณะที่มีอายุได้ 13 ปี ก่อนจะบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองขุ่น บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองขุ่น ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2487 โดยมีพระครูอัครธรรมวิจารณ์ (เลิศ ฉนโน) เจ้าอาวาสวัดหนองหลัก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาสามเณรอมร บุตรศรีก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนโดยสามารถสอบได้นักธรรมตรีได้ในปีแรกที่บรรพชา และสอบได้นักธรรมโทในอีก 2 ปีถัดมา หลังจากนั้นท่านเริ่มมีความคิดอยากจะไปศึกษาต่อในตัวเมืองอุบลราชธานี แต่พระอุปัชฌาย์แนะให้ไปเรียนที่กรุงเทพฯ โดยฝากให้ไปอยู่กับท่านเจ้าคุณปริยัติยานุรักษ์ ที่วัดทองนพคุณ คณะ 10 เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยสามเณรอมร บุตรศรีก็็เดินทางเข้ามาศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร ในปีพ.ศ. 2491 ท่านมีความอุตสาหวิริยะจนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค (ได้คะแนนเต็มทุกวิชา) และสอบได้นักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ.2494 ขณะที่ยังเป็นสามเณร
 
จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี (พ.ศ. 2494) ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร โดยมีพระเทพวิมล (ชุ่ม ติสาโร ปธ.3) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระภัทรมุนี (อิ๋น ภัทรมุนี ป.ธ. 9) เป็นพระ
กรรมวาจารย์ พระปริยัตยานุรักษ์ (สมบูรณ์ เตมิโย ปธ. 5) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน ปธ.9) เป็นพระธรรมวาจาจารย์ หลังจากอุปสมบทท่านก็ยังไม่ได้ละมานะที่จะเรียนบาลี โดยท่านสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยคในปี พ.ศ.2497 และในปี พ.ศ.2499 ท่านได้เดินทางกลับวัดหนองขุ่น ท่านเป็นเปรียญธรรมรูปแรกของบ้านหนองขุ่น <ref>ประวัติพระมงคลกิตติธาดา ,[http://watnongkhun.thde.com/-View.php?N=7]</ref>