ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภัทราวดี มีชูธน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
 
== ประวัติ ==
ภัทราวดี มีชูธน เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของคุณหญิงสุภัทรา สิงหลกะ ธิดาของพระยาราชมนตรีและคุณหญิงบุนปั่น ตามเสด็จเจ้าดารารัศมีมาจากเชียงใหม่ในสมัยรัชกาลที่5
ภัทราวดี เป็นบุตรสาวของ สอาด มีชูธน กับคุณหญิงสุภัทรา สิงหลกะ มีพี่สาวชื่อ สุภาพรรณ พิชัยรณรงค์สงคราม (สมรสกับ เปาว์ พิชัยรณรงค์สงคราม) <ref>ภาณิศา ภูวภิรมย์ขวัญ, '' ความคิด ชีวิต ตัวตน ภัทราวดี ตอน เด็กหญิง ณ ริมน้ำ'', สำนักพิมพ์ ฟรีมายด์, พ.ศ. 2551, 198 หน้า, ISBN 978-974-05-0848-9 </ref> ภัทราวดีโตมาแถวซอย[[วัดระฆัง]] ศึกษาที่[[โรงเรียนราชินี]] พออายุได้ 12 ปี ได้ไปเรียนที่[[ประเทศอังกฤษ]] พอโตขึ้นจึงย้ายไป[[อเมริกา]]เพื่อไปศึกษาทางด้านการแสดง เข้าสู่วงการด้วยการแสดง[[ภาพยนตร์]]เรื่อง [[ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ]] ซึ่งได้รับ[[รางวัลตุ๊กตาทอง]] หลังจากนั้นจึงได้เล่นภาพยนตร์และ[[ละคร]]มาตลอด และในช่วงปี 2520 - 2523 เป็นผู้สร้างละครโทรทัศน์ ผู้ประพันธ์ กำกับการแสดง และร่วมแสดง[[ละครโทรทัศน์]]เป็นตอนสั้นๆ ให้กับ[[ช่อง 3]] และในปี 2526 สร้างละครโทรทัศน์ให้ช่อง 9 ในปีถัดมาสร้างละครเวทีให้บริษัท[[ไนท์สปอตโปรดักชั่น|ไนท์สปอต]] และเป็นที่ปรึกษาจัดตั้ง มณเฑียรทองเธียเตอร์ จนได้ก่อตั้งคณะ '''ภัทราวดี Theatre and Dance company''' ในปี 2530
ภัทราวดีได้รับการศึกษาจากโรงเรียนราชินี ได้รับการฝึกสอนศิลปะรำไทยและขับร้องเพลงไทยจากครูเล็ก วังบ้านหม้อ เรียนต่อจบ High School จากประเทศอังกฤษ ณ ที่นั้นเธอได้สัมผัสกับศิลปะการแสดงการร้องเพลงแบบตะวันตก และเริ่มสนใจศิลปะการแสดงอย่างจริงจัง
บิดามารดาส่งไปเรียนศิลปะการแสดงที่ Pasadena Playhouse ประเทศอเมริกา เธอเรียนศิลปะการออกแบบ การเป็นนางแบบ แต่งหน้าและการเป็น Stylist ณ Joycelyn Ryan studio และกลับมาประกอบอาชีพนางแบบ และนักออกแบบเสื้อได้รับความสำเร็จ จนกระทั่งได้รับคำชักชวนจาก ลาวัลย์ฉวี สิริสิงห์ ให้แสดงละครโทรทัศน์ และได้รับเลือกให้แสดงภาพยนตร์เรื่อง “ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ” สร้างโดย คุณเบญจมินทร์ กำกับการแสดงโดยคุณปริญญา ลีละศร แสดงร่วมกับนาถ ภูวนัย ภาวนา ชนะจิต สุพรรณ บูรณพิมพ์ ศิลปินที่เธอเลื่อมใสศรัทธาและเป็นแม่แบบในการแสดงของเธอ
ได้รับพระราชทานรางวัลตุ๊กตาทองนักแสดงนำยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่องแรก “ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ” นับเป็นนักแสดงหน้าใหม่ไฟแรงที่มีสไตร์การแสดงผิดจากนักแสดงที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น
ต่อมาได้วิวัฒนาการรูปแบบของภาพยนตร์ไทย โดยเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง“นางสาว มะลิวัลย์” ร่วมกับเริงศิริ ลิมอักษร แสดงเป็นนางเอกที่มีความเป็นตัวของตัวเอง จนเป็นปัญหากับสังคม เป็นการปฏิวัติการเขียนบท และการนำความคิดใหม่ๆเข้ามาใช้ในภาพยนตร์ไทย
 
ในปี 2420 เธอหันหลังให้กับวงการภาพยนตร์และทำงานเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ ให้กับสถานีโทรทัศน์ช่องสาม ริเริ่มการแสดงละครโดยไม่มีการบอกบท เริ่มการจัดละครประเภท Situation Comedy การแสดงตอนสั้นๆที่ต่อเนื่อง ละครที่ได้รับความนิยมมากคือ “ตุ๊กตาเสียกบาล” ช่องสามหาโฆษณาได้ตอนละสิบแปดนาที ทำให้การแสดงเหลือเพียงสิบสองนาที จนก.บ.ว.ตั้งกฎจำกัดเวลาโฆษณาเหลือ 5 นาทีต่อรายการครึ่งชั่วโมง นอกจากนี้ยังสร้างละครเรื่องขบวนการคนใช้ ท้าพิสูจน์ว่าผู้ชมต้องการชมความสามารถของนักแสดงมากกว่าผู้แสดงที่สวยงามเท่านั้น ในเรื่องนี้นักแสดงที่มีความสามารถแต่ไม่สวยงามหลายคนได้แจ้งเกิดเช่น อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ เด่น ดอกประดู่ มาเรีย เกตุเลขา มยุรี อิศรเสนา และอีกมากมาย ภัทราวดีจัดการแสดงให้ช่องสามนานถึงสี่ปี สร้างนักแสดงใหม่ๆซึ่งยังโด่งอยู่ในปัจจุบันเช่น ปัญญา กิตินิรันดร์กุล ปัญญา รู้ธรรม ชลิต เฟื่องอารมณ์ วรายุทธ มิลินทจินดา ลินดา ค้าธัญเจริญ และอีกมากมาย สร้างฐิติมา สังขพิทักษ์ จากภาพยนตร์เรื่อง "รักริษยา" ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องเดียวที่เธอรับจ้างกำกับการแสดง
2525 แต่งงานกับนักการทูตชาวแคนาดาและย้ายไปอยู่ New York, Ottawa และสิงคโปร์ แต่ยังกลับมาทำละครให้ช่อง9 สร้างละครโทรทัศน์ให้ช่อง9 คือเรื่องบนถนนสายเดียวกัน ได้รับรางวัลเมฆขลา บทประพันธ์ยอดเยี่ยม ผู้พิทักษ์ความสะอาด ได้รับรางวัลเมฆขลา ละครสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม
2526 นำการแสดง “คืนหนึ่งกับภัทราวดี” มาเปิดแสดงที่โรงละครแห่งชาติ นับว่าเป็นครั้งแรกของการแสดงประเภท Concert แสดงโดยคนไทยโดยใช้เพลงต่างๆที่คุณพยงค์ มุกดา ประพันธ์เนื้อร้องใส่กับทำนองเพลงจีนและญี่ปุ่น ซึ่งเคยรับจ้างร้องอัดแผ่นเสียง และเพลงจากภาพยนตร์ที่เคยแสดงมาสร้างเป็นการแสดงผสมผสานลีลาการเต้นรำกำกับโดย Arthur Faria โดยมีเรวัต พุทธินันท์เป็นนักร้องรับเชิญ เป็นการแสดงหนึ่งชั่วโมงสิบห้านาทีที่เธอแสดงทั้งร้องทั้งเต้น ร่วมกันนักเต้นชาวอเมริกัน สองคน
การแสดงครั้งนี้ มีเวลาออกจากเวทีเพียงหนึ่งนาทีเพื่อเปลี่ยนเสื้อผ้า นอกนั้นเธอเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นลีลาบนเวทีระหว่างการพูดคุยและการร้องเพลง ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ในยุคสมัยนั้น
การแสดงครั้งนี้มีการนำลีลารำไทยมาประกอบการร้องเพลงสากล นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการผสมผสานเช่นนี้ ได้รับการต้อนรับอย่างมากมายและเป็นแบบอย่างที่ได้รับความนิยม อย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน และเป็นครั้งแรกที่นักร้องไทยเปิดการแสดงในสไตล์Concert ทั้งร้องทั้งเต้นและพูดคุย ร่วมกับนักแสดงประกอบซึ่งทั้งเป็นนักเต้นและนักร้องประสานเสียง ต้องใช้นักแสดงชาวอเมริกันเพราะในยุคนั้นมิสามารถหานักแสดงเช่นนี้ในเมืองไทย เป็นตัวอย่างและที่มาของการแสดง Concert โดยนักร้องไทย ในปีต่อๆมา
ริเริ่มการแสดงละครเพลงเรื่อง “เก็บดาวดวงใหม่ไปใส่ฟ้า” แสดง ณ ศุนย์วัฒนธรรม และได้รวบรวมทีมงานสร้างคณะละคร ภัทราวดี Theatre and Dance Company สร้างบุคลากรและนักแสดงจำนวนมากและสร้างภัทราวดีเธียเตอร์ โรงละครกลางแจ้งในปี 2535 โรงละครเล็กstudio1 ในปี2538 จัดการแสดงวรรณคดีไทยร่วมสมัย เพื่อฟื้นฟูศิลปะและพัฒนาศิลปินไทย เปิดสอนและให้ทุนการศึกษาสนับสนุน พัฒนาศักยภาพของศิลปินไทย เพื่อการอนุรักษ์ และพัฒนา ศิลปะการแสดงของไทยต่อไป
ริเริ่มโครงการ “เทศกาลละครกลุ่มใหม่” ให้ทุนทรัพย์ และเป็นที่ปรึกษาให้คณะละครกลุ่มใหม่ได้ก่อตัวและสร้างงานระดับมืออาชีพสู่สายตาประชาชนเพื่อสร้างชื่อเสียงและสะสมประสบการณ์สามารถดำรงชิวิตยึดเป็นอาชีพ
จัดพิธีมอบรางวัล ศิลปินแห่งละครเวที และรางวัลคลื่นลูกใหม่ เป็นประจำทุก 2 ปี แก่นักแสดงละครเวทีที่มีความสามารถเป็นเยี่ยม เพื่อเชิดชูเกียรติ และเป็นกำลังใจ ตัวรางวัลซึ่งหล่อด้วยทองเหลือง ออกแบบโดยคุณยอดชาย เมฆสุวรรณ พระเอกของภาพยนตร์ ไทย ซึ่งมีความสามารถในปฎิมากรรม
 
พ.ศ. 2544 สร้างศูนย์อบรมและพิพิธภัณฑ์เก็บเครื่องดนตรี กลองภาคเหนือ ให้ศิลปินแห่งชาติ ครูคำ กาไวย์ ณ วัดเอรัณฑวัน ตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นสถานศึกษาและค้นคว้าศิลปะฟ้อนรำภาคเหนือ และเป็นที่ฝึกอบรม ดนตรี ฟ้อนรำพื้นบ้านภาคเหนือให้แก่หญิง ชาย และเยาวชนในตำบลนั้นและจากที่อื่นๆ และเป็นเวทีแสดง สอนโดยครูคำ กาไวย์ และศิลปินพื้นบ้านในละแวกนั้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
พ.ศ. 2545 ดัดแปลง และสร้าง โรงละครในศาลาวัด ที่วัดบ้านดอน จังหวัดระยองเพื่อเป็นที่แสดงหนังใหญ่ซึ่งเก็บรักษาในศาลาวัดเป็นเวลายาวนาน ให้มีการแสดง และสนับสนุนให้เด็กในละแวกนั้นเรียนรู้การเชิดหนังใหญ่ โดยส่งครูโขนยักษ์ โขนลิงไปให้การฝึกอบรม อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่าหกเดือน
พ.ศ. 2549 สร้างศูนย์ ศิลป์ บ้านดิน ราชบุรี ให้ มานพ มีจำรัส ศิษย์ เอก ซึ่งมีถิ่นฐานบ้านเดินที่จังหวัดราชบุรี ให้บริหารจัดการ ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชน และเป็นประโยชน์ ต่อการเจริญเติบโตของศิลปะ ในภูมิภาคนั้น
 
พ.ศ. 2549 ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการ ก่อตั้ง International Intangible cultural Heritage ณ เมือง Hong Kong เพื่อเป็นศูนย์ กลางของการทำงานรหว่าง ศิลปินอาวุโส และศิลปินรุ่นใหม่ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างงานใหม่ๆ เป็นที่รวบรวมข้อมูลของศิลปินและศิลปะในภูมิภาค เอเซีย
ร่วมมือกับนักเรียนราชินี รุ่น 60 และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง จัดทำศูนย์ ศิลป์ แม่ฟ้าหลวง เชียงราย เพื่อส่งเสริมการเรียนศิลปะ การอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญษเดิม แก่เยาวชนชาวเขาเผ่าต่างๆ บนดอยตุง
 
นอกจากนี้เธอยังใช้เวลาในการอบรมครูอาจารย์ทั่วประเทศให้เข้าใจการใช้ศิลปะการแสดงเพื่อการสอนวิชาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ บรรยายเกี่ยวกับศิลปะการแสดงของไทย และร่วมสมัยบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นครูสอนศิลปะการแสดงให้กับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทยและต่างประเทศ อบรมมารยาทสังคมให้แก่นักศึกษา และข้าราชการ เช่นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงาน กพ. กรมอัยการ
 
ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ '''โรงละครภัทราวดีเธียเตอร์''' และครูสอนการแสดงให้กับโรงละครภัทราวดีเธียเตอร์ เป็นครูสอนพิเศษและบรรยายวิชาศิลปะการแสดง และเปิด'''[[โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา หัวหิน]]'''