ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า [[พรรคเสรีมนังคศิลา]] ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาในปี [[พ.ศ. 2498]] เพื่อที่จะรองรับการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะ ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พลตำรวจเอก[[เผ่า ศรียานนท์]] ได้รับเสียงข้างมากที่สุด ถึง 83 คน เฉพาะใน[[จังหวัดพระนคร]] และ[[จังหวัดธนบุรี]] อันเป็น[[เมืองหลวง]] ได้ถึง 6 คน โดย จอมพล ป. ได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเป็นลำดับหนึ่ง ด้วยคะแนน 137,735 ตามมาด้วย พันตรี[[ควง อภัยวงศ์]] หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งสำคัญ ด้วยคะแนน 118,457 ซึ่งใน[[กรุงเทพ]] พรรคประชาธิปัตย์ได้เพียงแค่ 2 ที่นั่งเท่านั้น คือ พ.ต.ควง และ นาวาโท[[พระประยุทธชลธี]] และทั่วประเทศได้เพียง 30 ที่นั่งเท่านั้น
 
ผลการเลือกตั้ง ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้จากประชาชน ดังนั้น ในวันที่ [[2 มีนาคม]] พ.ศ. 2500 นิสิต[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และนักศึกษา[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเริ่มขบวนที่[[ท้องสนามหลวง]] และเดินไปเรื่อยโดยมี[[ทำเนียบรัฐบาล]]เป็นจุดหมาย มีการลด[[ธงไตรรงค์|ธงชาติ]]ครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง โดยหมายจะให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ชี้แจงการเลือกตั้งครั้งนี้ให้จงได้ เมื่อขบวนผู้ชุมนุมมาถึง[[สะพานมัฆวาน]] พลเอก [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ผู้บัญชาการทหารบก ที่ทางจอมพล ป.แต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมดูแลสถานการณ์ กลับถอดหมวกโบกรับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยกล่าวว่าทหารจะไม่มีวันทำร้ายประชาชน และนำพาผู้ชุมนุมเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเจรจากับ จอมพล ป.เอง ที่สุด จอมพล ป.ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทย[[ตึกไทยคู่ฟ้า]] และได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป.ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่บริสุทธิ์และจะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ การชุมนุมจึงสลายตัวไป
 
แต่ต่อมาเหตุการณ์ได้ขยายตัวและบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มทหารที่สนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พล.อ.[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ผู้บัญชาการทหารบก จนกลายเป็นการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|รัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500]] ในที่สุด