ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ปลาสลิดหิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{Taxobox | name = | image = Abudefduf vaigiensis 1.jpg | image_width = 200px | image_caption = ปลาสลิดหินบั้ง (''Abudefduf vaigiensis'') |...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:19, 16 กันยายน 2554

วงศ์ปลาสลิดหิน
ปลาสลิดหินบั้ง (Abudefduf vaigiensis)
ปลาการ์ตูนแก้มหนาม (Premnas biaculeatus) ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Amphiprion
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Labroidei
วงศ์: Pomacentridae
สกุล
ดูในเนื้อหา

วงศ์ปลาสลิดหิน (วงศ์: Pomacentridae, อังกฤษ: Damsel) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) วงศ์หนึ่ง เป็นปลาทะเลหรือน้ำกร่อยขนาดเล็ก โดยรวมแล้วมีขนาดประมาณ 4-8 เซนติเมตร มีความโดดเด่นตรงที่มีสีสันและลวดลายสดใสสวยงาม จึงเป็นที่นิยมของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแนวปะการัง นับเป็นปลาที่พบได้บ่อยและชุกชุมที่สุดในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูง มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มักกัดทะเลาะวิวาทกันเองภายในฝูง [1] กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอน, สาหร่าย และสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ

จัดเป็นปลาที่วงศ์ใหญ่ มีจำนวนสมาชิกในวงศ์ประมาณ 360 ชนิด ใน 29 สกุลหรือวงศ์ย่อย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 28 ชนิด

โดยที่คำว่า Pomacentridae ที่เป็นภาษาละตินที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น แปลงมาจากภาษากรีกคำว่า "poma" แปลว่า ปก หมายถึง แผ่นปิดเหงือก และ "kentron" แปลว่า หนาม ซึ่งหมายถึง หนามที่บริเวณแผ่นปิดเหงือกอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปลาในวงศ์นี้[2]

ปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน โดยมากแล้ว เป็นปลาที่ดูแลไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว โดยทั้งปลาตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล แต่ก็มีบางจำพวกอย่าง ปลาการ์ตูน ที่สามารถเปลี่ยนเพศได้ตามสถานการณ์ [3]

โดยปกติแล้วเป็นปลาทะเลและปลาน้ำกร่อย แต่ก็มีบางชนิดเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืดด้วย

สกุล

สำหรับในน่านน้ำไทย มีการสำรวจปลาในวงศ์ปลาสลิดหินนี้ จัดเป็นวงศ์ย่อย 3 วงศ์ แบ่งเป็น 13 สกุล 41 ชนิด ที่ฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ และที่เกาะสมุย ฝั่งอ่าวไทย เป็นวงศ์ย่อย 1 วงศ์ย่อย 3 สกุล 4 ชนิด ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดที่คาดว่าเป็นชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบด้วย[4]

อ้างอิง