ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็องเดร ดูว์ แปลซี เดอ รีเชอลีเยอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Redakie (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Redakie (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
ในปี พ.ศ. 2430 กัปตันริเชอลิเออ ร่วมหุ้นกับ กัปตันอัลเฟรด จอห์น ลอฟตัล หรือพระนิเทศชลที เปิดบริษัททำการเดิน[[รถราง]] เป็นครั้งแรก เส้นทางจาก[[ตำบลบางคอแหลม]] ผ่าน[[ถนนเจริญกรุง]] ไปสิ้นสุดที่[[ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร]] เป็นรถรางสายแรกใน[[เอเชีย]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ได้พัฒนาเป็นรถรางเดินด้วยไฟฟ้า เริ่มเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ [[22 กันยายน]] [[พ.ศ. 2437]] ก่อตั้งบริษัทไฟฟ้าสยาม ทำการผลิตและจำหน่าย[[กระแสไฟฟ้า]] นอกจากนี้ท่านยังก่อตั้งบริษัทรถไฟปากน้ำซึ่งเปิดดำเนินการ[[รถไฟ]]สาย[[กรุงเทพ]]-[[สมุทรปราการ]] ขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ระยะทาง 21 กิโลเมตร เป็นสายแรก เมื่อ พ.ศ. 2436
 
[[ไฟล์:Holmens Kirke Copenhagen sarcophagus 8.jpg|thumb|right|250px|[[โลงศพหิน]]ของพระยาชลยุทธโยธินทร์ ที่โบสถ์โฮลเมนส์ (Holmens Kirke) กรุง[[โคเปนเฮเกน]] [[ประเทศเดนมาร์ก]]]]
ในช่วงวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 กัปตันริเชอลิเออ เป็นผู้นำทหารเรือชาวเดนมาร์กเข้าร่วมรบต่อสู้กับกองเรือฝรั่งเศสที่[[ปากน้ำ]] ทั้งที่กงสุลเดนมาร์กมีคำสั่งไม่ให้ชาวเดนมาร์กเข้ายุ่งเกี่ยวในการศึกครั้งนี้ ขณะนั้นท่านมียศเป็นพลเรือจัตวา ตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารเรือ ภายหลังการรบท่านได้รับพระราชทานยศเป็น '''พลเรือตรี พระยาชลยุทธโยธินทร์''' และต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ [[16 มกราคม]] [[พ.ศ. 2443]] - [[29 มกราคม]] [[พ.ศ. 2444]] กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ เพื่อเดินทางกลับประเทศเดนมาร์ก<ref>http://www.exnavalcadet.com/sara/view.php?No=50101</ref>