ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้านรสีหบดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อรุณพุดตาน (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
อรุณพุดตาน (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
:พระเจ้านรสีหบดีเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอุสานะ ([http://en.wikipedia.org/wiki/Uzana_of_Pagan Uzana]) และพระนางอะซอ (Asaw)
 
:หลังการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าอุสานะราชบิดาจากอุบัติเหตุในการล่าสัตว์เมื่อปีค.ศ.1254 พระเจ้านรสีหบดีก็ได้ครองราชบัลลังก์พุกามโดยการแย่งชิงจากพระเชษฐาด้วยความช่วยเหลือบงการของมหาเสนาบดี ยะสะซิงยาน (Yazathingyan) ผู้ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเชิดกษัตริย์องค์ใหม่ที่มาจากเจ้าชายอ่อนพระชันษานี้ได้ แต่กษัตริย์หนุ่มได้แปรเปลี่ยนท่าทีที่หัวอ่อนเป็นกระด้างกระเดื่อง หยิ่งยะโส โกรธกริ้วและกักขฬะ พระองค์ทรงสั่งเนรเทศยะสะซิงยานแทบจะทันทีที่ครองราชย์ แต่ต่อมาไม่นานพระองค์ก็ทรงจำใจเรียกกลับมาใช้งานเพื่อปราบกบฎในยะขิ่นแคว้น[[ยะไข่]]และแถบ[[ตะนาวศรี]] ยะสะซิงยานปราบกบฎสำเร็จแต่ก็มิได้หวนกลับคืนมา ยะสะซิงยานเสียชีวิตระหว่างเดินทัพกลับ นับแต่นี้ไปพระเจ้านรสีหบดีจะหามีหอกข้างแคร่มารบกวนอาสน์ราชบัลลังก์ได้อีก<br />
 
:พระเจ้านรสีหบดีเป็นกษัตริย์ผู้ไร้ความสามารถอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเรื่องการปกครองบริหารภายในราชอาณาจักรหรือกิจการกับต่างชาติ เฉกเช่นพระราชบิดาและพระอัยกาบุพกษัตริย์ทั้งสองก่อนหน้าพระองค์ พระองค์ล้มเหลวในการจัดการพระราชทรัพย์และบริหารท้องพระคลังซึ่งร่อยหรอลงทุกปีๆ สืบเนื่องมาจากการยกเว้นภาษีที่ดินให้แก่ธรณีสงฆ์ นอกจากนี้เมื่อเปรียบกับพระอัยกา คือ พระเจ้ากะยอชวา([http://en.wikipedia.org/wiki/Kyaswa Kyawsawa]) ที่มักโปรดสร้างพระเจดีย์ขนาดเล็กมากกว่าที่จะบังคับเกณฑ์แรงงานมากมายแล้ว พระเจ้านรสีหบดีกลับมักโปรดที่จะสร้างพระเจดีย์อย่างหรูหราฟุ่มเฟือย เช่น มิงคละเจดีย์ ([http://en.wikipedia.org/wiki/Mingalazedi_Pagoda Mingalazedi Pagoda]) ที่บังคับเกณฑ์แรงงานจำนวนมาก จนผู้คนต่างก่นด่าสาปแช่ง โดยมีเสียงร่ำลือว่า "วันที่เจดีย์สร้างสำเร็จสิ้นนั้น จักเป็นวันถึงฆาตของกษัตริย์"<br />