ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โขน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 207:
สำหรับบทเจรจานั้น แตกต่างจากบทร้องและบทพากย์ตรงที่เป็นบทกวีแบบร่ายยาว มีการส่งและรับคำสัมผัสอย่างต่อเนื่อง ใช้ถ้อยคำสละสลวย คล้องจอง มีสัมผัสนอกสัมผัสใน บทเจรจาในการแสดงโขนเป็นบทที่คิดขึ้นในขณะแสดง เป็นความสามารถและไหวพริบปฏิภาณเฉพาะตัวของผู้เจรจา ปัจจุบันบทเจรจามีการแต่งเตรียมไว้แล้ว ผู้พากย์บทเจรจาจะว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้น้ำเสียงในการเจรจาให้เหมาะกับตัวโขน ใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ของตัวละครในเรื่องเช่น เจรจาเสียงเทวดาก็ต้องปรับน้ำเสียงให้นุ่ม สุภาพ เจรจาเสียงยักษ์ก็ต้องปรับเสียงให้ดัง ดุร้ายและแกร่งกร้าว เจรจาตัวนางก็ต้องปรับเสียงให้นุ่ม อ่อนหวาน เป็นต้น
 
การพากย์บทเจรจาใช้ผู้ชายเป็นผู้ให้เสียงไม่ต่ำกว่าสองคน เพื่อทำหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา บางครั้งมีการเหน็บแนมเสียดสีโต้ตอบระหว่างกัน ถ้าในการแสดงโขนมีบทร้อง ผู้พากย์และเจรจาจะต้องทำหน้าที่บอกบทให้แก่ผู้แสดงอีกด้วย<ref>[http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/art04/03/401/khone_jerajar.htm บทเจรจาของโขน]</ref> เวลาแสดงผู้พากย์และเจรจาจะยืนประจำจุดต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้เช่น โขงกลางแปลง จะยืนอยู่ใกล้กับจุดของตัวแสดง แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือมนุษย์และยักษ์ โขนนั่งราวและโขนหน้าจอ จะยืนอยู่บริเวณริมฉากประตูซ้ายและขวาข้างละหนึ่งคน โขนโรงในจะนั่งเรียงติดกับคนร้องข้างละ 2 คน<ref name="คำเจรจา">คำเจรจา, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 174, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref> ดังตัวอย่างการบทพากย์และเจรจาระหว่างหนุมานและนางพิรากวน ที่ร้องไห้คร่ำครวญด้วยความเสียใจ ด้วยมัยราพณ์สั่งให้ออกมาตักน้ำเพื่อนำไปต้มพระรามและไวยวิกบุตรชาย ความว่า<ref name="บทพากย์และเจรจาโขนชุดศึกมัยราพณ์">บทพากย์และเจรจาโขนชุดศึกมัยราพณ์, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด ศึกมัยราพณ์, [[มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]], ระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554, หอประชุมใหญ่ [[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]], หน้า 27</ref>
 
{{คำพูด|"หนุมานชาญศักดา ซุ่มกายาแอบฟังนางร่ำไห้ ได้ยินคำว่าปราศัยถึงพระจักรี ขุนกระบี่นึกสงสัยในวาจา จึงออกมาจากสุมทุมพุ่มพฤกษาเข้าใกล้นาง ทรุดกายลงนั่งข้าง ๆ พลางกราบไหว้ ทักถามว่ามาจากไหนจ๊ะ ป้าจ๋า ไยมาร่ำโศกาน่าสงสาร ถึงตัวฉันเป็นเดรัจฉานสัญจรป่า ก็มีจิตคิดสงสารป้าจับดวงใจ เรื่องทุกข์ร้อนเป็นอย่างไร โปรดเล่าให้ฟังบ้างเถิดป้า หากฉันช่วยได้ฉันก็จะอาสา อย่าโศกี"|หนุมาน}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โขน"