ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุวรรณี สุคนธา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
เรียบเรียงใหม่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
เมื่องานเขียนเริ่มเป็นที่นิยมสุวรรณีจึงลาออกจากราชการ และปฏิบัติงานเขียนอย่างเต็มตัว จนถึง [[พ.ศ. 2515]] จึงเป็นบรรณาธิการ[[นิตยสารลลนา]]จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
 
[[ไฟล์:Sinchai-Suwanni.jpg|[[สินจัย เปล่งพานิช]] เล่นเป็นสุวรรณี สุคนธ์เที่ยง ในละคร "น้ำพุ" (พระจันทร์สีน้ำเงิน") (พ.ศ. 2545)|thumb|left|200px]]
 
ผลงานการเขียนของสุวรรณีมีจุดเด่นตรงการเน้นตัวละครที่สมจริง ตัวเอกของเรื่องมิใช่คนสวยวิเศษแสนดีตามแบบฉบับที่นิยมกันในสมัยนั้น แต่มีชีวิตจิตใจ อารมณ์ และกิเลสเหมือนบุคคลทั่วไปที่ผู้อ่านสามารถพบเจอได้ในชีวิตจริง กับทั้งตัวละครยังสะท้อนด้านมืดของความเป็นมนุษย์ ภาษาที่ใช้เรียบง่ายแต่งดงามและเป็นเชิงเสียดสีสังคม ทำให้งานเขียนของสุวรรณีมีสีสันและได้รับความนิยมอย่างยิ่ง
 
ผลงานที่ได้รับรางวัลวรรณกรรม เช่น ''เขาชื่อกานต์'' ได้รับรางวัล [[ส.ป.อ.]]ใน [[พ.ศ. 2513]], ''ด้วยปีกของรัก'' ได้รับรางวัลชมเชย[[สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ]] [[พ.ศ. 2516]], ''พระจันทร์สีน้ำเงิน'' ได้รางวัลยอดเยี่ยมจากสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ [[พ.ศ. 2519]] และ ''สร้อยแสงแดง'' ได้รางวัลหนังสือเยาวชนระดับชมเชยจากสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ [[พ.ศ. 2524]] เป็นต้น นอกจากนี้ ผลงานของสุวรรณีตลอดจนเรื่องราวชีวิตของสุวรรณีเองยังได้รับการนำไปจัดทำเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น พระจันทร์สีน้ำเงิน(โดยใช้ชื่อเรื่อง น้ำพุ) เขาชื่อกานต์ คนเริงเมือง ฯลฯ
 
ด้านครอบครัว สุวรรณีสมรสกับ [[ทวี นันทขว้าง]] มีบุตรสี่คน ต่อมาหย่าขาดจากสามีแล้วมาร่วมชีวิตกับนายศิริสวัสดิ์ พันธุมสุต
 
สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง เสียชีวิตขณะไปจ่ายตลาด แล้วถูกวัยรุ่นทำร้ายถึงแก่ความตาย เพื่อชิงรถยนต์นำไปหาซื้อ[[ยาเสพติด]] เมื่อวันที่ [[3 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2527]]