ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เต็นท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ro:Cort
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 3:
'''เต็นท์''' {{lang-en|tent}} เป็น[[อุปกรณ์]]อาศัยชั่วคราว มีลักษณะเป็นลักษณะเหมือนกระโจม หรือกระโจมเหมือนเต็นท์ลักษณะโค้งด้านบน ส่วนใหญ่วัตถุดิบที่นำมาใช้สร้างเต็นท์นั้นเป็นโครง[[เหล็ก]] จะใช้ผ้าคลุมที่แตกต่างกันไป อาจเป็น[[ผ้าร่ม]] หรือ[[ผ้าดิบ]] ผ้าอื่นที่ไม่ได้กล่าวมา
{{โครง}}
 
'''สินค้าแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไร'''
ข้อ1. เต็นท์ทำหน้าที่อย่างไร
เต็นท์มีหน้าที่ ป้องกันแมลง สัตว์ ลม น้ำ
 
ข้อ2. ส่วนประกอบของเต็นท์เรียกว่าอะไร ทำหน้าที่อย่างไร วัสดุที่นำมาใช้คืออะไร
ฟลายชีท เป็นส่วนที่คลุมด้านบน ทำหน้าที่ ลดการเกิดหยดน้ำในเต็นท์และช่วยกันฝน ลมและแสงแดด
วัสดุที่นำมาผลิต ผ้าใยสังเคราะห์ ( ไนลอน,โพลีเอสเตอร์) เคลือบกันน้ำ เป็น มิลลิเมตร ฟลายชีท ที่ดี ควรมีการซีล ที่ตะเข็บเพื่อไม่ให้น้ำรั่วลงมาด้านใน ชนิดของการเคลือบกันน้ำ เคลือบด้วยโพลียูรีเทน PU, เคลือบด้วยซิลเวอร์, เคลือบด้วยซีลีโคน
ตัวเต็นท์ ทำหน้าที่ ป้องกันแมลง สัตว์มีพิษ และช่วยกันลม กันฝน วัสดุที่นำมาผลิต ผ้าใยสังเคราะห์( ไนลอน,
โพลีเอสเตอร์) ตัวเต็นท์ที่ดี ควรเป็นผ้าไม่เคลือบกันน้ำ (ถ้ามีฟลายชีท) และมุ้งที่กันแมลงตัวเล็กได้
พื้นเต็นท์ เป็นส่วนด้านล่างทำหน้าที่ในป้องกันน้ำ วัสดุที่นำมาผลิต ผ้าใยสังเคราะห์ (โพลีเอสเตอร์ โพลิโพไพลีน ) <br />
พื้นเต็นท์ที่ดี ควรใช้ผ้าผืนเดียวหรือมีการต่อแบบกันน้ำ มุมทั้ง 4 ด้านควรยกขึ้นจากพื้นเมื่อกางเต็นท์
เสาเป็นส่วนโครงสร้าง ทำให้เต็นท์ตั้งขึ้นเป็นรูปร่าง วัสดุที่นำมาผลิต ไฟเบอร์ใยแก้ว หรือ อลูมิเนียม เนื่องการเสาเต็นท์ที่ทำด้วยไฟเบอร์ใยแก้วอาจจะมีการแตกหักได้ด้วยสาเหตุหลายอย่าง ดังนั้นควรมีเทปปิดสันหนังสือปิดเมื่อมีการหัก ส่วนเสาที่ทำด้วยอลูมิเนียมมีความทนทานสูง
สมอบก สมอบกมีอยู่หลายแบบ วัสดุที่นิยมนำมาใช้ เหล็กชุบซิ้งค์, อลูมิเนียมเกรดอากาศยาน(ทำเครื่องบิน) ไฟเบอร์ใยแก้ว,พลาสติก ABS, รวมไปถึงไม้<br />
- รูปเข็ม เป็นสมอบกที่มาพร้อมกับเต็นท์ สามารถใช้ในพื้นที่เป็นดินได้ดี<br />
- รูปฉาก เป็นสมอบกสมัยโบราณเอาไว้ใช้กับพื้นที่เป็นทราย<br />
- รูปตัวไอ เป็นสมอบกที่ถูกพัฒนาให้มีด้านเสียดสีหลายด้านจึงทำให้ยึดเกาะได้ดีในเกือบทุกสภาพ<br />
- แบบถุงผ้า เป็นสมอบกที่ใช้กับทรายเท่านั้นสามารถพับเก็บได้เล็กและไม่ทำอันตรายกับผ้าเต็นท์ในเวลาที่เก็บเต็นท์ในถุง<br />
- วัสดุไขว้รูปตัว X เป็นวัสดุ 2 ชิ้นแบนและตรงเจาะรูตรงกลางทั้ง 2 อัน เมื่อเวลาใช้ก็กางออกเป็นรูปตัวX ใช้กับทราย<br />
 
'''รูปของเต็นท์แบ่งตามรูปทรง'''<br /><br />
 
 
'''เต็นท์ทรงสามเหลี่ยม (A Frame)'''ถูกออกแบบมาเป็นชนิดแรก ไม่มีการซับซ้อนทางด้านการออกแบบ โดยมีข้อดีในเรื่องการระบายน้ำได้ดี เป็นเต็นท์พื้นฐานที่สามารถนำวัสดุใกล้เคียงมาซ่อมแซมได้เมื่อเสียหาย การที่รูปทรงเป็นสามเหลี่ยมจึงทำให้มีพื้นที่ภายในด้านบนน้อย
 
<br /><br />
'''เต็นท์ทรงบ้าน (Cabin)'''
เป็นเต็นท์ที่ถูกพัฒนามาใช้กับกิจกรรมเดินทางด้วยรถ ซึ่งไม่มีข้อจำกัดเรื่องการขนย้าย สามารถแบ่งเป็น ห้องหรือพื้นที่ทำกิจกรรมโดยเปลี่ยนเป็นฟลายชีท
 
<br /><br />
'''เต็นท์ทรงโดม (Dome)'''
ถูกออกแบบมาให้สามารถตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยการดึงของสมอ จึงสามารถตั้งได้ทุกสภาพพื้นผิว การที่มีรูปทางเป็นครึ่งวงกลมจึงทำให้พื้นที่ภายในกว้างขึ้นและทำกิจกรรมอย่างอื่นภายในได้มากขึ้น
เต็นท์ทรงจีโอโดสิคโดม()
เป็นเต็นท์ที่พัฒนาขึ้นมาจากทรงโดม โดยเพิ่มเสาด้านข้าง 2 เสา ทำให้มีความแข็งแรงขึ้นพื้นที่ภายในมากขึ้น แต่ก็ทำให้น้ำหนักมากขึ้นด้วย
<br /><br />
'''เต็นท์ทรงท่อ(Tunnel)'''
ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในพื้นที่ ที่มีลมแรง การที่รูปทรงเป็นทางท่อจึงลดแรงประทะของลมในเกือบทุกด้าน โครงสร้างเสาเป็นรูปโค้งจึงลดการปะทะทำให้เสาเสียหายน้อยลง เป็นเต็นท์ที่ถูกออกแบบใช้เฉพาะที่
 
 
<br /><br />
'''เต็นท์ทรงกรวย(Hoop)'''
เป็นเต็นท์ที่ถูกพัฒนาให้ใช้กับคนจำนวนน้อยหรือในพื้นที่น้อย เป็นเต็นท์ที่ถูกออกแบบใช้เฉพาะ
 
 
<br /><br />
'''เต็นท์ทรงปีรมิด ()'''
มีน้ำหนักเบา ใช้เสาอลูมิเนียมหรือไม้เท้ามาทำเป็นเสา ดังนั้น จึงมีน้ำหนักเบาและเล็กกะทัดรัด แต่ต้องการใช้
การตอกสมอและดึงเชือกในการตั้งเต็นท์
 
<br /><br />
'''เต็นท์สปริง (Spring)'''
เป็นเต็นท์ที่ใช้ขดลวดสปริงเป็นโครงอยู่ภายในดังนั้นมันจึงกางง่ายที่สุด คือแค่โยนขึ้นไปในอากาศโครงสปริงก็จะดันตัวกางเสร็จสรรพในพริบตา แต่ไม่แนะนำให้ซื้อเต็นท์ประเภทนี่มาใช้เพราะมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงแค่ลมพัดมาก็จะปลิวแล้ว
 
 
 
<br /><br />
3.จะเลือกเต็นท์ให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าอย่างไร
จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมและฤดูที่ลูกค้าจะใช้ <br />
ขั้นตอนที่ 1 ให้ถามเรื่องลูกค้าจะนำเต็นท์ไปทำกิจกรรมอะไร โดยแบ่งออกเป็น
<br />- กิจกรรมที่ต้องการเต็นท์ที่น้ำหนักเบาและขนาดเล็กเมื่อเก็บ คือ จักรยานทัวริ่ง, แบ็กแพ็กกิ้ง,คยัคทัวริ่ง กิจกรรมทั้งสามคือการเดินทางโดยการนำอุปกรณ์ทั้งหมดไปด้วยการปั่นจักรยาน,แบกเป้,พายเรือ
<br />- กิจกรรมที่ไม่ต้องการเต็นท์ที่น้ำหนักเบา คือกิจกรรมแค้มปิ่ง แค้มป์คาร์
<br />ขั้นตอนที่ 2 นำไปใช้ในฤดูอะไร
<br />- ทั้ง 3 ฤดู ควรใช้เต็นท์ที่มีฟลายชีทคลุมถึงพื้นทั้งหมดโดยจะไม่เห็นในส่วนที่เป็น ตัวเต็นท์และสามารถเปิดออกรับลมได้
<br />- ฤดูหนาวกับร้อน สามารถใช้เต็นท์ในลักษณะเดียวกันได้โดยการปิดหรือเปิดประตูหรือหน้าต่าง
<br />- ฤดูฝนควรใช้เต็นท์ที่มีฟลายชีทคลุมถึงพื้นหรือเหมือนกับเต้นที่ใช้ได้ทั้ง 3 ฤดู
<br />ขั้นตอนที่ 3 จะใช้นอนกี่คน
<br />- สามารถนอนตามขนาดที่กำหนดแต่ไม่ควรนอนในจำนวนที่มากที่สุด คือ เต็นท์นอน 3 – 4 คน ควรนำนอน 3 คนและพื้นที่ที่เหลือเป็นที่เก็บสิ่งของอย่างอื่น
<br />- ข้อยกเว้น ในขั้นตอนที่ 1 ข้อแยกย่อยแรก กิจกรรมที่ต้องการเต็นท์น้ำหนักเบาและเล็ก ควรให้ที่มีขนาด
1 หรือ 2 คนนอนจะดีที่สุด
<br />ขั้นตอนที่ 4 แนะนำการใช้ อายุการใช้งาน ลักษณะการใช้งานที่ดีที่สุด การดูแลรักษา
<br />- ข้อมูลเฉพาะของเต็นท์แต่ละรุ่น
<br />- อายุการใช้งาน รับประกันประมาณ 3 ปี สารที่เคลือบกันน้ำจะเริ่มหมดอายุ
<br />- การดูแลรักษา ในส่วนที่เป็นผ้า ให้ล้างน้ำสะอาดหลังจากการใช้โดยนำมาผึ่งลมให้แห้งหรือถ้าไม่มีเวลาทำความสะอาดควรทำให้เต็นท์แห้งสนิท เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา
<br />ขั้นตอนที่ 5 ความรู้เรื่องสินค้าที่เป็นส่วนประกอบกัน
<br />- การนอนกลางแจ้งให้หลับสบายนั้นต้องมีอุปกรณ์อื่นร่วมด้วย โดยจะแบ่งหน้าที่กัน โดยเต็นท์จะทำหน้าที่ป้องกันลม แมลง สัตว์ และน้ำ แต่ที่พื้นนั้นจะต้องใช้ แผ่นรองนอน เพื่อช่วยปรับพื้นที่ที่ขรุขระ ป้องกันความเย็น และน้ำ ในอีกส่วนที่สำคัญก็คือ ถุงนอน ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้ที่นอนหลับสบายได้ตลอดที่คืน
<br />- ส่วนประกอบอีกเล็กน้อยที่สำคัญ ก็คือ ควรมีไฟฉายและน้ำอยู่ใกล้ ๆตัว
 
<br /><br />
'''การดูแลรักษาเต็นท์'''
การดูแลรักษาเต็นท์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยาก ลองอ่านวิธีการเหล่านี้ดูแล้วคุณจะรู้ว่า เต็นท์ดูแลง่ายนิดเดียว<br />
1. ฝึกกางเต็นท์ให้ถูกวิธี การที่คุณเรียนรู้วิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี จะทำให้เต็นท์ของคุณไม่เกิดความเสียหาย เพราะบางครั้งการกางเต็นท์ไม่ถูกวิธี อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้นเกิดความเสียหายได้ เช่น อาจจะใส่เสาเต็นท์ผิดอันทำให้เกิดความเสียหายเวลางอเสาเข้ากับเต็นท์ เป็นต้น<br />
2. อย่าเก็บเต็นท์ของคุณขณะที่เปียกถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะทำให้เกิดกลิ่นอับได้ เราควรจะนำเต็นท์มาผึ่งลมให้แห้งก่อนและนำเศษสิ่งสกปรกออกจากเต็นท์ แล้วจึงปิดซิปให้เรียบร้อย<br />
3. ไม่ควรใช้สารเคมีในการทำความสะอาดเต็นท์ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะทำลายสารที่เคลือบเต็นท์ไว้ ควรใช้แค่ผ้าชุบน้ำเช็ดก็พอ ห้ามใช้แปรงขัดเพราะแปรงจะทำให้สารเคลือบหลุดออกเช่นกัน<br />
4. ใช้ผ้าพลาสติกปูรองพื้น ผ้ารองพื้นจะใช้ปูรองพื้นก่อนกางเต็นท์ ประโยชน์คือช่วยปกป้องตัวเต็นท์จากหินและกิ่งไม้อันแหลมคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้พื้นเต็นท์เกิดความเสียหายได้ และนอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการทำความสะอาด เพราะเราเพียงแต่ทำความสะอาดที่ผ้าปูเท่านั้น<br />
5. ใช้สมอบกปักเต็นท์ บางคนอาจคิดว่าสมอบกไม่จำเป็นเพราะเต็นท์สามารถทรงตัวได้อยู่แล้ว แต่บางครั้งเมื่อลมแรงเต็นท์อาจจะมีการพลิกซึ่งอาจจะทำให้เต็นท์เสียหาย ถ้าช่วงที่คุณกางเต็นท์มีลมแรงควรจะนำสัมภาระเข้าไปไว้ในเต็นท์แล้วปักสมอบกยึดไว้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเต็นท์พลิกจากแรงลมได้<br />
6. ใช้อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์ถ้าจำเป็น หากเต็นท์คุณเกิดการเสียหาย เช่น ผนังเต็นท์มีรอยฉีกขาด ควรใช้พวกผ้าเทปปิดรอยขาดนั้นไว้ มิฉะนั้นรอยขาดนั้นจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ (ลองคิดถึงเสื้อผ้าที่ขาดดู ถ้าเรายิ่งดึงก็จะยิ่งขาดมากขึ้น) อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์สามารถหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์แค้มปิ้งทั่วไป<br />
 
<br /><br />
'''ความรู้เกี่ยวกับการเกิดหยดน้ำในเต็นท์'''
เกิดจากการควบแน่นภายในเต็นท์ ผ้าเต็นท์เป็นผ้ากันน้ำจะกักเก็บความร้อนและความชื้นให้อยู่ภายใน เมื่อมีความเย็นมากระทบก็จะเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำภายใน เราสามารถทำให้การควบแน่นภายในเต็นท์ให้น้อยลงได้ดังนี้
 
<br /><br />
'''วิธีลดการเกิดหยดน้ำในเต็นท์''' คือ<br />
1.. ลดความชื้นในอากาศภายในเต็นท์โดยการทำช่องระบายอากาศและความชื้นด้านบน
<br />2. ทำให้ความเย็นจากภายนอกเข้ามาสัมผัสความชื้นภายในเต็นท์ได้ยากขึ้น โดยเพิ่มชั้นอากาศ นำฟลายชีทมาวางบนตัวเต็นท์แต่ต้องให้มีอากาศระหว่างกลาง เมื่อมีการไหลเวียนของอากาศก็จะทำให้การเกิดหยดในภายในเต็นท์น้อยลง (เป็นหน้าที่หลักของฟลายชีท)
<br />3. ทำให้การเกิดหยดน้ำไปเกิดที่ฟลายชีท โดยใช้ผ้าที่ไม่เคลือบกันน้ำหรือผ้าที่สามารถระบายความชื้นได้มาทำเป็นตัวเต็นท์ ซึ่งความชื้นจะระบายออกไปด้านนอกของตัวเต็นท์ จึงทำให้ภายในไม่เกิดหยดน้ำ
<br />4. ใช้ผ้าที่มีการระบายความชื้นได้ดี เช่น ผ้าเคลือบ กอร์เท็กซ์ (Gor- Tex) มาทำเต็นท์ก็จะสามารถช่วยลดการเกิดหยดในภายในเต็นท์ได้ แต่เต็นท์นั้นจะมีราคาแพงมาก<br />
หมายเหตุ กระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ช่วยให้การเกิดหยดน้ำในเต็นท์น้อยลงแต่ไม่สามารถหยุดการเกิดหยดน้ำได้เพราะที่บ้านของเราเป็นเมืองร้อนชื้นจึงเกิดกระบวนการควบแน่นตลอดเวลาจะมากหรือน้อยแล้วแต่สถานะการ
<br /><br />
ที่มาของข้อมูล :
* [http://www.outdoor.co.th Outdoor.co.th เต็นท์ และอุปกรณ์แคมป์ปิ้ง]
 
[[หมวดหมู่:อุปกรณ์]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เต็นท์"