ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาทมาต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
#พญาครุฑยุดนาค
 
ซึ่งแม่ไม้ที่ถือว่าเป็นเด็ดขาด ได้แก่ หนุมานเหินหาว คือการกระโดดฟันที่ลำคอคู่ต่อสู้ภายในก้าวเดียว มะพร้าวทิ้งดิ่ง คือ การกระโดดฟันที่ลำตัวคู่ต่อสู้ ใช้สำหรับคู่ต่อสู้ที่ป้องกันตัว และ ไผ่ลำเผยพัน คือ การจู่โจมฟันที่แขนหรือข้อมือ เป็นต้น และมีท่าป้องกันตัวซึ่งเป็นท่าเบื้องต้นท้งป้องกันทั่วทั้งตัวและเตรียมพร้อมจู่โจมอีก 3 ท่า ได้แก่ คลุมไตรภพ, ตลบสิงขร และย้อนฟองสมุทร
 
โดยหัวใจของวิชาอาทมาฏ มีเป็นคำกล่าวที่คล้องจองกันดังนี้
บรรทัด 28:
นอกจากนี้แล้ว คำว่า อาทมาฏ ยังเป็นคำใช้เรียกกองทหารหน่วยลาดตระเวนหาข่าวในสมัยโบราณ คล้าย[[ทหารสื่อสาร]]ในปัจจุบัน โดยมากมักจะเป็น[[ชาวมอญ]]เนื่องจากสื่อสารได้หลาย[[ภาษา]]<ref>[http://www.youtube.com/watch?v=Ac4vCz6Zato รศ.ดร.[[สุเนตร ชุตินธรานนท์]]: รายการวีรชนคนถูกลืม ตอน ปึกแผ่นแห่งชเวโบ-400 วิญญาณเดียว]</ref>
 
วิชาอาทมาฏถูกอ้างอิงถึงในสื่อ[[วัฒนธรรมสมัยนิยม|วัฒนธรรมร่วมสมัย]] อาทิ ''[[ขุนศึก]]'' [[นวนิยาย]]โดย [[ไม้ เมืองเดิม]] ในปี [[พ.ศ. 2497]] และใน[[หนังสือการ์ตูน]]เรื่อง ''[[กองอาทมาตประกาศศึก]]'' ในปี [[พ.ศ. 2550]] เป็นต้น และอ้างอิงถึงใน[[วรรณคดี]]ของไทยเช่น ''[[ขุนช้างขุนแผน]]'' เช่น ตัวละคร [[ขุนไกรพลพ่าย]] ซึ่งเป็นบิดาของ[[ขุนแผน]] [[ตัวเอก|ตัวละครเอก]] ก็มีสถานะเป็นนายทหารสังกัดกองอาทมาฏ<ref>ม.ร.ว.[[คึกฤทธิ์ ปราโมช]]. (2539). "ขุนช้างขุนแผน ฉบับอ่านใหม่". คึกฤทธิ์ ปราโมช. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. (อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ [[วัดเทพศิรินทราวาส]] [[วันเสาร์]]ที่ [[23 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2538]]). หน้า 178. </ref>
 
==อ้างอิง==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/อาทมาต"