ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โขน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 89:
นอกจากประเภทของโขนต่าง ๆ ทั้ง 5 ประเภทแล้ว ยังมีการแสดงโขนนอกตำราที่ทางกรมศิลปากรไม่จัดให้รวมอยู่ในประเภทของโขน ได้แก่
 
;* '''โขนสด'''
โขนสด เป็นการแสดงที่ผสมผสานทาง[[วัฒนธรรม]] ที่ปรับปรุงมาจากการแสดงโขนให้มีความเรียบง่าย มีการปรับเปลี่ยนลดท่ารำ การแต่งกาย การขับร้อง คำพากย์และการเจรจา เป็นการแสดงที่เกิดจากผสมผสานการแสดง 3 ชนิดคือ โขน [[หนังตะลุง]]และ[[ลิเก]] ไม่มีการพากย์เสียงและเจรจา โดยผู้แสดงจะเป็นผู้พูดบทเจรจาเอง แต่งกายยืนเครื่อง สวมหัวโขนบนศีรษะแต่ไม่คลุมหน้า สามารถมองเห็นใบหน้าของผู้แสดงได้อย่างชัดเจน ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในชนบท แสดงด้วยกิริยาท่าทางโลดโผน จริงจังกว่าการแสดงโขนมาก<ref>[http://art.hcu.ac.th/khon/index01.html โขนสด การแสดงโขนตามแบบฉบับชาวบ้าน] </ref>
 
;* '''โขนหน้าไฟ'''
โขนหน้าไฟ เป็นการแสดงโขนที่มักนิยมจัดแสดงในตอนกลางวัน หรือแสดงเฉพาะตอนพระราชทานเพลิงศพเท่านั้น เป็นการแสดงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ โดยมีจุดประสงค์ในการแสดงเพื่อเป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติแก่ผู้เสียชีวิตหรือเจ้าภาพของงาน รวมทั้งเป็นการแสดงคั่นเวลาให้แก่ผู้ที่มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ได้ชมการแสดงก่อนถึงเวลาพระราชทานเพลิงจริง แต่เดิมโขนหน้าไฟใช้สำหรับในงานพระราชพิธี รัฐพิธีหรืองานของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง เสนาขุนนางอำมาตย์เช่น งานถวายพระเพลิงพระศพพระบรมวงศ์นานุวงศ์ ณ บริเวณทุ่งพระเมรุหรือ[[ท้องสนามหลวง]]ในปัจจุบัน
 
;* '''โขนนอนโรง'''
โขนนอนโรง เป็นการแสดงโขนที่มักนิยมแสดงในเวลาบ่าย ก่อนวันแสดงจริงของโขนนั่งราว และแสดงตอน ''"เข้าสวนพิราพ"'' เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น มีปี่พาทย์สองวงในการบรรเลงเพลงโหมโรง การแสดงโขนนอนโรงมักนิยมแสดงเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ โดยก่อนแสดงจะมีผู้แสดงออกไปเต้นกระทุ้งเสาทั้ง 4 มุมของโรงแสดง ซึ่งการกระทุ้งเสานั้น เป็นการทดสอบความแข็งแรงของเวทีในการรับน้ำหนักตัวของผู้แสดง สมัยก่อนเวทีสำหรับแสดงใช้วิธีขุดหลุมฝังเสาและใช้ดินกลบ ทำให้ระหว่างทำการแสดงเวทีเกิดการทรุดตัว เป็นเหตุผลให้อาจารย์ผู้ทำการฝึกสอน มักให้ผู้แสดงไปเต้นตามหัวเสาทั้ง 4 มุมของเวที เพื่อให้การเต้นนั้นช่วยกระทุ้งหน้าดินที่ฝังเสาไว้ให้เกิดความแน่นมากขึ้น
 
หลังแสดงเสร็จสิ้นเสร็จ ผู้แสดงมักจะนอนเฝ้าโรงแสดง เพื่อแสดงโรงนั่งราวต่อในวันรุ่งขึ้น ในอดีตโขนนอนโรงเคยแสดงมาแล้วสองครั้งด้วยกันคือ ครั้งแรกแสดงในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในงานสมโภชพระเศวตคชเดน์ดิลก และครั้งที่สองในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แสดงที่บริเวณท้องสนามหลวงในงานฉลอง[[รัฐธรรมนูญ]] ระหว่างวันที่ 10 - 11 ธันวาคม [[พ.ศ. 2475]]<ref name="โขนนอกตำรา - โขนนอนโรง">โขนนอกตำรา - โขนนอนโรง, โขน, นงนุช ไพรพิบูลยกิจ, สำนักพิมพ์คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด, 2542, หน้า 50</ref>
 
;* '''โขนชักรอก'''
 
== โขนในพระราชสำนัก ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โขน"