ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลอมงด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
เลอ มงด์ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เลอมงด์
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล หนังสือพิมพ์
| ชื่อ = เลอ มงด์
| ภาพ =
| คำใต้ภาพ =
บรรทัด 27:
}}
 
'''เลอ มงด์''' ({{lang-fr|'''Le Monde'''}}) คือหนังสือพิมพ์กรอบค่ำรายวันของ[[ฝรั่งเศส]] ด้วยยอดพิมพ์ในปี [[พ.ศ. 2547]] จำนวน 371,803 ฉบับ และถูกได้รับการจัดให้เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแนวหน้าของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในสาธารณชน และบ่อยครั้งที่จะเป็นหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสฉบับเดียวที่ประเทศซึ่งไม่ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสจะสามารถเข้าใจได้โดยง่าย นอกจากนี้ผู้คนส่วนมากมักสับสนกับ ''เลอ มงด์ ดิโปรมาติค'' ({{lang-fr|Le Monde diplomatique}}) ซึ่ง เลอ มงด์ เองเป็นหุ้นส่วนอยู่ร้อยละ 54 แต่เลอ มงด์ ดิโปรมาติค ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายแยกอิสระจาก เลอ มงด์ รวมทั้งมีกองบรรณาธิการเป็นของตัวเอง
 
เลอมงด์นั้น มงด์ ถูกก่อตั้งโดย อูแบร์ต เบิฟว์-เมรี ตามคำของร้องของนายพล[[ชาร์ล เดอ โกลล์]] หลังจากกองทัพ[[นาซีเยอรมัน|เยอรมัน]]ถอนทัพออกจากปารีสในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] โดยเข้าแทนที่หนังสือพิมพ์ ''เลอ ตงป์ส'' ({{lang-fr|Le Temps}}) ที่ซึ่งชื่อเสียงของเลอ ตงป์ส ถูกบ่อนทำลายลงในช่วงที่[[นาซีเยอรมนี]]เข้ายึดครองฝรั่งเศส<ref>{{cite book |url=http://books.google.com/books?id=yexzGHVggokC |title=The National Daily Press of France |chapter=The Golden Age and the War Years |page=113 |first=Clyde |last=Thogmartin |publisher=Summa Publications, Inc |date=1998 |isbn=1883479207}}</ref> โดยที่อูแบร์ต เบิฟว์-เมรี เป็นบรรณาธิการที่มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการทุกด้านภายในสำนักพิมพ์ ฉบับแรกของเลอ มงด์ ออกวางจำหน่ายในวันที่ [[19 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2487]] และออกเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในวันที่ [[19 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2538]] โดยมีเงินทุนสนับสนุนทางธุรกิจจากเครือลาวีเลอมงด์
 
== การนำเสนอ ==
บ่อยครั้งที่เลอ มงด์ ถูกบรรยายในภาพพจน์และจุดยืนทางการเมืองฝ่ายกลาง-ขวา แต่ในปัจจุบันแนวทางการนำเสนอข่าวสารของกองบรรณาธิการได้รับการบรรยาถึงอย่างเหมาะสมมากกว่าเดิมว่าเป็นหนังสือพิมพ์สายกลาง ในปี [[พ.ศ. 2524]] เลอ มงด์ มีส่วนสนับสนุนในการหยั่งเสียงของ [[ฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์]] จากพรรคสังคมนิยม จึงทำให้เกิดการผลัดเปลี่ยนพรรคการเมืองที่จะได้เป็นรัฐบาลอันจะส่งผลดีต่อฝรั่งเศส ทางด้านฝ่ายนักหนังสือพิมพ์ภายในองกรณ์มีรูปแบบเป็นหมู่คณะ ซึ่งไม่เพียงแค่ส่วนมากของนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อหนังสือพิมพ์ แต่ยังถือผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจและทรัพย์สินของหนังสือพิมพ์ร่วมกัน อีกทั้งนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้ยังมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งผู้บริหารเบื้องบนและบรรณาธิการอาวุโสขององค์กรอีกด้วย
 
แตกต่างจากหนังสือพิมพ์รายใหญ่ทั่วไปของโลกเช่น [[เดอะนิวยอร์กไทมส์]] เลอ มงด์ จะจับตาอยู่ที่การวิเคราะห์และความคิดเห็นตามแบบฉบับดั่งเดิม ซึ่งทำให้เลอ มงด์ เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแนวหน้าที่แตกต่างจากรายอื่น ดังนั้นการตีความอย่างรอบด้านเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันจึงสำคัญมากกว่าการนำเสนอ "ทุกข่าวอันเหมาะสมที่จะตีพิมพ์" (คำขวัญของ[[เดอะนิวยอร์กไทมส์]]) ช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้นักเขียนส่วนมากที่เขียนบทความในเลอ มงด์ มักจะไม่ลังเลที่จะเสี่ยงนำเสนอคำทำนายของตนลงในบทความ อย่างไรก็ตามเลอ มงด์ ได้สร้างความแตกต่างอย่างยิ่งใหญ่ระหว่าง "ข้อเท็จจริง" กับ "ความคิดเห็น"
 
== การโต้เถียงและการเมือง ==
มิเชล เลกริส ผู้เขียนหนังสือ ''เลอ มงด์ เตล กิล เอส์ต'' ({{lang-fr|Le monde tel qu'il est}}) ผู้ซึ่งอดีตเป็นนักข่าวให้กับเลอ มงด์ ภายในได้เขียนเนื้อหาซึ่งลดความโหดร้ายป่าเถื่อนของ[[เขมรแดง]]ใน[[กัมพูชา]] และในหนังสือ ''ลา ฟาซ กาเช ดู มงด์'' ({{lang-fr|La face cachée du Monde}}, ''"ส่วนลับที่ถูกปกปิดของเลอมงด์"'') เขียนโดย ปิแอร์ ปอง และ ฟิลิปป์ โคเฮน ที่ออกมาเปิดโปง โคลอมบานิ และเอ็ดวี เพลเนล บรรณาธิการของเลอ มงด์ เกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มการเมืองได้ทำข้อตกลงอย่างลับ ๆ กับทางเลอ มงด์เพื่อจะลดทอนการนำเสนอข่าวอย่างอิสระของหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เลอ มงด์ ยังถูกกล่าวหาว่าสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับหน่วยงานและองกรณ์ภาครัฐของฝรั่งเศสจากการที่เปิดโปงเรื่องอื้อฉาวทางการเมืองมากมาย (ส่วนมากมีชื่อเสียงจากการเปิดโปงเรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ นานาของประธานาธิบดี[[ฌาคส์ ชีรัค]] และ[[การจมเรนโบว์วอร์ริเออร์|การจม]]]ลงของเรือ[[เรนโบว์วอริเออร์]]โดยฝีมือของหน่วยราชการลับฝรั่งเศสในช่วงของประธานาธิบดี[[ฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์]]) นอกจากนี้ทางผู้เขียนยังได้กล่าวถึงโคลอมบานิ และเอ็ดวี เพลเนล ว่าเป็น "พวกนิยมชาวต่างชาติ" และ "พวกเกลียดชังฝรั่งเศส" หนังสือเล่มดังกล่าวได้ทำให้เกิดการโต้เถียงกันเป็นวงกว้าง แต่ก่อให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับการรายงานข่าวของสื่อสารมวลชนทั้งในฝรั่งเศสและทั่วโลกในช่วงที่หนังสือถูกตีพิมพ์ ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2547]] เลอ มงด์ชนะคดีในการฟ้องร้องต่อผู้เขียน โดยศาลตัดสินให้ผู้เขียนยินยอมที่จะไม่ตีพิมพ์หนังสือเล่มดังกล่าวอีก นอกจากนี้เลอ มงด์ยังถูกตัดสินว่ามีความผิดในการนำเสนอข่าวว่านักฟุตบอลภายในสโมสรบาเซโลนาเอฟซีมีการใช้สารสเตียร์รอยด์ ทางเลอ มงด์จึงต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน 450,000 ดอลลาร์สหรัฐและต้องตีพิมพ์เผยแพร่คำตัดสินของศาลทั้งในหนังสือพิมพ์และบนอินเทอร์เน็ต
 
== อ้างอิง ==