ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิจิกาตะ โทชิโซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
== มรณกรรม ==
[[ไฟล์:Goryokaku fort retouched 20060814-001.jpg|thumb|ป้อมโงะเรียวคะคุ สมรภูมิแห่งสุดท้ายในชีวิตของฮิจิคะทะ โทะชิโซ]]
หลังจาก[[คนโด อิซะมิ]] หัวหน้ากลุ่มชินเซ็งงุมิยอมจำนนต่อกองทัพในนามของพระจักรพรรดิและถูกประหารชีวิตในวันที่ [[17 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1868]] (นับตามปฏิทินจันทรคติของญี่ปุ่นคือวันที่ 25 เดือน 4) ฮิจิคะทะจึงกลายเป็นผู้นำกลุ่มชินเซ็งงุมิในการต่อต้านรัฐบาลใหม่ครั้งสุดท้าย หลังจากพักอยู่ที่[[แคว้นไอสึ]]ได้ระยะหนึ่ง เขาจึงนำหน่วยชินเซ็งงุมิไปยัง[[เซ็นได]] เพื่อสมทบกับกองเรือของ[[เอะโนะโมะโตะ ทะเคะอะคิ]]<ref>[http://tamahito.com/toshizo.htm 土方歳三 HIJIKATA<!-- Bot generated title -->]</ref> ฮิจิคะทะตระหนักดีว่าสงครามที่เขาเข้าร่วมด้วยนั้นเป็นสงครามที่ไม่มีหนทางเอาวันชนะได้ ครั้งหนึ่งเขาได้กล่าวกับ[[มัทสึโมะโทะ เรียวจุน]] นายแพทย์ในกองทัพนั้นว่า "ข้าไม่ได้เข้าสนามรบเพื่อจะได้ชัยชนะ แต่เพราะหากถึงคราวที่รัฐบาลโทะกุงะวะต้องอับปางลง ย่อมเป็นเรื่องน่าละอายหากไม่มีใครสักคนที่ยอมล่มจมไปพร้อมกับรัฐบาลด้วย นั่นคือเหตุที่เหตุผลว่าทำไมข้าต้องไป ข้าจะสู้ในการศึกที่เยี่ยมยอดที่สุดในชีวิตของข้า เพื่อพลีชีพให้แก่ประเทศนี้"
 
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1868 ฮิจิคะทะและ[[โอโทริ เคสุเกะ]] นำกองทัพฝ่ายโทะกุงะวะยึดครองป้อมโงะเรียวคะคุใน[[การรบที่ฮะโกะดะเตะ]] และดำเนินการกวาดล้างผู้ต่อต้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีการประกาศตั้ง[[สาธารณรัฐเอะโสะ]]ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ฮิจิคะทะก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองรัฐมนตรีกระทรวงทหารบก<ref>[http://tamahito.com/toshizo.htm 土方歳三 HIJIKATA<!-- Bot generated title -->]</ref> กองทัพในนามพระจักรพรรดิดำเนินการโจมตีเอะโสะต่อเนื่องทั้งทางบกและทางทะเล จนกระทั่งเมื่อมาถึงจุดสุดท้ายแห่งความขัดแย้งของการปฏิวัติ ในวันที่ [[20 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1869]] (นับตามปฏิทินจันทรคติของญี่ปุ่นคือวันที่ 11 เดือน 5) ฮิจิคะทะได้เสียชีวิตระหว่างการรบบนหลังม้าจากการถูกกระสุนปืนเข้าที่ด้านหลังส่วนล่างของเขา หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ ป้อมโงะเรียวคะคุก็ตกเป็นของกองทัพในนามพระจักรพรรดิ กองทัพทั้งหมดของสาธารณรัฐเอะโซะได้ยอมจำนนต่อรัฐบาลเมจิในที่สุด
 
ร่างของฮิจิคะทะถูกฝังที่ใดนั้นไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่ได้มีการตั้งป้ายหลุมศพของเขาไว้ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้าอิทะบะชิในกรุงโตเกียว โดยอยู่ถัดจากป้ายหลุมศพของคนโด อิซะมิ ที่ป้ายจารึกบทกวีลาตายของฮิจิคะทะ ซึ่งเขาได้มอบให้[[อิชิมุระ เท็ตสึโนะสุเกะ]] ก่อนที่ตนจะเสียชีวิตไม่นาน ใจความว่า